วันจันทร์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2567

ทริป หนองคาย-บึงกาฬ-อุดร

 กรุงเทพ> อุดร>หนองคาย>บึงกาฬ



ทริปนี้ เราใช้บรการของการรถไฟแห่งประเทศไทย เดินทางจากสถานีกรุงเทพอภิวัฒน์ที่เคยโด่งดังจากเรื่องทัวร์ลงเรื่องป้ายชื่อสถานีราคาสิบกว่าล้านจนต้องพักรบไป ตัวสถานีกว้างขวางสมฐานะราชาที่ดินของไทย ภายในอาคารแอร์เย็นจากหัวจ่ายขนาดใหญ่เป่าลมจนแม้แต่ฝรั่งยังต้องรีบเปิดกระเป๋าเดินทางรื้อเสื้อกันหนาวและหมวกมาสวมใส่


สถานีกรุงเทพอภิวัฒน์เดิมก็คือชุมทางบางซื่อซึ่งเป็นชุมทางที่เมื่อรถไฟทุกสายวิ่งออกจากสถานีหัวลำโพงก็จะมาแยกไปสายเหนืออิสาน และใต้ มีเพียงสายเดียวคือสายตะวันออกที่จะแยกไปทางสถานีมักกะสันก่อนจะเข้าบางซื่อ



รถไฟสายอิสานและสายเหนือเทาที่ได้สัมผัสมาดูจะมีตู้โบกี้ที่ใหม่ทันสมัยกว่าสายใต้ และก็จะจองได้ง่ายกว่าไม่ต้องแย่งกันจองตั้งแต่ว่าถึงกำหนดให้จองได้เหมือนสายใต้ และก็มักจะมีที่นั่งว่างๆเหลือ ซึ่งอาจจะเป็นเพราะ ตั๋วเครื่องบินสายอิสานก็จะราคาใกล้เคียงกับตั๋วรถไฟ(ชั้น2 นอน(ปรับอากาศราคา 994บาท )  ซึงตั๋วเครื่องบินบางไฟลท์อาจจะต่ำกว่าด้วยซ้ำ อีกอย่างพี่น้องอิสานมักจะขับรถส่วนตัวกลับบ้านกันมากกว่าเพราะถนนหนทางสะดวกสะบายเข้าถึงทุกซอกซอยหมู่บ้าน รถไฟสายอิสานช่วงนี้ดูจะได้อนิสงค์จากนักท่องเที่ยวต่างชาติที่นิยมเดินทางไปเวียงจันทน์ จะเห็นว่ารถขบวนกรุงเทพ เวียงจันทน์จองเต็มตลอด จนต้องมาใช้ขบวนกรุงเทพหนองคายและไปต่อรถที่หนองคายอีกครั้ง



รถไฟออกจาก สถานีกรุงเทพฯ20:25 ตรงเวลา ถึงหนองคาย 6:25 ตรงเวลาหน้าตั๋วเป๊ะ ถือเป็นวิวัฒนาการของการรถไฟที่น่าชื่นชมเป็นอย่างยิ่ง



หน้าสถานีมีรถตุ๊กๆและสกายแลปมาเข้าคิวรอนักท่องเที่ยวกันอย่างมีระเบียบโชว์เฟอร์ก็ไม่ออกอาการชี้ชวนจนอึดอัดและไม่ออกอาการทำหน้าเบื่อหน่ายเมื่อโดนปฏิเสธ  ทริปนี้พวกเราใช้บริการรถเช่าขับเอง ค่าเช่าวันละ 900 บาท รถมาส่งให้หน้าสถานีเลยสะดวกดี เป็นบริการของ ร้าน TUB CAR RENT บริการดี ชี้ชวนดี แต่ดูจะติดขี้บ่นสักเล็กน้อย ที่ทราบเพราะเจ้าของเอารถมาให้เราที่หน้าสถานีและขับไปทำสัญญารับรถกันที่ออฟฟิใกล้เชิงสะพานมิตรภาพไทยลาว  

รับรถเรียบร้อยอันดับแรกลองขับไปสำรวจที่พักที่จองไว้สำหรับมาพักคืนสุดท้ายก่อนกลับกรุงเทพ เป็นโฮมสเตย์ เล็กๆอยู่ริมโขงมองเห็นสะพานข้ามไปเวียงจันทน์และเห็นชนบทชานเมืองเวียงจันทน์อยู่ฝั่งตรงข้ามก็ถือว่าบรรยากาสดีที่ราคาไม่แพง


ดูที่พักเสร็จก็ไปสักการะพระคู่บ้านคู่เมืองหนองคาย  ตั้ง GPS ไปอารามหลวงวัดหลวงพ่อพระใส  อย่าลืมว่าต้องมีคำว่าวัดโพธิ์ชัยอยู่ด้วยมิฉะนั้น GPS จะพาหลง

Wat Pho Chai

Phra Sai or Luang Pho Phra Sai is a cross-legged Buddha image in the posture of Maravichai. Lan Chang art Cast in bright gold He has a very beautiful appearance. The lap width is 2 spans 8 inches. The height from the lower monk to the top of the hair is 4 spans 1 inch.


“หลวงพ่อพระใส” พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์จากล้านช้าง สู่พระคู่เมืองหนองคาย 1 ปีสรงน้ำได้ 1 หน

หลวงพ่อพระใส” เป็นพระพุทธรูปที่ประดิษฐานที่วัดโพธิ์ชัย จ. หนองคาย และอยู่คู่บ้านคู่เมืองมาเป็นระยะเวลาหลายชั่วอายุคน ใครที่ผิดหวัง เสียใจ หรือหาที่พึ่งทางใจ ล้วนแวะเวียนไปกราบท่าน เพื่อให้ท่านช่วยเหลือเกื้อกูล เพราะเล่าสืบกันมาว่าท่านมากด้วยอภินิหาร ดังจะเล่าให้ฟัง

จากตำนานเล่าขานมาเนิ่นนาน เชื่อกันว่าพระธิดาสามพี่น้องแห่งกษัตริย์ล้านช้าง (คาดว่าเป็นธิดาของพระไชยเชษฐาธิราช กษัตริย์แห่งหลวงพระบาง) เป็นผู้ร่วมสร้าง “หลวงพ่อพระใส” พร้อมด้วย พระสุกและพระเสริม ขึ้นเป็นพระพุทธรูปประจำตัว เนื่องจากต้องการสืบทอดพระพุทธศาสนาให้คงไว้



พระสุกคือพระประจำพี่ใหญ่ พระเสริมประจำคนกลาง และพระใสประจำองค์เล็ก…

ขณะสร้างพระพุทธรูป 3 องค์ เล่ากันว่ามีอภินิหารน่าอัศจรรย์ใจเกิดขึ้น ชาวบ้านกับวัดต่างช่วยกันสร้างและสูบเตาหลอมทองกันกว่า 7 วัน แต่ไม่เป็นผล ทองไม่ยอมละลาย จนวันที่ 8 อยู่ ๆ ก็มีชีปะขาวจากที่ใดไม่ทราบโผล่มา พร้อมอาสามาช่วยเหลือ 

ชาวบ้านและพระเณรเห็นดังนั้นจึงปล่อยให้หลอมทองไป ส่วนพวกตนก็กลับไปทำหน้าที่อื่น ๆ เวลาผ่านไป ชาวบ้านเห็นกลุ่มชีปะขาวมากมายกำลังแข็งขันกันหลอมทอง แต่พระกลับเห็นชีปะขาวแค่คนเดียว

อย่างไรก็ตาม เมื่อทุกคนกลับมาอีกครั้งก็ไม่เห็นผู้ใด หลงเหลือแค่เพียงทองทั้งหมดถูกเทลงไปในเบ้าหลอมทั้ง 3 เบ้าเรียบร้อยแล้ว

หลังจากเสร็จสิ้นสมบูรณ์ พระสุก พระเสริม พระใส ก็ถูกนำไปประดิษฐานที่เมืองหลวงอาณาจักรล้านช้าง พระพุทธรูปทั้ง 3 องค์ ถือเป็นพระพุทธรูปที่ชาวเมืองรักและหวงแหนมาก เพราะเมื่อใดที่เกิดสงคราม ก็จะถูกย้ายไปไว้ที่ภูเขาควายเพื่อความปลอดภัย และเมื่อสถานการณ์ปกติจึงจะนำกลับมาไว้ที่เดิม

ต่อมาพระสุก พระเสริม พระใส ก็ถูกอัญเชิญมาประดิษฐานที่เวียงจันทน์ แต่ไม่ทราบว่าเมื่อใด

กระทั่งสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) ได้เกิดกบฏเจ้าอนุวงศ์ที่เมืองเวียงจันทน์ขึ้น รัชกาลที่ 3 ทรงส่งสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพเป็นแม่ทัพไปปราบ และเมื่อสงครามสงบลงก็ได้อัญเชิญพระสุก พระเสริม พระใส มาที่ วัดโพธิ์ชัย จ. หนองคาย


แต่บางตำนานก็เล่าว่าพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ทั้ง 3 พระองค์ไม่ได้อัญเชิญมาจากเวียงจันทน์ แต่เป็นที่ภูเขาควาย โดยนำพระพุทธรูปทั้ง 3 องค์ใส่แพไม้ไผ่ล่องมาตามน้ำและเกิดเหตุอัศจรรย์ใจ เพราะพระสุกได้แหกแพลงมา บริเวณนั้นจึงได้ชื่อว่า “เวินแท่น”

อย่างไรก็ตาม ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ขุนวรธานีและเจ้าเหม็นอัญเชิญพระเสริมไปที่กรุงเทพฯ และจะประดิษฐานที่วัดปทุมวนาราม แต่ขุนวรธานีต้องการอัญเชิญพระใสกลับไปด้วย


แต่ด้วยเหตุใดไม่ทราบ เมื่อชักลากพระใสที่ประดิษฐานบนเกวียนผ่านตรงหน้าวัดโพธิ์ชัย เกวียนก็หักโค่นลงมาครั้งแล้วครั้งเล่า ชาวบ้านจึงคาดว่าเป็นเพราะอำนาจอิทธิฤทธิ์ของเหล่าเทวดา พญานาค ที่ยื้อยุดฉุดหลวงพ่อพระใสไว้ เนื่องจากเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของบรรดาผู้มีบุญ 


ปัจจุบัน หลวงพ่อพระใสยังคงประดิษฐานที่ วัดโพธิ์ชัย จ. หนองคาย และมีงานประเพณีสมโภชหลวงพ่อพระใสเป็นประจำทุกปีในวันสงกรานต์ โดยจะอัญเชิญหลวงพ่อพระใสขึ้นราชรถ แห่ตามเมืองเพื่อให้ประชาชนได้สักการะบูชาสรงน้ำ ในแต่ละปีก็จะเกิดปาฏิหาริย์เหตุการณ์ฝนฟ้าครึ้ม มีฝนตกโปรยปรายลงมาเพื่อให้บ้านเมืองชุ่มฉ่ำตลอดวัน 

เป็นภาพเขียนฝาผนังที่ร่วมสมัยใสซื่อและจริงใจมากๆ




กราบหลวงพ่อพระใส เรียบร้อยก็ไปหาร้านอาหารเช้า ได้ร้านเล็กๆเจ้าของทำอาหารเอง ชื่อร้านอิ่มเอม สั่งข้าวต้มกระดูกหมู ไข่กระทะและกาแฟโบราณสูตรเวียงจันทน์ อิ่มหนำสำราญก็เดินทางต่อไปบึงกาฬ
ถึงบึงกาฬใกล้ๆเที่ยงไปหาร้านส้มตำแถวๆริมโขงกินกัน ก็มีร้านหลายร้านแต่ยังไม่เปิดให้มีบริการ ในที่สุดก็ไปลงที่ร้านส้มตำและอาหารตามสั่งชื่อ ร้านต้นกล้าพาแซบ ก็แซบสมชื่อ




หลังอาหารเที่ยงมีเวลาช่วงบ่ายตอนแรก ตั้งใจจะไปเที่ยวชมน้ำตกที่มีหลายที่ในบึงกาฬแต่มาทราบว่าช่วงเดือนนี้ล้วนแต่น้ำแห้ง ไม่สวยงามเลยเลือกที่จะไม่ไปไว้โอกาสหน้าค่อยมาตอนหน้าฝน ตามเส้นทางแหลางท่องเที่ยวของบึงกาฬก็จะมีวัดภูทอก ก็ลองแวะชมเสียหน่อย




วัดภูทอก วัดเจติยาคีรีวิหาร วัดสวย บึงกาฬ เดินริมหน้าผาวัดใจ สู่แดนสวรรค์


เห็นจั่วหัวแบบนี้คิดว่าพวกเราจะขึ้นไหม ไว้โอกาศหน้าแล้วก่อน ค่อยมากับกลุ่มวัยรุ่นหน่อย เห็นว่ามีจุดชมธรรมชาติมากอยู่ ตามคำบอกเล่านี้นี้

“หลังจากไหว้พระด้านล่างเสร็จแล้ว ก็เริ่มเดินขึ้นไปยังยอดภูทอกได้เลย ซึ่งจุดเด่นของภูทอกคือบันไดและสะพานไม้วนแบบ 360 องศา ที่สร้างขึ้นรอบๆเขาหิน โดยมีทั้งหมด 7 ชั้น และใช้เวลาก่อสร้างนานถึง 5 ปีเต็ม โดยไม่ใช้เครื่องจักรกลใดๆเลย สะพานไม้ทั้งหมดเกิดจากฝีมือ และแรงกายแรงใจ รวมถึงภูมิปัญญาของชาวบ้านที่มีความศรัทธาต่อสถานที่แห่งนี้ ใครที่กลัวความสูงเดินขึ้นอาจมีเสียวได้ ชั้นที่ 1 เป็นการเริ่มขึ้นบันไดไม้ โดยจะมีพรรณไม้ต่างๆ หลายสายชนิดให้ชมตลอดทาง
ชั้นที่ 2 เมื่อเดินไปเรื่อยๆ จะเห็นสถานีวิทยุชุมชนของวัดอยู่ด้านขวามือ ซึ่งทัศนียภาพไม่ต่างกับชั้น 1 เท่าไหร่
ชั้นที่ 3 เริ่มมีสะพานเวียนรอบเขา โดยจะมีโขดหิน ลานหิน หน้าผา และไม้ยืนต้นขึ้นกางกิ่งใบให้ร่มเงา
ชั้นที่ 4 จากชั้นนี้มองลงไปข้างล่างจะเห็นเนินเขาเตี้ยๆ สลับกันเรียกว่า “ดงชมพู” ทิศตะวันออกจรดกับ “ภูลังกา” ชั้นนี้จะมีที่พักของแม่ชีด้วย
ชั้นที่ 5 เป็นที่ตั้งศาลาและกุฏิพระภิกษุสงฆ์ ตามทางเดินมีถ้ำตื้นๆ หลายถ้ำ มีที่นั่งพักได้หลายจุด ถือเป็นชั้นที่สำคัญที่สุด
ชั้นที่ 6 จะเป็นสะพานไม้แคบๆ ติดกับหน้าผาสูงชัน โดยมีความยาวทั้งหมด 400 เมตร ถึงจะดูน่ากลัวแต่เป็นจุดชมวิวที่ค่อนข้างสวย
ชั้นที่ 7 เป็นทางค่อนข้างชันและเดินลำบาก รวมถึงมีป่าไม้รกทึบ จึงไม่แนะนำให้เดินเท่าไหร่ เพราะอาจได้รับอันตรายจากสัตว์มีพิษ


คราวนี้ชมด้านล่างไปก่อน  จบจากวัดภูทอกยังมีเวลาเหลือ งั้นลองแวะไปน้ำตกอีกสักที่ เลือกเป็นน่ำตกถ้ำพระเพร่ะคิดว่าถึงจะไม่มีน้ำแต่คงมีถ้ำให้เข้าไปดูอะไรได้บ้าง   วิ่งไป40กิโลกว่า รากฏว่าไปถึงเค้าว่าต้องนั่งเรือไปอีกชั่วโมง อ้าว หมดเวลา  กลับเข้าที่พักสิ  อาบน้ำอาบท่าร่างกายให้เพลซ แล้วออกไปหามื้อเย็นกินกัน ได้ชื่อร้านมาแล้วจากพนักงานโรงแรมว่าร้านนี้อร่อย” ร้านครัวเสวย” 




ร้านครัวเสวย ก็เป็นร้านอยู่ริมถนนเลียบแม่น้ำโขงที่เรามาสำรวจไปแล้วรอบนึงเมื่อตอนกลางวัน  กลับมา อีกทีตอนมื้อค่ำมีแขกเต็มร้าน อาหารอร่อยราคาไม่แพง  แป๊ะซะปลาช่อนก็อร่อยแต่พุงปลาช่อนของชอบของเราหายไปจบวัน



วันที่2หลังกาแฟซองที่โรงแรม    6โมงล้อหมุนไปชมหินสามวาฬ http://www.jungjahut.com/search?q=หินสามวาฬ ที่เราถ่ายรูปสนุกสนานก่อนอาหารเช้า
ลงจากภูสิงห์ก็ไปชมวัดสะดือโขง


Wat Ahong Silawas 
วัดอาฮงศิลาวาส

วัดที่เต็มเป็นด้วยก่อนหินกลมขนาดใหญ่เรียงราย มีเฟิร์นและกล้วยไม้ปกคลุมซึ่งคงจะงดงามมากในหน้าฝน



ตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขง บ้านอาฮง ตำบลไคสี เป็นวัดเก่าแก่ที่ไม่ปรากฏหลักฐานว่าก่อตั้งเมื่อใด สันนิษฐานว่าแต่ก่อนเคยเป็นวัดป่า ปัจจุบันมีการบูรณะสิ่งก่อสร้างภายในวัดขึ้นมาใหม่ บริเวณวัดกว้างขวางและสวยงาม ในพระวิหารประดิษฐานพระพุทธคุวานันท์ศาสดา หล่อด้วยทองเหลือง ลักษณะคล้ายกับพระพุทธชินราช มีความเชื่อกันว่าลำน้ำโขงในบริเวณหน้าพระอุโบสถของวัดเป็นจุดที่ลึกที่สุดในแม่น้ำโขง เรียกว่า “สะดือแม่น้ำโขง” เคยมีการวัดความลึกโดยใช้เชือกผูกกับก้อนหินหย่อนลงไปได้ลึกถึง 200 เมตร ในฤดูน้ำหลาก กระแสน้ำจะไหลวนเป็นรูปกรวยขนาดใหญ่ เมื่อรูปกรวยแตกจะมีเสียงคล้ายกระแสน้ำไหลเซาะโขดหินแล้วค่อย ๆ หายไป เมื่อกระแสน้ำเชี่ยวมาอีกก็จะก่อตัวขึ้นใหม่เกิดสลับกันตลอดทั้งวัน ส่วนหน้าแล้งในเดือนมีนาคม-พฤษภาคม จะมองเห็นเกาะแก่งกลางน้ำชัดเจน แต่ละปีบริเวณนี้มีบั้งไฟพญานาคขึ้นเป็นจำนวนมาก และในบริเวณวัดมีรูปปั้นของเทพธิดาสะดือแม่น้ำโขง ซึ่งชาวบ้านนิยมมาบนบานศาลกล่าวให้ได้โชคลาภและสมหวังในความรัก นอกจากนี้ บริเวณแก่งอาฮงมีโขดหินมากมายและถ้ำใต้น้ำ จึงมีระบบนิเวศอุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งที่มีปลาบึกซึ่งเป็นปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ที่สุดในโลกชุกชุมอีกแห่งหนึ่งของประเทศไทย




มีความเชื่อสืบเนื่องมาถึงปัจจุบันว่า​ พระอุปคุต เป็นพระอรหันต์ที่มีฤทธิ์ทางปราบมาร และบันดาลโชคลาภ​ ได้​ซึ่งชื่อ "อุปคุต" มีความหมายว่า ผู้คุ้มครองรักษา​​ “ตำนานพระอุปคุต” แห่งสะดือแม่น้ำโขง“ความเชื่อโบราณ ผู้เปี่ยมด้วยบุญฤทธิ์ โดยมีพญานิลกาฬนาคราชคอยคุ้มครองปกปักรักษา เชื่อกันว่าวันนี้ท่านจะขึ้นมาจากกลางสะดือทะเล เพื่อรับบิณฑบาตโปรดผู้คนให้ได้สร้างบุญกุศล สร้างบุญให้แก่มนุษย์ในวัน "เพ็งพุธ" เชื่อว่าใครที่ได้บูชาพระอุปคุตแล้ว จะบังเกิดความโชคดี เด่นเรื่องโชคลาภ ความร่ำรวย คุ้มกันภัยอันตราย 


จากที่นี่เราเดินทาง50 กมเพื่อไปพักผ่อนคลายร้อนที่บึงโขงหลง


บึงโขงหลง


เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและแหล่งน้ำจืดขนาดใหญ่ มีลักษณะรูปทรงคล้ายเขาวัวแคบ ๆ มีเนื้อที่ 8,062 ไร่ มีความยาวประมาณ 13 กิโลเมตร และมีความกว้างประมาณ 2 กิโลเมตร น้ำในบึงมีความลึกโดยเฉลี่ยประมาณ 0.1-1 เมตร จุดที่ลึกที่สุดมีความลึกประมาณ 6 เมตร ต้นน้ำของบึงโขงหลง เกิดจากภูวัวและภูลังกาไหลมารวมกันลงสู่แม่น้ำสงคราม และลงสู่แม่น้ำโขงในที่สุด

เมื่อ พ.ศ. 2520 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มีพระราชดำริให้กรมชลประทานพิจารณาโครงการเก็บกักน้ำเพื่อการเกษตรในฤดูแล้ง ซึ่งดำเนินการแล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2523 และได้รับการประกาศเป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงโขงหลง ต่อมา พ.ศ. 2544 บึงโขงหลงได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำระดับนานาชาติ (Wetland of International Importance) อันดับที่ 1,098 ของโลก เนื่องจากมีความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติ เป็นแหล่งอาศัยของสัตว์น้ำและพืชน้ำนานาชนิด พบนกน้ำกว่า 100 ชนิด และนกอพยพมากกว่า 30 ชนิด 

นอกจากนี้ยังพบปลาบู่แคระที่หาดูได้ยาก บริเวณบึงโขงหลงยังมี “หาดคำสมบูรณ์” หาดทรายทอดยาว เป็นจุดพักผ่อนหย่อนใจ มีห่วงยาง เรือถีบ ร้านอาหารให้บริการ และยังสามารถชมวิวทิวทัศน์ของบึงโขงหลง โดยมีภูลังกาตั้งเด่นเป็นฉากหลัง



สำหรับคนบึงกาฬเองชอบที่จะมาพักผ่อน ทานอาหาร ละเล่นน้ำเหมือนคน เมืองหลวงไปเที่ยวบางแสนประมาณนั้น





ทานอาหารเสร็จ เมื่อมาถึงบึงโขงหลงก็ต้องไม่พลาดที่จะไปสักการะหลวงปู่อือลือสักครั้งแต่ไม่ได้ข้ามไปที่เกาะกลางน้ำ 

วันที่3เดินทางกลับหนองคาย
แวะอุดหนุนเชฟชุมชนบ้านเดื่อ



วิถีชีวิตลุ่มน้ำโขงที่ชุมชนบ้านเดื่อ ชุมชนบ้านเดื่อเป็นชุมชนเล็ก ๆ ที่ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขง มีต้นไม้น้อยใหญ่ขึ้นอยู่ริมน้ำ แต่ส่วนมากจะเป็นต้นมะเดื่อ และด้วยสาเหตุนี้เองที่บรรพบุรุษให้ชื่อชุมชนนี้ว่า “ชุมชนบ้านเดื่อ” วิถีชีวิตของชาวชุมชนบ้านเดื่อเป็นวิถีชีวิตลุ่มแม่น้ำโขงที่เงียบสงบและมีวัฒนธรรมและประเพณีอันดีงาม มีกลุ่มอาชีพที่หลากหลาย รวมตัวกันเป็นกลุ่มท่องเที่ยวชุมชนบ้านเดื่อ ที่พร้อมต้อนรับนักท่องเที่ยวด้วยรอยยิ้ม


น้ำมะเดื่อโซดา

เมนูอาหารกูจะมีมะเดื่อมาเกี่ยวของเกือบทุกรายการ

เมี่ยงปลานิลทอด

ตำหลวงพระบาง










วัตถุดิบในการประกอบอาหาร สวนผักและกระชังปลานิลริมแม่น้ำโขง อยู่หลังร้านนี่เองไม่ต้องไปหาไกล


ก่อนเข้าหนองคายแวะที่ท่องเที่ยวมีชื่อของหนองคาย

ศาลาแก้วกู่



ศาลาแก้วกู่ เป็นอุทยานขนาด 42 ไร่ของสำนักปฏิบัติธรรมแก้วกู่ และสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญในชุมชนสามัคคี อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย ที่ประดิษฐานรูปปั้นคอนกรีตเสริมเหล็กขนาดใหญ่จำนวนรวมกว่า 200 องค์ โดยประกอบด้วยพระพุทธรูป พระรูปของพระโพธิสัตว์ เทพเจ้าฮินดูบุคคลในคริสต์ศาสนา ความเชื่อพื้นบ้าน และตัวละครจากรามเกียรติ์ อุทยานแห่งนี้ถูกสร้างขึ้นโดยปู่บุญเหลือ สุรีรัตน์ ภายใต้แนวคิดว่า "ทุกศาสนาสามารถอยู่รวมกันได้" และให้เป็น "สถานที่แทนภาพดินแดนแห่งการหลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวง" ในปี พ.ศ. 2521

พระพุทธรูปปางนาคปรกพระ ระจำวันเสาร์สไตล์แก้วกู่


เย็นเข้าเช็คอินที่พักเรียบร้อยก็ออกไปเดินถนนคนเดินเลียบแม่น้ำ้โขงวันนี้มีตลาดนัดอาหารข้างถนน  ได้เป็นอาหารเย็นสำหรับวันนี้






วันนี้วันที่5 ธันวา นิสิต มหาวิทยาลัยขอนแก่นมาทำกิจกรรมบรรเลงเพลงพระราชนิดนธ์เพื่อรำลึกถึงคนบนสวรรค์


วันที่4 วันนี้จะเดินทางกลับโดยรถไฟเที่ยวคำ่ มีเวลาอีกทั้งวัน ไปเที่ยวไกลๆได้ เราเลือกใช้เส้นทางเลียบแม่น้ำโขง

จุดหมายแรก

วัดหินหมากเป้ง อำเภอศรีเชียงใหม่


หุ่นขี้ผึ้งหลวงปู่เทสก์

วัดหินหมากเป้ง เป็นวัดราษฎร์ สังกัดธรรมยุติกนิกาย ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.2482 โดยพระอาจารย์หล้า ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ.2513 ปัจจุบันเป็นหนึ่งในวัดสำคัญของพระสายวิปัสสนากรรมฐาน ได้รับการพัฒนาขึ้นอย่างมากในสมัยหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี (พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์) ลูกศิษย์รูปหนึ่งของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ที่ได้เข้ามาจำพรรษาอยู่ที่วัดแห่งนี้เมื่อ พ.ศ.2508 และริเริ่มจัดตั้งให้เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมของภิกษุสงฆ์ แม่ชี และผู้แสวงบุญทั้งหลาย คำว่า “หินหมากเป้ง” เป็นชื่อหิน 3 ก้อน ที่ตั้งเรียงรายกันอยู่ริมฝั่งโขงด้านทิศเหนือของวัด ซึ่งมีลักษณะคล้ายลูกตุ้มเครื่องชั่งทองคำสมัยโบราณ คนพื้นถิ่นเรียกว่า “เต็ง” หรือ “เป้งยอย” (หมากเป้งเป็นผลของต้นไม้ตระกูลปาล์มหรือหมากชนิดหนึ่ง) ผู้เฒ่าผู้แก่เล่าว่าหินก้อนที่ 1 เป็นของหลวงพระบาง หินก้อนที่ 2 เป็นของบางกอก ส่วนหินก้อนที่ 3 เป็นของเวียงจันทร์ (หินทั้ง 3 ก้อน จะมองเห็นได้เฉพาะในมุมมองจากแม่น้ำโขง หรือมุมมองจากฝั่งลาว)




พื้นกระจกเหนือหินหมากเป้งก้อนที่1

















จุดหมายที่ 2


วัดผาตากเสื้อ

หนองคาย


วัดผาตากเสื้อ เป็นวัดที่มีทิวทัศน์สวยงามมาก มองจากบนผาลงมามองเห็นความเป็นอยู่ของชาวไทย-ลาว ภายในวัดมีธรรมชาติที่สมบูรณ์สามารถเดินเลาะตามหน้าผาเพื่อชมธรรมชาติและทิวทัศน์ที่สวยงามได้

วัดผาตากเสื้อ เป็นวัดที่มีทิวทัศน์แม่น้ำโขงที่สวยงามมาก มองจากบนผาลงมามองเห็นความเป็นอยู่ของชาวไทย-ลาว ภายในวัดมีธรรมชาติที่สมบูรณ์ สามารถเดินเลาะตามหน้าผาเพื่อชมธรรมชาติและทิวทัศน์ที่สวยงามได้ หากไปช่วงหน้าหนาวที่ผาแห่งนี้เป็นอีกจุดหนึ่งมีทะเลหมอก เป็นวัดเหมาะสำหรับปฏิบัติธรรม เพราะว่าเป็นวัดที่ร่มรื่นและมีความเงียบสงบ สำหรับประวัติความเป็นเล่าว่ามีพระรูปหนึ่งท่านเป็นลูกศิษย์ของหลวงปู่เหรียญซึ่งท่านได้ห้ามไว้ ชื่อ "พระอาจารย์ สมเดช" แต่ด้วยความตั้งใจท่านได้ขึ้นไป

บำเพ็ญเพียรที่บริเวณที่ตั้งวัดปัจจุบันจนได้ ท่านใช้บริเวณบนยอดภูเป็นหลักในการเข้าสู่ถาวะสงบทางใจ เวลาท่านขึ้นไปยอดภูจึงต้องได้ปีนจากด้านล่าง ทั้งใช้หินและเถาวัลย์ในการช่วยพาขึ้นไป หลายครั้งที่ท่านรับอาหารบิณฑบาตแล้วแต่เมื่อเดินทางกลับท่านตกลงมาทำให้ข้าวในบาตรตกออกไป บางครั้งก็มีอาการเจ็บป่วยบ่อยครั้ง พอระยะเวลานานเข้าได้มีญาติโยมคณะผู้มีจิตศรัทธาอาสาช่วยสร้างทางขึ้น และได้ก่อสร้างมาเป็นวัดที่มีพระอุโบสถและบันไดพญานาคที่สวยงามยิ่ง ปัจจุบันนักท่องเที่ยวนิยมมาเที่ยวชมทิวทัศน์สองฝั่งโขงจากจุดชมวิวสกายวอร์ก วัดผาตากเสื้อเป็นอย่างมาก










จุดหมายที่ 3

วัดป่าภูก้อน

อุดรธานี


วัดป่าภูก้อน เป็นพุทธอุทยานมหารุกขปาริชาติภูก้อน ภายในวัดมีพระบรมสารีริกธาตุ บรรจุในพระเกศพระร่วงโรจน์ศรีบูรพา ซึ่งเป็นประธานประดิษฐานหน้าองค์พระปฐมรัตนบูรพาจารย์มหาเจดีย์ ซึ่งเป็นวัดที่มีความสวยงามมากของจังหวัดอุดรธานี

ประวัติความเป็นมา
ตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่านายูงและป่าน้ำโสม ท้องที่บ้านนาคำใหญ่ ตำบลบ้านก้อง อันเป็นรอยต่อแผ่นดิน 3 จังหวัด คือ อุดรธานี เลย และหนองคาย กำเนิดขึ้นจากการดำริชอบของพุทธบริษัทผู้ตระหนักถึงคุณประโยชน์อันยิ่งใหญ่ของธรรมชาติและป่าต้นน้ำลำธาร ซึ่งกำลังถูกทำลาย โดยมุ่งดำเนินรอยตามพระยุคลบาทพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชในการรักษาความสมบูรณ์ของป่าไม้ต้นน้ำลำธารตลอดจนสัตว์ป่า และพรรณไม้นานาพันธุ์ เพื่อให้เป็นมรดกของลูกหลานไทยคู่กับแผ่นดินไทยพร้อมทั้งเพื่อจรรโลงส่งเสริมพระบวรพุทธศาสนาให่เจริญมั่นคงคู่แผ่นดินไทยตราบชั่วกาลนาน
 
ลักษณะเด่น
พระวิหารที่สวยงามของวัดป่าภูก้อน ได้รับออกแบบวิศวกรรมโครงสร้าง องค์พระพุทธรูปหินอ่อน พระวิหาร ศาลาราย และอาคารรอบลานเขา โดยพระวิหารมีลักษณะเป็นสถาปัตยกรรมไทยประยุกต์สมัยรัตนโกสินทร์ มีประตูทางเข้าออกวิหาร 3 ด้าน ภายในถูกตกแต่งอย่างวิจิตรตระการตา แฝงไปด้วยเรื่องราวคำสอนของพระพุทธเจ้า รอบผนังภายในวิหารตกแต่งอย่างสวยงามด้วย ภาพพุทธประวัติและภาพทศชาติ ตกแต่งเป็นภาพปั้นนูนต่ำหล่อด้วยทองแดงจำนวน 22 ช่อง ซึ่งเป็นภาพของพระพุทธเจ้าในองค์ชาติต่างๆ 10 ชาติ เป็นการสื่อความหมายถึงการสั่งสมบารมีด้วยความพรากเพียร และความเสียสละของพระองค์ในทุกๆชาติ โดยด้านบนของทุกภาพ แกะสลักบทสวดอิติปิโสช่องละท่อนด้วยสีเขียวเข้มบนหินอ่อนขาวถือเป็นผนังพระวิหารที่มีเสน่ห์และเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร







ภายในวัดมีพระบรมสารีริกธาตุบรรจุ ในพระเกศพระร่วงโรจน์ศรีบูรพา ซึ่งเป็นประธานประดิษฐานหน้าองค์พระปฐมรัตนบูรพาจารย์มหาเจดีย์ มีพระพุทธไสยาสน์โลกนาถศาสดามหามุนี พระพุทธไสยาสน์หินอ่อนสีขาว ความยาว 20 เมตร สร้างด้วยหินอ่อนจากประเทศอิตาลี ที่นำมาเรียงซ้อนกันถึง 42 ก้อน ซึ่งเป็นหินขาวอ่อนที่มีความสวยงามและทนทานมากที่สุด ใช้ระยะเวลาในการสร้างถึง 6 ปี สร้างขึ้นเนื่องในโอกาสมหามงคลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 7 รอบ 84 พรรษา ในปี 2554 คณะพุทธบริษัทวัดป่าภูก้อนสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่าน จึงมีการจัดสร้างพระพุทธไสยาสน์องค์นี้ขึ้น ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เป็นเอกลักษณ์ทางพุทธศิลป์แห่งรัชกาลที่ 9









นอกจากพระวิหารและพระพุทธไสยาสน์โลกนาถศาสดามหามุนีที่เป็นจุดเด่นของวัดป่าภูก้อนแล้ว ยังมี พระปฐมรัตนบูรพาจารย์มหาเจดีย์ ที่อยู่ในอาณาบริเวณเดียวกันถัดมาทางด้านล่างก็มีความน่าสนใจไม่แพ้กัน เพราะเป็นสถานที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ และรูปปั้นหินอ่อนของเหล่าเกจิอาจารย์ชื่อดังของประเทศไทย ซึ่งมีศิษยานุศิษย์อยู่มากมาย โดยนักท่องเที่ยวจะต้องเดินทางขึ้นบันไดยาวเพื่อเข้ามายังเจดีย์เพื่อเข้าไปสักการบูชา แม้จะสร้างขึ้นได้ไม่นานแต่ที่นี่ถูกยกให้เป็นศูนย์รวมจิตใจของพุทธศาสนิกชนชาวอีสานอีกหนึ่งแห่ง



จุดหมายสุดท้าย
อำลาหนองคาย

พระธาตุหนองคาย หรือพระธาตุกลางน้ำ



เป็นพระธาตุที่หักพังอยู่กลางลำน้ำโขง เป็นที่ประดิษฐานพระบรมธาตุฝ่าพระบาทเก้าพระองค์ตามตำนานอุรังคธาตุ (พระ
พนม) จากการสำรวจใต้น้ำของหน่วยโบราณคดีภาค 7 พบว่าองค์พระธาตุมีฐานกว้างด้านละ 17.2 เมตร




พระธาตุองค์นี้คือ พระธาตุเมืองลาหนองคาย บ้างเรียกพระธาตุหล้าหนอง พระธาตุที่มีความเก่าแก่องค์หนึ่งในภาคอีสาน เพราะปรากฏร่องรอยอยู่ในตำนานอุรังคธาตุ ตำนานโบราณพื้นถิ่นสองฝั่งโขง

ตำนานอุรังคธาตุ กล่าวถึงสถานที่แห่งนี้ว่าเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ส่วนของฝ่าพระบาทเบื้องขวา (ฝ่าเท้าข้างขวา) จำนวน 9 องค์ ที่พระอรหันต์สังขวิชาเถระอัญเชิญมาจากอินเดีย ดังที่ ตำนานอุรังคธาตุ บันทึกไว้ว่า


“…ส่วนมหาสังขวิชเถระนั้นนำเอาพระบรมธาตุ 9 องค์ประดิษฐานที่เมืองลาหนองคาย น้าเลี้ยงพ่อนมพร้อมด้วยชาวเมืองสร้างอุโมงค์สำหรับประดิษฐานพระบรมธาตุนั้นใต้พื้นแผ่นดิน ขนาดกว้างด้านละ 2 วา 2 ศอก สูง 3 วา แล้วไปด้วยซะทายลายจีน จึงเอาแผ่นเงินอันบริสุทธิ์รองพื้น แล้วนำเอาพระบรมธาตุเข้าในผอบทองคำ นำไปประดิษฐานไว้ในอุโมงค์นั้น…”

ต่อมา ในสมัยสมเด็จพระไชยเชษฐาธิราช กษัตริย์ล้านช้าง ที่ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 2091-2114 โปรดให้สร้างเจดีย์ครอบพระบรมสารีริกธาตุ พระธาตุเมืองลาหนองคายจึงน่าจะก่อสร้างครั้งแรกในปลายพุทธศตวรรษที่ 21

 จนกระทั่งแม่น้ำโขงกัดเซาะตลิ่งทำให้พระธาตุเมืองลาหนองคายจมลงในแม่น้ำเมื่อ พ.ศ. 2390 ดังที่พงศาวดารย่อเมืองเวียงจันทน์ ระบุว่า “…ศักราชได้ 209 ปีเมิงมด (มะแม)…เดือน 9 ขึ้น 9 ค่ำ วันศุกร์ยามแลใกล้ต่ำมื่อฮับไค้ พระธาตุใหญ่หนองคายเพ (พัง) ลงน้ำของ มื่อนั้นแล







นมัสการ


กางเตนท์ท้าลมหนาวใต้ต้นพญาเสือโคร่ง

  มกราคม 2568 ทริปนี้ตั้งใจมาลองไปนอนกางเตนท์บนดอยที่เชียงใหม่  จองพื้นที่กางเตนท์ในเวปของอุทยานไว้กันเหนียว เค้าคิดค่าบริการ 30 บาทต่อคน/คื...