เราเดินทางมาจากท่าศาลา นครศรีธรรมราช ถึงพังงาแวะชม#วัดถ้ำสุวรรณคูหา นิดหน่อย ที่วัดนี้มีถ้ำที่วิจิตรสวยงาม โดยไม่ต้องอาศัยแสงสีเข้าช่วย เสียแต่การจัดการและสิ่งปลูกสร้างด้านในถ้ำที่ดูไม่เป็นมืออาชีพเอาเสียเลยอีกทั้งมีทั้งกลิ่นและขยะ เลยทำให้ทำลายความสวยงามตามธรรมชาติไปเลย
ตอนเย็นได้เจอเพื่อนอีก2 คนเดินทางมาจากเชียงใหม่ และแวะพักที่ชุมพร1 คืนก่อนมาเจอกันที่คุระบุรี คืนนี้ พักที่คุระบุรี1 คืนเพื่อลงเรือ ตอน9โมง ของอีกวัน
สายๆวันที่24 กพ25 ขึ้นเกาะที่หาดช่องขาด ที่จองที่พักไว้ เป็นบ้านสินสมุทร เข้าเช็คอินได้ตอนบ่าย
หลังทานอาหารที่โรงอาหารของอุทยาน ได้เจอกับ #บังอาลี เจ้าหน้าที่ อุทยาน ที่จะพาเราไปชมนกตามจุดต่างๆ บ่ายนี้ท้องฟ้ามือครึ้มลมทะเลเริ่มพัดแรง เรือไม่สามารถออกไปห่างเกาะได้ บังอาลี จึงพาพวกเราไปนั่งเรืออ้อมไปที่หาดไม้งาม ซึ่งเป็นจุดพักแรมอีกที่ ทีมีเตนท์ทั้งของอัทยานและของเอกชน ให้เข้าพักได้มากมาย
จากท่าเทียบเรือเมื่อขึ้นจกเรือจะต้องเดินไปอีก 200 เมตรถึงจะเป็นบริเวณที่ทำการและลานกางเตนท์ ตรงช่องทางเดินนี้มีต้นไทรซึ่งเมื่อสัปดาห์ก่อนมีลูกไทรสุกและมีนกเปล้าใหญ่ซึ่งเป็นนกที่หาชมได้ยากมากินลูกไทรสุกที่นี่ บังอาลี เล่าพร้อมทั้งให้ชมภาพที่เค้าถ่ายไว้ได้ แต่วันนี้เราไม่มีโชค เพราะลูกไทรสุกคงหมดต้นไปแล้ว เราเจอแค่ นกลุมพูขาว และลุมพูเขียว บังอาลี พาเราเดินไปจนสุดหาด เผื่อว่าจะเจอกระแตผีที่บางครั้งก็บินมาหากินบริเวณนั้นแต่วันนี้ก็ยังไม่มีวี่แวว บังอาลี จึงขอตัวเพื่อเข้าไปสำรวจในป่าเผื่อจะเจอต้นไทรที่มีลูกสุกบ้าง เค้าหายไปประมาณ 1 ชั่วโมงก็กลับออกมา พร้อมกับใบหน้าผิดหวังที่ไม่มีต้นที่ลูกสุกอยู่เลย จึงขึ้นเรือหางยาวของมอแกนกลับหาดช่องขาดให้ทิปมอแกนไป200 บาท ขามาอาศัยมากับเรือที่มาส่งนักท่องเที่ยวขึ้นหาดไม่งามบังบอกว่าไม่ต้องจ่ายตังค์
Green imperial pigeon
The green imperial pigeon (Ducula aenea) is a large forest pigeon. The large range extends from Nepal, southern India and Sri Lanka eastwards to southern China, Indonesia and the Philippines. The green imperial pigeon is a large, plump pigeon, 45 centimetres (18 in) in length. Its back, wings and tail are metallic green. The head and underparts are white, apart from maroon undertail coverts. Sexes are similar. The bird's call is deep and resonant, and is often the first indication of the presence of this treetop species. Pied imperial pigeon
The pied imperial pigeon is a relatively large, pied species of pigeon. It is found in forest, woodland, mangrove, plantations and scrub in Southeast Asia, ranging from Myanmar and Thailand, throughout Indonesia and east to the Philippines and the Bird's Head Peninsula in New Guinea.
บ้านพักที่หาดช่องขาดจะมีแอร์นอนสบายไม่เหนียวตัว ไฟฟ้าจะใช้ได้ตั้งแต่6 โมงเย็นถึงหกโมงเช้า หลังหกโมงจะตัดไฟเมนหลัก( เครื่องปั่นไฟ) ต้องเลื่อนเบรกเกอร์ไปใช้ไฟโซล่าเซล์ซึ่งใช้ได้แค่ไฟส่องสว่างและชาจแบตได้ จนถึง 8โมง หลังจากนั้นถ้าจะชาจโทรศัพท์ก็ต้องไปใช้ไฟที่โรงอาหาร โรงอาหารครัวจะเปิดปิดเป็นเวลา
เช้าวันที่ 25 กพ 25…
เมื่อวานนี้มีสรสุมคลื่นลมแรงมาก ทราบข่าวว่าเรือที่รับนักท่องเที่ยวกลับไปเมื่อวานต้องผ่าคลื่นใหญ่มากกว่าจะถึงฝั่งก็ค่ำมืด เช้านี้สงบลงนิดหน่อยแต่ท้องฟ้ายังไม่เปิด เรานัดเรือกับบังอาลีไว้ 9 โมง เพื่อออกตามหากระแตหาดกันระหว่างรอเรือหลังทานอาหารเช้าก็เดินเล่นแถวบริเวณที่พัก
เธอมีความตั้งใจอย่างแรงกล้าที่จะหากระแตหาดให้ได้ในทริปนี้
บ่างเป็นสัตว์ที่ไม่ใช่จะหาเจอได้ง่ายๆ แต่บริเวณนี้เราเจอประมาณ 7 ตัว
มีรูปร่างคล้ายกระรอกบินขนาดใหญ่ ผิวหนังย่น ตามีขนาดใหญ่สีแดง ใบหูเล็ก มีนิ้วทั้งหมด 5 นิ้ว สีขนมีหลากหลายมาก โดยสามารถเปลี่ยนไปตามสภาพแวดล้อม ทั้งน้ำตาลแดง หรือเทา รวมทั้งอาจมีลายเลอะกระจายไปทั่วตัวด้วย โดยตัวเมียมีสีอ่อนกว่าตัวผู้ หางมีลักษณะแหลมยาว มีพังผืดเชื่อมติดต่อกันทั่วตัว โดยเชื่อมระหว่างขาหน้าและขาหลัง ขาหลังกับหาง ระหว่างขาหน้ากับคอ และระหว่างนิ้วทุกนิ้ว มีนิ้วทั้งหมด 5 นิ้ว โดยที่ไม่มีหัวแม่มือ เล็บแหลมคมมากใช้สำหรับไต่และเกาะเกี่ยวต้นไม้ มีความยาวหัวและลำตัวโตเต็มที่ราว 34-42 เซนติเมตรหาง 22-27 เซนติเมตร น้ำหนัก 1-1.8 กิโลกรัม
Sunda flying lemur The Sunda flying lemur, also called Malayan flying lemur and Malayan colugo, is the sole colugo species of the genus Galeopterus. It is native to Southeast Asia from southern Myanmar, Thailand, southern Vietnam, Malaysia to Singapore and Indonesia and listed as Least Concern on the IUCN Red List.
บ่าง หรือ พุงจง หรือ พะจง ในภาษาใต้ หรือ ปักขพิฬาร เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจำพวกหนึ่งในอันดับบ่าง (Dermoptera) มีรูปร่างคล้ายกระรอกบินขนาดใหญ่ พบได้แต่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Galeopterus variegatusนับเป็นสิ่งมีชีวิตเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Galeopterus
9 โมง บังอาลี มาเจอเราและพาไปลงเรือ วันนี้คลื่นยังแรงอยู่ บังอาลีจึงพาไปดูตามเกาะที่อยู่ด้านใน ซึ่งคลื่นไม่แรงมาก วันนี้จะสังเกตว่ามีนักท่องเที่ยวมาขึ้นที่เกาะน้อยและแทบจะไม่เห็นออกมาดำน้ำดูปะการังตามจุดต่างๆเลย
ไกด์พาเราเเละไปตามหาดของเกาะเล็กเกาะน้อย เกาะไหนที่เคยเจอกระแต บังอาลีก็จะกระโดด ขึ้นฝั่งไปเดินสำรวจสักครู่ก็กลับมาขึ้นเรือ
เรามาถึงเกาะมังกร ที่จะเป็นรังของนกกระสาใหญ่อีกหนึ่งเป้าหมายของพวกเราในทริปนี้ ตรงจุดนี้บังอาลีเคยพูดเหมือนมีความมั่นใจ100%ว่าเราจะได้เจอเจ้ากระสา เพราะกำลังอยู่ในช่วงป้อนอาหารลูก เราลอยเรือเข้าไปเงียบๆเพื่อไม่ให้เป็นการรบกวนนก แต่รอสักพักก็ยังไม่มีแม้แต่เสียงให้ได้ยิน รีรออยู่สักพักก็ต้องเบนหัวเรือกลับครบรอบวิ่งเข้าไปเกาะใหญ่

ขณะแล่นเรือผ่านหาดไม้งาม อาลีก็ร้องบอกเจอแล้ว เรือเบนหัวเข้าใกล้ชายฝั่ง บนโขดหินมีลูกนกกระสาที่โตพอที่พ่อแม่จะพาออกจากรังบินจากเกาะมังกรมายังเกาะใหญ่ที่ลมสงบกว่า ลูกนกคงกำลังฝึกหาปลาด้วยตัวเอง
บังอาลีให้คนขับเรือดับเครื่องและค่อยๆพายเข้าไปใกล้นกมาขึ้นเจ้านกไม่ได้สนใจพวกเราคงพยายามเอาหัวจุ่มน้ำหาปลาไปเรื่อยๆแต่ก็ไม่สำเร็จจนในในที่สุด ก็คงมีสัญญาณอะไรบางอย่างจากแม่นกที่ซุ่มดูอยู่ ลูกนกก็โผออกจากก้อนหินกลางน้ำ เข้าไปหาฝั่ง

Great-billed heron
Ardea sumatrana
Thomas Stamford Raffles, 1822
In Thai: นกกระสาใหญ่
The great-billed heron (Ardea sumatrana) is a wading bird of the heron family, Ardeidae, resident from southeast Asia to Papua New Guinea and Australia. Its habitats are largely coastal such as islands, coral reefs, mangroves, large rivers. However, occasionally, it can be found inland in shallow ponds.
It feeds in shallow water, spearing fish with its long, sharp bill. It will wait motionless for prey, or slowly stalk its victim.
The great-billed heron is a large bird, typically standing 114 – 115 cm tall and weighing up to 2.6 kg. It is larger than the purple heron, which it resembles in appearance, although it is larger and darker. The plumage is largely dark grey above. In flight, it has a uniform dark grey upperwing.
The flight is slow, with its neck retracted. This is characteristic of herons and bitterns, and distinguishes them from storks, cranes and spoonbills, which extend their necks.
Widespread throughout its large range, the great-billed heron is evaluated as Least Concern on the IUCN Red List of Threatened Species.

ที่ฝั่งเจ้าลูกนกได้ปลามาแล้ว1 ตัว มันคงนึกว่าเป็นโชคและวาสนาที่มีปลากระโดดขึ้นมานอนเกยตื่นให้จับได้ง่ายๆแต่ถ้าเราสังเกตให้ดีจะเห็นว่าช่วงท่อนหางของปลามีรอยจิกจนทะลุเป็นรู คงจะเป็นผีมือของพ่อหรือแม่ คงล่ามาได้แล้วมาทิ้งไว้ให้เพราะเห็นมนุษย์อย่างเราอยู่ใกล้ๆจึงไม่แสดงตัว

เจ้าลูกกระสาเมื่อไม่มีคนป้อน ก็ยังไม่มีความชำนาญในการเอาอาหารเข้าปากต้องพญายามอยู่นานจึงสามารถตวัดปลาเข้าปากเเละกลืนลงลำคอได้ ได้้ปลาขนาดย่อม1 ตัวคงจะเพียงพอสำหรับมื้อเช้านี้ เจ้านกเลยเดินไต่ขึ้นคบไม้เพื่อพักผ่อนเอาแรงฝึกรอบบ่ายต่อไป
สำหรับพวกเราก็ถือจบภาระกิจ นกเป้าหมายแรก 1ชนิด บังอาลีมีสีหน้าโล่งออกที่พาเรามาเจอเป้าหมายชนิดแรกได้ ลองไปสแกนหาเป้าหมายที่สอง แถวๆบ้านมอแกน ก็ไม่เจอ ใกล้เที่ยงก็วกกลับขึ้นหาดช่องขาด ยังัยวันนี้ก็ได้มา1ชนิดเกือบแห้วสะแล้ววันนี้
รอบบ่าย หลังอาหารเที่ยง บ่าย2โมงบังอาลีพาเราเดินตามเทรลประมาณ 3 กม.ไปหาดไม้งามเพื่อสำรวจหาลูกไทรสุกและนกเปล้าใหญ่ นกหายากอีกครั้ง
ระหว่างหาดช่องขาดกับหาดไม้งามจะมีหาดกระทิงซึ่งเป็นฐานของทหารเรือ ที่นี่มีหาดทรายที่ละเอียดน้ำ้ใสและที่สำคัญคือไม่มีนักท่องเที่ยวพลุกพล่าน เจี๊ยบชอบที่จะเดินมาเล่นน้ำทะเลที่นี่มากแม้ว่าเส้นทางจะลำบากสักนิด ทหารเรือที่ประจำการที่นี่ก็อัธยาสัยดี ชักชวนดื่มน้ำดื่มกาแฟทักครั้งที่เรามานั่งหยุดพักชั่วคราวที่นี่ตกเย็นจะมีนกบินให้ให้เห็นอยู่บนภูเขาหลังบ้านพักเป็นภาพที่ดูสงบผ่อนคลายมากๆ
เรากลับมานั่งรอกันตรงหาดบริเวณช่องขาดที่ได้รับคำบอกเล่าจากบังอาลี ว่าบางครั้งตอนใกล้คำ่ที่นทท.น้อยๆเจ้ากระแตผีจะบินมาจากอีกฝั่งเพื่อมาหาอาหารที่หาดฝั่งนี้ เราเลยซุ่มอยู่จนได้เวลาอาหารเย็นก็กลับไปทานอาหารเป็นอาหารชุดฉลองความสำเร็จ 1 เป้าหมายวันนี้
เช้าวันที่ 26 กพ 25
เวลาเดิม 9โมงเช้าเราลงเรือกันอีกรอบวันนี้ท้องฟ้าสดใสแต่ทะลยังมีคงมีคลื่น

วันนี้เราออกไปยังเกาะด้านนอกได้อีกเกาะ แต่ก็ยังคงไปที่เกาะที่กระแตวางไข่ไม่ได้ เพราะคลื่นยังแรงเรือเข้าใกล้ฝั่งไม่ได้ ก็เลยต้องสุ่มหาตามหาดอื่นๆที่เมื่อวานยังไม่ได้ออกมาสำรวจ ลัดเลาะเลียบหาดไปเรื่อยๆจนทั่วเกาะก็ยังคงไม่มีวี่แววจนครบรอบก็กลับไปสำรวจตามเส้นทางเดิมที่มาเมื่อวาน วันนี้ก็ยังคงไม่มีร่องรอยของนกเช่นเคย ถึงเกาะมังกร นกกระส่าก็ยังไม่กลับมาที่รัง ที่หาดแห่งหนึ่งคงเป็นจุดที่เจ้าหน้าที่นำเศษอาหารเหลือจากโรงอาหารมาทิ้ง มีเหยี่ยวแดงฝูงใหญ่นับได้หลายสิบร่อนลงจิกกินอาหารทำให้นึกไปถึงบรรยากาศภัตตาคาร แร้งที่เนปาล
จากเกาะมังกรก็ต้องวกกลับเข้าเกาะใหญ่ที่เราพัก วันนี้บังอาลีลองให้แวะเข้าไปที่อ่าวเลยหาดไม้งามไปอีกหาด หาดนี้จะลมแรงและน้ำลึกมีเรือหาปลาและเรือเดินทะเลของนักท่องเที่ยวมาทิ้งสมอค้างคืนในทะเลบริเวณนี้ แต่ไม่อนุญาตให้ขึ้นฝั่งโดยไม่อยู่ในความดูแลของเจ้าหน้าที่
Highlightof the trip
เมื่อถึงหาด บังอาลี กระโดดลงหาดและเรือต้องรีบเบนหัวเรือออกก่อนคลื่นใหญ่จะซัดเรือเข้าหาฝั่ง บังอาลีเข้าไปในป่าชายหาดสักพัก เรามองจากเรือก็เห็นกระแต 2ตัววิ่งออกจากพุ่มไม้มาที่หาด ใช่แล้วๆ รีบยกกล้องขึ้นจับภาพกลัวว่านกจะวิ่งหายเข่าป่าหรือบินหนีไป พร้อมส่งสัญญาณให้บังอาลี ว่านกออกมาแล้ว บังเรียกเรือให้พาเราเข้าฝั่ง และค่อยๆทะยอยลงเรือทีละคนโดยดูจังหวะที่คลื่นไหลย้อนกลับ ลงกันได้ครบก็ค่อยย่องหาที่กำบัง และคืบเข้าใกล้ๆ จนได้ภาพเคลียร์
นกดูเหมือนจะไม่เห็นหรือไม่สนใจเรา บังบอกว่ากระแตจะมองไม่เห็นเราในเวลากลางวัน เราจึงเข้าใกล้ๆได้ แต่ยังไงเราก็ยังเกรงใจพวกเค้าอยู่ดี ถ่ายกันจนเหนื่อยก็รอให้นกเปลี่ยนฉากบ้าง

รอจนเจ้าตัวผู้เดินลงน้ำก็เริ่มรัวชัตเตอร์กันอีกรอบ จนน้องกลับมาเจอกันอีกครั้ง ก็ถือว่าเป็น ฉากจบของทริปการตามหากระแตผีชายหาดคู่นี้ เป็นการเจอครั้งแรกของพวกเรา3 คน มีเพียงพี่ต่ายคนเดียวที่เคยเจอที่ช่องขาดเมื่อหลายปีมาแล้วแต่คราวนี้สุดๆไปเลยร
Beach stone-curlew
The beach stone-curlew (Esacus magnirostris) also known as beach thick-knee is a large, ground-dwelling bird that occurs in Australasia, the islands of South-east Asia. At 55 cm (22 in) and 1 kg (2.2 lb), it is one of the world's largest shorebirds. It is less strictly nocturnal than most stone-curlews, and can sometimes be seen foraging by daylight, moving slowly and deliberately, with occasional short runs. It tends to be wary and fly off into the distance ahead of the observer, employing slow, rather stiff wingbeats..
The beach stone-curlew is classified as Near Threatened on the IUCN Red List of Threatened Species. In New South Wales it is listed as critically endangered
นกกระแตผีชายหาด
ขนาดใกล้เคียงกับนกกระแตผีใหญ่ มีแถบคาดตาหนาสีเข้มตัดกับคิ้วสีขาวโดดเด่น และแถบหนาสีเข้มเด่นชัดบริเวณหัวไหล่ อาศัยอยู่ตามชายหาด หาดหินที่อยู่ตามเกาะแก่งในทะเลที่ค่อนข้างเงียบสงบ ในประเทศไทยพบได้ยากตามชายหาดที่อยู่ในแผ่นดินใหญ่ ส่วนใหญ่มักส่งเสียงร้องในเวลาพลบค่ำหรือกลางคืน เสียงร้องแหลมสูงลากยาวคล้ายเสียงนกหวีด
 |
ความสุขของคนถ่าย |
ลองจินตนาการว่ากระแตคู่นี้เป็นนกยุคไดโนซอรัส ที่มีขนาดตัวเท่านกกระจอกเทศอยู่ในฉากชายหาดที่เหมือนมีการจัดฉากไว้สวยงามแบบนี้ พวกเราจะตื่นเต้นกันขนาดไหน นี่แค่ตัวเล็กๆแต่กทำให้หยุดเวลาไปได้เกือบ ชั่วโมงเต็ม

เรือประมงจอดวางอวนบริเวณอ่าวนี้
ขากลับเราเรือวิ่งผ่านจุดที่เจอกระสา วันนี้เราก็ได้เจออีกครั้งเรือเข้าใกล้ก็บินขึ้นจากพุ่มไม้และไปเข้าอีกพุ่มไกลๆ ดูเหมือนวันนี้จะเป็นตัวพ่อเพราะสังเกตขนคอที่ยาว แต่ดูสมาชิกก็ไม่ได้สนใจจะติดตามสักเท่าไหร่เพราะ ได้ภาพดีๆมาแล้วเมื่อวานและเพิ่งจะเอทอิ่มจากกระแตชายหาดจริงมาสดร้อนๆ..
นกกระสาใหญ่ Great-billed Heron
Large plain heron. Dark gray overall with a paler, more brownish neck. Lacks the black head and neck markings of the slightly smaller Gray Heron. Tends to be solitary, only rarely seen in small flocks. Typically restricted to the coast, where it inhabits mangroves, lagoons, and offshore islands, but infrequently seen inland. Rather vocal for a heron, often giving a deep, horrifically resonant roar when flushed or on the nest.
ตอนบ่ายเราจ้างเรือ300 บาทให้ไปส่งและรับกลับที่หาดไม้งาม เพราะพี่ต่ายยังคาใจ อยากได้นกเปล้าใหญ่อีกสักชนิด เพราะที่เกาะนี้น่าจะเจอได้ง่ายที่สุดแล้วสำหรับนกชนิดนี้ แต่โชคก็ยังไม่เข้าข้างเรา วันนี้ก็ยังไม่เจอ และที่หาดไม้งามวันนี้น้ำลงมากจนเห็นพื้นทรายไกลสุดตาเราต้องรอจนเกือบ5 โมงเย็นเรือจึงสามารกออกจากท่าเทียบเรือได้


ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น