วันอังคารที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2568

บึงละหาน บ้านปากดำ

Bueng Lahan

Dam,Reservoir, Lake

This place is a plentiful water resource with more than 25 species of freshwater fish and fish breeding is done in the Inland Fisheries Station. Some species of fish are endangered; such as, Walking Catfish. There are 9 kinds of Barb, 3 kinds of Anabas, commercial fish, which are, Common Snakehead, Grey Featherback, Eye-Spot Barb, Java Barb, Siamese Mud Carp, Hard-Lipped Barb, and Striped Tiger Leaffish, which is the symbol of Bueng Lahan. Bueng Lahan is a plentiful natural resource with a good ecosystem so it is a habitat and breeding place for more than 56 species of birds, both indigenous birds, shore birds, waders, and migratory birds. Some species of birds are endangered.



บึงละหาน เป็นแหล่งน้ำธรรมชาติมีเนื้อที่กว้างใหญ่ เป็นทะเลสาบน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 3 ของประเทศไทย มีเนื้อที่ 18,181 ไร่ หรือ (29.08 ตารางกิโลเมตร) เป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์และยังมีระบบนิเวศที่ดี บึงละหานได้รับเลือกให้เข้าอยู่ในทะเบียนรายนามพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติของไทย ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2543 เรื่อง ทะเบียนรายนามพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติและระดับชาติของประเทศไทย และมาตรการการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำ เพื่อเสนอขอขึ้นทะเบียนเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำสำคัญระดับนานาชาติ(Ramsar Site)ต่อสำนักงานเลขาธิการอนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำ ซึ่งเป็นผลมาจากการที่ประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกภาคีของอนุสัญญาแรมซาร์ (Ramsar Convention) อนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญในระดับนานาชาติ โดยเฉพาะในการเป็นถิ่นที่อยู่ของนกน้ำ (The Convention on Wetlands of International Importance, especially as Waterfowl Habitat.) และเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2552 มีมติคณะรัฐมนตรี การทบทวนมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2543 บึงละหานจึงยังไม่ได้อยู่ในทะเบียนรายชื่อของสำนักงานเลขาธิการอนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำ แต่เพื่อเป็นการอนุรักษ์แหล่งเพาะพันธ์และอนุบาลสัตว์น้ำจึงมีการกำหนดจุดอนุรักษ์จำนวน 2 จุด คือบริเวณศาลเจ้าพ่อหาญคำและบริเวณวิจัยประมงน้ำจืดจังหวัดชัยภูมิ และขอความร่วมมือชาวประมงไม่ให้จับสัตว์น้ำในบริเวณจุดอนุรักษ์ดังกล่าว





บึงละหานมีระบบนิเวศที่มีความสภาพสมบูรณ์ ยังมีความอุดมสมบูรณ์อยู่มากทำให้มีนกหลากหลายสายพันธุ์เข้ามาอาศัยอยู่ในพื้นที่ ซึ่งพบอย่างน้อย 56 ชนิด  นกประจำถิ่น 24 ชนิด  นกน้ำและนกชายเลน 27 ชนิด นกอพยพแต่มิใช่เพื่อการผสมพันธุ์ 29 ชนิดได้แก่ นกยางโทนน้อย นกยางโทนใหญ่ นกยางเปีย นกยางไฟธรรมดา นกยางไฟหัวดำ  นกอพยพเพื่อการผสมพันธ์ 1 ชนิด ได้แก่ นกแอ่นทุ่งใหญ่  นกอพยพตามฤดูกาล 1 ชนิด ได้แก่ นกแซงแซวหางปลา นกที่อยู่ในสภาพใกล้สูญพันธุ์ ได้แก่  นกกระสานวล นกกระสาแดง นกกระแตหาง  นกที่อยู่ในสภาพใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่งได้แก่ นกกระแตผีใหญ่  นกที่พบมาก ได้แก่ นกนางแอ่นทุ่งใหญ่  เป็ดแดง



8-9 มค.2568

ทริปนี้เป้าหมายของเราคือต้องการมาชม นกปากช้อนหน้าดำ ซึ่งมีรายงานอพยพหนีหนาวจากจีน มาที่บึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสววรรค์ เพียงที่เดียว แต่ไม่นานมานี้ก็มีคนเจอที่บึงละหานแห่งนี้และสามารถมองเห็นได้ใกล้ชิดกว่า


The black-faced spoonbill (Platalea minor) is a species of wading bird in the ibis and spoonbill family Threskiornithidae, found in eastern Asia. This species has the most restricted distribution of the six spoonbill species, and it is the only one regarded as endangered. Spoonbills are large water birds with dorso-ventrally flattened, spatulate bills.These birds use a tactile method of feeding, wading in the water and sweeping their beaks from side-to-side to detect prey. Confined to the coastal areas of eastern Asia, it seems that it was once common throughout its area of distribution. It currently breeds only on a few small rocky islands off the west coast of North Korea, with four wintering sites at MacauHong KongTaiwan and Vietnam, as well as other places where they have been observed in migration. Wintering also occurs in JejuSouth KoreaKyushu and OkinawaJapan, and the Red River delta in Vietnam. More recently, sightings of black-faced spoonbill birds were noted in Thailand, the Philippines, and additional sites in China.

ทริปนี้มีสมาชิก8คน มีคุณ เอ แอดมิน A birdwatch เป็นหัวหน้าทริป เราใช้รถตู้ออกเดินทางออกจากกรุงเทพแต่เช้ามืดใช้เวลาประมาณ 4 ชั่วโมงก็ถึงเป้าหมาย เข้าเขตบึงก็มีนกน่าสนใจให้ต้องจอดรถซ้อมมือกันแล้ว


นกช้อนหอยดำเหลือบ
Glossy Ibis 
Plegadis falcinellus

 นกช้อนหอยขนาดเล็กที่สุดที่พบในประเทศไทย ปากยาวโค้งลงตรงปลายสีน้ำตาลแกมเทา หัวและคอสีน้ำตาล มีลายขีดสีจางกระจายทั่ว อก และท้องสีน้ำตาลแกมแดง หลังสีน้ำตาลเหลือบสีม่วงเขียวเป็นมัน แข้งและตีนสีเนื้อ ชุดขนฤดูผสมพันธุ์ หน้าผาก ใต้คางสีเขียวเป็นมัน รอบหน้ามีกรอบสีขาวแคบล้อมรอบ คอ อก หัวไหล่ หลังตอนบนสีน้ำตาลแกมแดง ขนคลุมปีกสีเขียวเป็นมัน นกวัยอ่อน โคนปากสีคล้ำ กลางปากสีชมพู ปลายดำ หัว คอ หลังตอนบน สีน้ำตาล ขนคลุมปีกสีเขียวเป็นมัน อาศัยตาม อาศัยอยู่ตามอ่างเก็บน้ำ หนอง บึง นาข้าว พบค่อนข้างบ่อย


เราแวะสวัสดีและสอบถามข้อมูลจากหัวหน้าเขตห้ามล่าบึงละหาน ซึ่งก็ให้การต้อนรับด้วยอัธยาศัยไมตรี ได้ข้อมูลที่พบเห็นนกล่าสุด แถวทุ่งนาใกล้ที่ท่าเรือประมง พวกเราไม่รอช้ารีบรุดกันไปทันที



ถึงเป้าหมาย เราจอดรถริมถนนริมที่เป็นทุ่งนาแปลงใหญ่ไกลสุดตาขนานไปตามริมคลอง ชาวนา2-3 คนกำลังใช้รถไถนาเพื่อเตรียมดินสำหรับหว่านข้าวในฤดูกาลต่อไป ชาวคณะเราพยายามสอดส่ายสายตาบ้างก็ ใช้ไบนอคสแกนหานกเป้าหมาย ซึ่งทราบมาว่ามี3 ตัวและจะหากินรวมอยู่กับฝูงนกน้ำท้องถิ่นและนกอพยพชนิดอื่นๆ ในที่สุด jookjik ก็สะดุดกับนกขาวๆ3 ตัวที่น่าสนใจ เมื่อให้ทุกคนช่วยกันคอนเฟิม โดยสังเกตุปากดำใหญ่ๆก็ได้ข้อสรุปว่าใช่ เจอแล้วๆ แต่ยังไกลเกินไป ก็จำเป็นต้องถอดรองเท้าเดินข้ามร่องและย่ำหนามไมยราพไปตามคันนาและค่อยๆคืบไป จนสุดทางคันนา ก็นั่งเก็บภาพอริยาบทต่างๆ ของน้องๆ ในระยะไกล จนจุใจ














เมื่อนกเริ่มเดินห่างออกไปเรื่อยๆ ทีมงานก็ปรึกษากันเพื่อหาวิธีจะให้เข้าใกล้นกได้มากขึ้น  จะนั่งรถไถนาไปดีไหม แต่เค้าก็ทำงานอยู่ไปรบกวนคงไม่เหมาะ ในที่สุดก็ได้ความว่ามี น้องคนหนึ่ง จะมีบริการพายเรือพาเราไปตรงขนำกลางน้ำที่สามารถเห็นนกได้ใกล้ ๆ ก็เป็นอันโอเค หลังจากอาหารเที่ยงเราจะกลับมาที่นี่อีกครั้ง 




เรือจะนั่งได้แค่4-5 คน เลยต้องแบ่งป็น 2 เที่ยว ค่าบริการ เที่ยวละ 500 บาท เราได้ไปเที่ยวแรก น้องพายเรือพาเราไปตามลำคลองเล็กๆประมาณ 20 นาที ก็ถึงขนำ เห็นนกอยู่ใกล้ ทะยอย ขึ้นเรือทีละคน แต่ยังไม่ทันได้ติดตั้งกล้องบนขาตั้งกล้องเสร็จ  นกก็เริ่มขยับตัว และบินขึ้นในทุ่งพงต้นเลา เมื่อขึ้นสูงก็บินวนกลับมาอีกครั้งแต่ไม่ลง และบินข้ามพวกเราหายไปทางฝั่งที่ทำการ เราจึงได้มาแค่ภาพฝูงบินเล็กๆ สร้างความเสียดายและเสียใจให้กับทุกคนโดยเฉพาะที่จะมากลุ่มหลัง









พวกเรานั่งรอการกลับมาของเจ้าปากช้อนด้วยความหวัง ระหว่างรอก็เก็บภาพนกและเป็ดชนิดต่างๆที่โผบินหากินอยู่ริมคลองใกล้ ๆขนำจนเย็น













เช้ามืดรุ่งขึ้นอีกวันเรากลับมาที่เดิมอีกครั้ง หัวหน้าทีมดริปกาแฟ ขนมปังแจกลูกทีมใครทานเสร็จก็ออกสำรวจพื้นที่อีกครั้ง แต่ยังไม่มีเงาของกลุ่ม ปากช้อนแต่อย่างใด ระหว่างรอก็เก็บภาพนกริมฝั่งที่ออกหากินตามพุ่มไม้ข้างถนนไปพลางๆ














ประมาณ7 โมงกว่า น้าหงาซึ่งลงไปเฝ้านกอยู่ที่ปลายคันนาก็ส่งข่าวมาว่านกได้กลับมาแลนดิ้งลงพื้นน้ำใกล้จุดเดิมแล้ว หัวหน้าจึงโทรติดต่อน้องพายเรือที่กำลังออกไปปฏิบัติภาระกิจออก เก็บปลาที่วางอวนไว้ตั้งแต่เมื่อคืนและนำไปส่งที่ตลาด จึงต้องใช้เวลาสักพักกว่าจะมาถึง พอมาถึงก็ยกเครื่องเรือหางยาวออกเปลี่ยนเป็นเรือพายแทน




วันนี้นกจะหากินอยู่ช่วงกึ่งกลางระหว่างขนำที่เราอยู่กับที่จะเก่าปลายคันนา สมาชิกอีกกลุ่มเลยเลือกที่จะปักหลักอยู่ที่ปลายนา









10โมงเราเก็บอุปกรณ์เพื่อเดินทางกลับ ถือเป็นการปิดทริปที่ทุกคนสมหวัง ดั่งตั้งใจ 


ขากลับเรามีเวลาอีกครึ่งวัน ทุกคนยินดีที่จะแวะเขาใหญ่เพื่อนกเป้าหมายสองชนิด คือ นกไผ่เขียวที่หลังโรงอาหาร และนกเงือกกรามช้างที่ลานกางเตนท์ลำตะคอง 
 


ถึงเขาใหญ่เราแวะหมายที่หลังโรงอาหารก่อนเป็นอันดับแรก มีนกให้ดูหลายชนิดรวมถึงลุ้นไปกับนกเป้าหมายตัวเล็กสีสดที่ถ่ายได้ยากมาก


Pin-tailed parrotfinch



The 
pin-tailed parrotfinch (Erythrura prasina) is a common species of estrildid finchfound in Southeast Asia: MalaysiaBruneiCambodiaIndonesiaLaosBurmaVietnamThailand and China.It has an estimated global extent of occurrence of 10,000,000 km2.


It is found in subtropical/tropical in both montane and lowland moist forest, and is also found in bamboo thickets and rice plantations. Flocks of this species can do great damage to 
rice crops, and in parts of its range it is classed as a pest. The IUCN has classified the species as being of least concern.[3] It is a popular cage bird.



นกกระติ๊ดเขียว, นกไผ่


นกกระติ๊ดหลากสีสดใส ตัวผู้ หางยาวเรียวแหลม ปากทรงกรวยแหลมสีดำ หน้าสีน้ำเงิน ท้ายทอย ข้างคอ หลัง และปีกสีเขียวสด อก สีข้าง ขนคลุมโคนหางด้านล่างสีส้มแกมน้ำตาล ท้อง ตะโพก และหางสีแดงสด ตัวผู้ ชุดขนสีเหลือง คล้ายชุดขนปกติ แต่ท้อง และหางสีเหลือง ตัวเมีย คล้ายตัวผู้ แต่หน้าสีฟ้าจางกว่า ท้องไม่มีสีแดง หางสั้นกว่าชัดเจน อาศัยอยู่ตามป่าดิบแล้ง หรือป่าดิบชื้น ป่าชั้นสองที่มีไผ่ขึ้นแทรก มักพบเป็นฝูง บางครั้งฝูงใหญ่จำนวนมากกว่า 30 ตัว ลงกินเมล็ดไผ่ในป่า มีพฤติกรรมอพยพระยะสั้นตามแหล่งอาหาร นกประจำถิ่น พบไม่บ่อย



Rosy minivet



Pale, rather washed-out-looking minivet. Male has a white throat, pink breast, and bright red “apostrophe” on the wing. Female replaces male’s red and pink with yellow, but is otherwise similar. Both have prominent dark lores. Usually moves in pairs, but will form flocks outside of the breeding season. Breeds in a wide range of lowland and foothill forests; favors hill and valley forests in the winter. Gives twittering trill in flight.
นกพญาไฟสีกุหลาบ สวยสมชื่อ เป็นนกใหม่ของผมที่เพิ่งจะเคยเจอเป็นครั้งแรก ดีใจอยู่คนเดียวเพราะคนอื่นคงเคยเจอหลายๆครั้ง





ที่ลำตะคอง เราไม่โชคดีพอที่จะได้เจอนกเงือกกรามช้าง มีเพียงนกแก๊กหลายตัวที่กินลูกไม้อยู่ตรงจุดเห็นได้ง่าย   ยังัยก็ตามก่อนกลับ ก็ได้เห็นเจ้ากรามช้างบินขึ้นเกาะยอดไม้อยู่ไกลๆหลังจากที่สันนี้คงอิ่มจากลูกไทรจากต้นไหนสักต้น ที่อยู่ลึกเข้าไป ไว้โอกาสหน้าค่อยเจอกันใหม่ เขาใหญ่อยู่ใกล้แค่นี้









ไม่มีความคิดเห็น:

กางเตนท์ท้าลมหนาวใต้ต้นพญาเสือโคร่ง

  มกราคม 2568 ทริปนี้ตั้งใจมาลองไปนอนกางเตนท์บนดอยที่เชียงใหม่  จองพื้นที่กางเตนท์ในเวปของอุทยานไว้กันเหนียว เค้าคิดค่าบริการ 30 บาทต่อคน/คื...