วันจันทร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2568

เที่ยว ในเมือง น่าน


“แข่งเรือลือเลื่อง เมืองงาช้างดำ จิตรกรรมวัดภูมินทร์ เสาดินนาน้อย แอ่วดอยภูคา ชิมปลาปากนาย ผ้าลายน้ำไหล มะไฟจีนรสดี ลิ้นจี่ชวนลอง ส้มสีทองเมืองน่าน”

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน 
เดิมเป็นที่ประทับของพระเจ้าสุริยพงษ์ผลิตเดชฯพระเจ้าน่าน ทรงสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2446 เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน 2 ชั้น มีมุขด้านหน้า หลังคามุงด้วยไม้แป้นเกล็ด บนเนื้อที่ 14 ไร่ 2 งาน 32 ตารางวา ครั้นเมื่อเจ้ามหาพรหมสุรธาดา เจ้าผู้ครองนครน่านองค์สุดท้ายถึงพิราลัย เจ้านายบุตรหลานของเจ้าผู้ครองนครน่านจึงได้มอบหอคำหลังนี้พร้อมที่ดินให้แก่รัฐบาล เพื่อใช้เป็นอาคารศาลากลางจังหวัดน่าน ต่อมาเมื่อกระทรวงมหาดไทยได้ก่อสร้างอาคารศาลากลางจังหวัดหลังใหม่ขึ้น กรมศิลปากรจึงได้ขอรับมอบอาคารเพื่อใช้เป็นสถานที่จัดตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน ขึ้นในปี พ.ศ. 2517 และประกาศจัดตั้งอย่างเป็นทางการขึ้นในปี พ.ศ. 2528 โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานประกอบพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2530


งาช้างดำ: สมบัติล้ำค่าคู่บ้านคู่เมืองน่าน มีลักษณะเป็นงาปลียาว 94 เซนติเมตร วัดโดยรอบตรงส่วนที่ใหญ่ที่สุดได้ 47 เซนติเมตร มีนํ้าหนักถึง 18 กิโลกรัม สันนิษฐานว่าเป็นงาช้างข้างซ้ายเพราะปรากฏรอยเสียดสีกับงวงช้างให้เห็น ปัจจุบันงาช้างดำถูกเก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์แห่งชาติเมืองน่าน ใครมาเมืองน่านต้องห้ามพลาด



อาคารชั้นล่าง

แก้

ประกอบด้วยส่วนหน้ามุขใช้เป็นห้องจำหน่ายบัตรเข้าชม หนังสือด้านวิชาการ สินค้าพื้นเมือง และของที่ระลึกอื่นๆ ส่วนโถงกลางรวมถึงปีกอาคารด้านทิศเหนือ ใช้แสดงเรื่องราวเกี่ยวกับชาติพันธุ์วิทยาเกี่ยวกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาว และชาวไทยพื้นเมืองภาคเหนือ และส่วนหลังซึ่งส่วนปีกอาคารด้านทิศเหนือ ใต้ และเฉลียง จัดแสดงเรื่องราวชีวิตความเป็นอยู่และเครื่องใช้ของเผ่าชนต่างๆ ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดน่าน



อาคารชั้นบน

แก้

ประกอบด้วยส่วนหน้ามุขซึ่งใช้เป็นห้องจัดนิทรรศการพิเศษ พื้นที่ส่วนกลางเป็นห้องโถงขนาดใหญ่ใช้จัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับภูมิศาสตร์ของเมืองน่าน และส่วนหลังซึ่งเป็นส่วนปีกของอาคารด้านทิศเหนือ ใต้ และเฉลียงหลัง จำวน 6 ห้อง ใช้จัดแสดงด้านโบราณคดีและประวัติศาสตร์ศิลปะของเมืองน่านตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน












นั่งรถรางชมเมือง


รถจอดอยู่ที่หน้าศูนย์บริการนักท่องเที่ยวตรงข้ามวัดภูมินทร์ รภออกเที่ยวแรก 9:30

นำโดยน้องมัคคุเทศน์สาว อู้คำเมือง มีมักตลกหน้าตายยิงมาเรื่อยๆ



วัดภูมินทร์





หน้าวัด เกือบทุกวัดจะมีเจดีย์ทราย จำลองก่อไว้ เป็นสัญญลักษณ์แสดงความภาคภูมิใจที่ชาวน่านในอดีตได้ช่วยกันสร้างเจดีย์แข่งชิงเมืองกับพม่า ด้วยกำลังคนที่น้อยกว่าหลายเท่า แต่ก็ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นขึ้นโครงไม้ไผ่และเททรายใส่ขึ้นไปเป็นชั้นๆ เมื่อถึงวันกำหนดเสร็จ จึงสามรถสร้างเป็นเจดีย์ที่ยอดสูงกว่าพม่าได้ พม่าจึงยอมแพ้และถอยทัพกลับไป


หัวข่วง ลานกิจกรรม


วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร


วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร
 อยู่ตรงข้ามพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน เดิมชื่อ วัดหลวงกลางเวียงเจ้าผู้ครองนครน่าน พญาภูเข่ง เป็นผู้สร้างขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 1949 พระวิหารหลวงวัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร เป็นวิหารขนาดใหญ่ รูปทรง สร้างตามสถาปัตยกรรม ทางภาคเหนือ 


ลักษณะภายในโอ่โถง ด้านหน้ามีสิงห์คู่ ยืนตรงเชิงบันได ด้านละตัว มีทางเข้า 3 ทาง ประตูกลาง ทำเป็นประตูใหญ่ และประตูเล็ก อยู่ด้านซ้ายและด้านขวา มีทางขึ้นเป็นประตูเล็ก ๆ ตรงข้ามพระประธาน ด้านทิศตะวันออกและตะวันตกอีก 2 ข้าง ทำหลังคาซ้อนกัน 2 ชั้น มุขลดด้านหน้า และด้านหลัง หน้าบัน ตีด้วยแผ่นกระดานเรียงต่อกัน แล้วประดับที่ขอบเสา ด้านหน้าทุกต้น ตามลักษณะ สถาปัตยกรรมล้านนาไทย ภายในพระวิหารกว้างขวาง มีเสาปูนกลมขนาดใหญ่ ขนาด 2 คนโอบรอบ จำหลัก ลวดลายปูนปั้นนูนสูงไว้ เหนือจากระดับพื้นพระวิหาร 1.50 เมตร เป็นลวดลาย กนกระย้าย้อย เหมือนลวดลาย ที่เสาในวิหารวัดภูมินทร์





เจดีย์ช้างค้ำ ซึ่งเป็นศิลปสมัยสุโขทัย อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 20 รอบเจดีย์ มีรูปปั้นช้างปูนปั้น เพียงครึ่งตัวประดับอยู่โดยรอบ นอกจากนี้ยังมีพระพุทธรูปทองคำปางลีลา คือ พระพุทธนันทบุรีศรีศากยมุนี ซึ่งเป็นทองคำ 65 % สูง 145 เซนติเมตร ยอดพระโมฬีทำเสริมเมื่อ พ.ศ. 2442 หนัก 69 บาท เจ้างั่วฬารผาสุม เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 14 แห่งราชวงค์ภูคา เป็นผู้สร้าง เมื่อวันพุธ เดือน 6 เหนือ พ.ศ. 1969 เป็นศิลปะสุโขทัย ประดิษฐานอยู่ที่หอพระไตรปิฎก ใหญ่ที่สุดในประเทศ


พระธาตุเจดีย์ช้างค้ำวรวิหาร เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีลิกธาตุไว้ภายใน นับเป็น ปูชนียสถาน สำคัญ เป็นเจดีย์ ที่ได้รับอิทธิพลทางด้านศิลปะสุโขทัย จากเจดีย์ทรงลังกา คือเจดีย์วัดช้างล้อมนั่นเอง 


วัดหัวข่วง


ไม่ปรากฏว่าสร้างมาตั้งแต่สมัยใด สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยล้านนาตอนปลาย พุทธศตวรรษที่ 20-22 มีจิตรกรรมฝาผนังที่สวยงามภายในพระวิหาร มีพระพุทธรูปปางมารวิชัย ลักษณะพุทธศิลป์แบบท้องถิ่นล้านนา สกุลช่างเมืองน่าน ฝีมือประณีตงดงาม 




วัดหัวข่วง วัดที่พระประธานไม่ได้อยู่ตรงกลาง สัญลักษณ์แห่งสันติภาพ

วัดหัวข่วง” นอกจากเป็นวัดที่มีความสวยงามอีกแห่งหนึ่งของเมืองน่านแล้วยังเป็นวัดที่มีความแปลกไม่เหมือนวัดอื่นใดในไทยอีกด้วย แล้วสิ่งที่แปลกของวัดนี้ก็คือพระประธานเบี่ยงซ้ายนั่นเอง ถ้าหากเราเดินเข้าไปในโบสถ์แล้วลองมองไปตรง ๆ จะเห็นได้ชัดเลยว่าพระประธานไม่ตรงกับประตูโบสถ์ ส่วนสาเหตุทำไมพระประธานต้องเบี่ยงซ้าย มันมีเรื่องเล่าอยู่ว่า “เมื่อสมัยก่อนชาวบ้านคุ้มวัดหัวข่วงกับชาวบ้านคุ้มวัดภูมินทร์ทะเลาะกัน ไม่สามารถปรองดองกันได้ จนในที่สุดผู้ใหญ่บ้านทั้ง 2 คุ้ม ได้เห็นว่าพระประธานของวัดหัวข่วงและวัดภูมินทร์นั้นหันหน้าเผชิญกัน เพื่อให้เกิดความสงบสุข วัดหัวข่วงจึงยอมขยับพระประธานให้เบี่ยงมาทางด้านซ้าย 

หลังจากนั้นชาวบ้านทั้ง 2 คุ้มก็เป็นมิตรกันและสงบสุขเรื่อยมา” (คำว่าคุ้ม แปลว่าหมู่บ้านในสมัยก่อน) เรื่องราวนี้ถูกเล่าต่อกันมามากกว่า 500 กว่าปีแล้ว จนถึงปัจจุบันพระประธานไม่ได้ถูกขยับไปไหนอีกเลย ชาวบ้านแถบนี้จึงถือว่าเป็นพระประธานแห่งสันติภาพและมีความเชื่อว่า “ หากใครที่มาไหว้ก็จะพบกับความสันติสุข ใครที่ทะเลาะกัน คู่รักที่บาดหมางกัน มาไหว้พระที่นี่ก็อาจจะคืนดีกันได้ ”



หอธรรมวัดหัวข่วงหรือหอไตร
 เป็นอาคารที่มีลักษณะทรงสี่เหลี่ยมจตุรมุขใต้ถุนก่อทึบทรงสี่เหลี่ยมยอดเป็นรูปเต้าสลักลายลงรักปิดทองประดับกระจก ใช้เป็นสถานที่เก็บคัมภีร์โบราณและพระไตรปิฏก

เจดีย์วัดหัวข่วง เป็นเจดีย์ทรงปราสาทหรือทรงเรือนธาตุ ได้รับอิทธิพลศิลปะล้านนา ประกอบด้วย ส่วนฐานสร้างเป็นสี่เหลี่ยมฐานปทม ประดับด้วยลูกแก้วสองชั้น มีฐานไม้ คั่นกลาง ฐานบัวลูกแก้วชั้นบนย่อมุม รับกับเรือนธาตุไปจรดชั้นบัวถลาใต้องค์ระฆัง ส่วนเรือนธาตุมีซุ้มจรนัมด้านละซุ้ม ประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัยสำริด ประดับมุมด้วยรูปเทวดาทรงเครื่องยืนพนมมือ เรือนธาตุเป็นชั้นบัวถลาซ้อนกันสามชั้น ยอดขององค์เจดีย์เป็นทรงระฆังมีขนาดเล็กไม่มีบัลลังก์ สันนิษฐานว่าเป็นศิลปะที่ดัดแปลงตามแบบของช่างเมืองน่าน มีอายุระหว่างสมัยล้านนาตอนปลาย





วัดสวนตาล

วัดที่สร้างขึ้นโดยพระนางปทุมมาวดี เมื่อ พ.ศ. 1770 มีอายุเก่าแก่ถึง 600 ปี และเป็นโบราณสถานคู่เมืองน่านที่น่าเยี่ยมชม สถานที่ท่องเที่ยว ได้แก่ - เจดีย์ซึ่งมีสัณฐานงดงาม ชั้นล่างมีซุ้มประตูทั้งสี่ทิศ จากภาพถ่ายในหอจดหมายเหตุแห่งชาติ รูปเจดีย์วัดสวนตาลก่อนการบูรณะในสมัยพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ (ตรงกับรัชกาลที่ 5) พบว่าเป็นเจดีย์ฐานสี่เหลี่ยม องค์พระเจดีย์เป็นทรงดอกบัวตูมหรือทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ สะท้อนให้เห็นถึงอิทธิพลของศิลปะสมัยสุโขทัย - พระเจ้าทองทิพย์ เป็นพระพุทธรูปทองสำริดองค์ใหญ่ ปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 10 ฟุต สูง 14 ฟุต 4 นิ้ว ประดิษฐานภายในวิหาร ซึ่งพระเจ้าติโลกราชแห่งนครเชียงใหม่ โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 1992 นอกจากนี้ยังมีการจัดงานนมัสการและสรงน้ำเป็นประจำทุกปีในช่วงเทศกาลสงกรานต์





วัดหัวเวียงใต้ 

สร้างโดยชาวพม่าซึ่งเป็นพ่อค้าไม้นามว่าหม่องส่าหรือนายหม่อง วงศ์เครื่อง ซึ่งในจังหวัดน่านเหลืออยู่แค่สองวัด ที่วัดหัวเวียงใต้ และวัดกู่คำ อำเภอเมืองน่าน วัดหัวเวียงใต้เป็นวัดเก่าแก่มีอายุกว่า 273 ปี ก่อสร้างด้วยอิฐถือปูนหลังคาทรงมะลิลา พระประทานเป็นปูนปั้นศิลป์แบบพม่าหน้าตัก 6 ศอก สูง 8 ศอก นอกจากนี้ ยังมีกำแพงวัดอายุกว่า 160 ปี เป็นรูปพญานาค 2 ตัวเลื้อยอยู่บนกำแพง และ เจดีย์ก่อสร้างโดย นายวงศ์ ชายครอง พร้อมด้วยคณะศรัทธา พระธาตุก่อด้วยอิฐถือปูน ฐานกว้าง 14 ศอก สูง 24 ศอก ภายในองศ์พระธาตุบรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ขนาดเท่าเมล็ดพันธุ์ผักกาด จำนวน 9 ดวง



วัดอรัญญาวาส

วัดอรัญญาวาส สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๓๘๐ เดิมชื่อ วัดป่า ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น วัดอรัญญาวาส สภาพของวัดเป็นเหมือนป่ากลางเมือง มี พระครูพิทักษ์นันทคุณ เป็นเจ้าอาวาส 
วัดอรัญญาวาสได้สร้างพิพิธภัณฑ์ ๑๐๐ ปี พระครูนันทวุฒิคุณ เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่อดีตเจ้าอาวาส ประดิษฐานพระพุทธรูปซึ่งสร้างขึ้นใหม่ที่แกะสลักจากไม้สักทอง ไม้ขนุน ฯลฯ เป็นพระพุทธรูปปางต่าง ๆ รวมทั้งพระพุทธรูปโบราณอายุหลายร้อยปีที่ตกทอดมา เพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้สักการะบูชา โดยเฉพาะพระพุทธรูปที่แกะสลักจากไม้พญางิ้วดำหรือไม้นิลคงซึ่งเป็นไม้หายาก รวมทั้งตอไม้พญางิ้วดำและไม้งิ้วดำที่กลายเป็นหินให้อนุชนได้มาศึกษาเรียนรู้




พระธาตุคู่บ้านคู่เมืองน่าน... พระธาตุแช่แห้ง


พระธาตุแช่แห้ง เป็นปูชนียสถานศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองน่าน มาช้านาน มีอายุกว่า 600 ปี ตามพงศาวดาเมืองน่านกล่าวว่า พญาการเมือง เจ้านครน่าน โปรดเกล้าให้สร้างขึ้นเพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่ได้มาจากเมืองสุโขทัย (กระดูกข้อมือข้างซ้าย) พ.ศ.1896 มาประดิษฐานไว้ที่ดอยภูเพียงแช่แห้ง และตามตำนานกล่าวว่า พระพุทธเจ้าได้เสด็จมาประทับสรงน้ำที่ริมฝั่ง แม่น้ำน่านทางทิศตะวันออก ที่บ้านห้วยไค้ และเสวยผลสมอแห้ง ซึ่งพระยามลราชนำมาถวาย แต่ผลสมอนั้นแห้งมาก พระพุทธเจ้าจึงทรงนำผลสมอนั้นไปแช่น้ำก่อนเสวย และทรงพยากรณ์ว่า ต่อไปที่นี่จะมีผู้นำพระบรมสารีริกธาตุมาประดิษฐาน จึงเรียกพระสถูปที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุแห่งนี้ว่า พระธาตุแช่แห้ง 


ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำน่าน ณ อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน วัดพระธาตุแช่แห้ง อยู่ห่างจากตัวเมืองออกไปประมาณ 3 กิโลเมตร ตั้งอยู่บนเนินเขาลูกเตี้ย ๆ องค์พระธาตุ สามารถมองเห็นได้แต่ไกล เนื่องจากสูงถึง ถึง 55.5 เมตร  ตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้างด้านละ 22.5 เมตร มีสีเหลืองอร่าม เนื่องจากบุด้วย แผ่นทองเหลือง พระธาตุนี้ ตั้งอยู่ บนยอดดอยภูเพียงแช่แห้ง ลักษณะของเจดีย์ทรงระฆัง ส่วนฐานทำเป็นฐาน หน้ากระดานสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ รองรับฐานบัวลูกแก้วย่อเก็จ ถัดขึ้นไปเป็นฐานหน้ากระดาน สี่เหลี่ยม และแปดเหลี่ยม ซ้อนลดหลั่นกัน 3 ชั้น องค์ระฆังมีขนาดเล็ก บัลลังก์ทำเป็นแท่นสี่เหลี่ยมย่อเก็จ ฐานหน้ากระดาน กลม เป็นกระดานสี่เหลี่ยมและแปดเหลี่ยม และชั้นบัวคว่ำเหนือฐานแปดเหลี่ยม ตกแต่งคล้ายกลีบบัว หรือลายใบไม้ แทน ลายดังกล่าวนี้คงได้รับอิทธิพลจากศิลปะพม่า ซึ่งนำมาต่อเติมขึ้นภายหลัง เมื่อล่วงเข้าพุทธศตวรรษที่ 24 แล้ว


It is located in Muang Tuet Sub District. It is a sacred place located on a hill on the east bank of the Nan River in the area that used to be the centre of Nan after moving from Pua. Wat Phrathat Chae Haeng was built in the reign of Phaya Kan Mueang (1326-1359) to enshrine seven Buddha relics, and silver and gold amulets that were bestowed by King Maha Thammaracha Lithai when he went to help build Wat Luang Aphai (Wat Pa Mamuang, Sukhothai province at present) in 1354. Interesting items in the interior of the temple include Phra Boromthat Chae Haeng, the zodiac element of people born in the Year of the Rabbit. The Phrathat is a bell-shaped chedi. The style of Phrathat Chae Haeng is assumed to have been influenced by the Chedi Phrathat Hariphunchai. Around the chedi is lined with gold Django (gold zucchini flowers, copper alloy mixed with brass), and on the way up to the relics, there is a serpent or Naga. The gable above the entrance to the temple is a stucco pattern with Naga Kiao designs, which is considered the uniqueness of Nan art. Lanna people believe that if they have to travel, they should come to worship the relics of the year of their birth that would be greatly beneficial. Open daily 06.00 - 18.00 Hrs. For further details contact, 







วิหารพุทธไสยาศน์ อยู่ทางด้านหน้านอกกำแพงแก้วขององค์พระธาตุ วิหารก่อสร้างตามแนวยางขององค์พระ มีประตูทางเข้า ด้านหลัง คือทิศใต้ ด้านหน้า ยังมี พระเกตุแก้วจุฬามณี จำลอง  ซึ่งเป็นพระธาตุประจำปีจอ  ให้กราบไหว้ด้วย







Coral-billed ground cuckoo นกโกโรโกโส

  Coral-billed ground cuckoo  The  coral-billed ground cuckoo  ( Carpococcyx renauldi ), also known as  Renauld's ground cuckoo , is a l...