วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567

ทุ่งดอกหญ้าที่ผาหลวง






วนอุทยานน้ำตกผาหลวง อ.ศรีเมืองใหม่ จังหวัดอุบลราชธานี (ชื่อเดิมคือน้ำตกผาแซ)


เมื่อมีข่าวดอกไม้บานบนลานหินที่ผาหลวงเราก็จัดแจงจองที่พักที่วนอุทยานเลือกวันที่เป็นวันธรรมดาก็มีบ้านพักว่างถึงแม้ว่าที่นี่จะมีแค่2 หลังเราขับรถจากกทม.แต่เข้า พักในตัวเมืองอุบลมาหนึ่งคืน เช้ามืดแวะไหว้พระชมความงามของวัดประจำจังหวัดในเมืองตามธรรมเนียมแล้ว จึงเดินทางต่อไปวนอุทยานแค่ ชม กว่า ๆ ก็ถึงเป้าหมาย ก็เตรียมตัวขึ้นชมทุ่งดอกไม้กันเลยทีเดียว ตอนแรกตั่งใจจะเดินขึ้นแต่บังเอิญมีสูงวัยต่างชาติชาวออสเตรเลียและภรรยาคนไทย ซึ่งขึ้นไปชมที่ทุ่งเล็กมาแล้วแต่ยังอยากไปชมที่ทุ่งใหญ่แต่เดินไม่ไหวจึงติดต่อให้เจ้าหน้าที่นำรถขึ้นไปชมเลยชวนพวกเราไปด้วยจะได้แชร์ค่ารถกัน เรา2คน ก็โอเค ก่อนจะขึ้นมี สูงวัย ชื่อพี่น้อยมาขอแจมด้วยเลยกลายเป็น5 คน แต่นั่งในแคปได้แค่4 คน สุภาพบุรุษอายุน้อยอย่างเราเลยต้องขึ้นกระบะไป ก็โขยกโยกแยกกระเด็นกระดอนพอประมาณ แต่เมื่อมาถึงเป้าหมายก็หายเหนื่อย

เจ้าหนี้จอดรถที่ลานหินและเราต้องเดินไปประมาณ 200 เมตรก็จะเข้าสู่ทุ่งดอกหญ้าทีละลานตา


เข้าในทุ่งดอกไม้ทุกคนต่างแยกย้ายกันหามุมที่ตัวเองรักเพื่อเก็บภาพความงามของดอกไม้เล็กๆเหล่านี้ซึ่งมีที่ชื่อหลักๆอยู่5 ชนิด





ในทุ่งแห่งนี้จะมีทางเดินเล็กๆซอกแซกเข้าไปในทุ่งดอกไม้เพื่อชมดอกชนิดต่างๆที่ถึงแม้จะมีคละสายพันธุ์ทั่วทั้งท้องทุ่งแต่ก็มีที่รวมก็นชนิดเดียวกันเป็นหย่อมใหญ่ๆให้เราได้ชื่นชมแบบแยกสีสรรได้











ชายทุ่งด้านขวามือจะมีลำธารเล็กๆซึ่งก็ไม่แน่ใจว่าบนยอดเขาแบบนี้มีต้นน้ำมาจากที่ใด แต่ก็ทำให้ทุ่งแห่งนี้มีชีวิตชีวาขึ้นอีกนิด





บนผาหลวงจะเป็นที่ราบแบบหลังแปแต่พื้นส่วนใหญ่จะเป็นลานหิน มีแค่บางส่วนที่เป็นร่องทางเดินมีทรายละเอียดสีขาวคล้ายที่ภูกระดึง แต่มีไม่กี่ช่วงจึงให้การเดินทางจะทุลักทุเลหน่อยแม้กระทั่งจะใช้รถ4x4 ก็ตาม




มีจุดชมวิวอีกทีบนนี้ เรียกว่าหม้อหิน เป็นหน้าผายื่นออกไปและมีลมแรงทำให้เสียวสันหลังนิดหน่อย เป็นจุดชมวิวตัวหมู่บ้านด้านล่าง  เราเชคอินกันพอสังเขปได้เวลาอาหารกลางวันก็เดินทางกลับที่ทำการ


หม้อหินผาหลวง
 เป็นลักษณะก้อนหินขนาดใหญ่บนลานหินกว้าง มีลักษณะคล้ายหม้อข้าวใหญ่ ตั้งตระหง่านอยู่ริมผา บนยอดตัดมี เฉลียงมีธงชาติไทยปักอยู่ และเป็นจุดที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 300 เมตร สามารถมองเห็นทิวทัศน์โดยรอบ 360 องศา







ช่วงบ่ายหลังทานก๊วยเตี๋ยวที่ร้านตรงปากทางเข้าที่ทำการ เราก็เข้าเช็คอินบ้านพัก เก็บสัมภาระเรียบร้อยก็กลับขึ้นไปหลังแปอีกครั้งแต่คราวนี้ใช้เส้นทางเดินเท้าจากที่ทำการผ่านทางเข้าน้ำตกลัดเลาะไปตามหน้าผาสักพักก็ขึ้นถึงหลังแป ซึ่งจะมีจุดเชคอิน2,3 จุด รวมถึงเส้นทางที่จะเดินไปทุ่งดอกไม้ที่เราไปมาแล้วเมื่อเช้าแต่เส้นทางนี้เป็นเส้นทางสำหรับนักท่องเที่ยวทั่วไปที่ยังมีกำลังวังชาดีๆอยู่ถึงจะฝ่าความร้อนของแดดแผดเผาไปถึงได้  แต่ถ้าใครไม่มีความมัมานะพอก็จะมีทุ่งเล็กๆ อยู่หลังน้ำตกให้ชมความงามได้ตามสมควรแก่อัตภาพ รวมถึงมีอ่วจากุซซี่ธรรมชาติให้นั่งแช่เย็นชุ่มฉ่ำปอดได้ด้วย

ท้องทุ่งยามแสงแดดอัสดง




รอบๆอ่างน้ำมีธรรมชาติให้ชื่นชมนอกเหนือจากทุ่งหญ้าอีกเล็กน้อย
แมลงปอเข็มมรกต

แมลงปอเข็มยาวเทียมเข่าดำ

แมลงปอบ้านไร่ปีกทองเปื้อนสวยงาม


แววมยุรามีให้เห็นประปราย



ดอกขี้อ้น พบเห็นได้ตลอกเส้นทาง มีทั้งเก็นกอเดี่ยว และรวมอยู่เป็นดงใหญ่ๆ

จบวัน



เช้ามืดวันที่2 เรานั่งรถขึ้นไปที่ทังใหญ่อีกครั้งเพื่อเก็บภาพบบรยากาสทุ่งทอแสงเช้า



มีนัท่องเที่ยวขับโฟวีลขึ้นมากางเตนท์นอนริมทุ่ง เลยโดนเจ้าหน้าที่ดุนิดหน่อยเพราะปกติลานกางเตนท์จะจัดไว้อีกที่



เป้าหมายแรกของเราคือไปเก็บภาพริมลำธารและทำความรู้จักกับชื่อชนิดของดอกไม้เหล่านี้ให้มากขึ้น




หญ้าขนตาวัว
เป็นไม้ล้มลุกหลายปีในสกุล Eremochloa วงศ์หญ้า(Poaceae) สูง 30–70 เซนติเมตร ขึ้นเป็นกอตั้งตรง มีเขตการกระจายพันธุ์ในจีน พม่า ภูมิภาคอินโดจีน มาเลเซียสิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ นิวกินี และภาคเหนือของออสเตรเลียในประเทศไทยพบทั่วทุกภาค


หญ้าขนตาวัวมีใบเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปแถบ กว้าง 2–6 มิลลิเมตร ยาว 10–25 เซนติเมตร ปลายแหลม ขอบเรียบ แผ่นใบด้านบนมีขน ด้านล่างมีขนชนิดโคนเป็นปุ่ม กาบใบยาว 3.5–7 เซนติเมตร ด้านนอกมีขนแข็ง กาบบริเวณโคนต้นเรียงแผ่ออกคล้ายพัด ลิ้นใบยาวไม่ถึง 1 มิลลิเมตร ปลายเป็นขน

ช่อดอกแบบช่อกระจะคล้ายช่อเชิงลด ออกที่ปลายกิ่ง ยาว 4–7 เซนติเมตรหรือมากกว่า ช่อดอกย่อยออกเป็นคู่มีก้านและไร้ก้าน เรียงด้านเดียวบนแกนกลางช่อดอกซึ่งเป็นข้อ ๆ ข้อรูปคล้ายกระบอง ยาวประมาณ 2 มิลลิเมตร ช่อดอกย่อยที่มีก้าน ไม่เจริญ มีเพียงแต่ก้านยาวประมาณ 3 มิลลิเมตร ปลายแหลม สีม่วง ช่อดอกย่อยที่ไร้ก้าน รูปไข่ ยาวประมาณ 4 มิลลิเมตร เรียงซ้อนเหลื่อมกัน กาบล่างรูปไข่กว้างประมาณ 2 มิลลิเมตร ยาวประมาร 4 มิลลิเมตร ปลายแหลม ขอบมีขนแข็งโคนแบนเรียงเหมือนขนตาหรือซี่หวี ยาว 1–5 มิลลิเมตร เส้นที่ยาวที่สุดยาวกว่าความกว้างของกาบ








ดุสิตา
(ชื่อวิทยาศาสตร์: Utricularia delphinioides) 
เป็นพืชกินแมลงในวงศ์สร้อยสุวรรณา (Lentibulariaceae) กระจายพันธุ์ในอินเดีย, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และออสเตรเลีย  ไม้ล้มลุก เจริญเพียงฤดูเดียว มีไหลเป็นเส้นฝอยขนาดเล็กคล้ายราก อวัยวะจับแมลงเป็นกระเปาะกลมเล็ก ออกตามข้อของไหล ช่อดอก เป็นช่อเดี่ยว ไม่แตกแขนง ตั้งตรง ยาว 20-35 เซนติเมตร ดอกจำนวนมาก ออกชิดกันแน่นที่ส่วนบนของช่อดอก ก้านดอกย่อย ยาว 3-8 มิลลิเมตร กลีบเลี้ยง 2 กลีบ โคนเชื่อมกันเล็กน้อย กลีบดอกติดกันเป็นรูปปากเปิด สีม่วงเข้ม กลีบบนกลม กลีบล่างกลม ปลายกลีบเว้า โคนกลีบเป็นถุงนูนกลม ตรงกลางสีม่วงอ่อนหรือขาวอมม่วง มีจงอยปลายแหลมโค้งไปด้านหน้าเล็กน้อย ผลรี ผิวเรียบ

Utricularia delphinioides is a small to medium-sized, probably perennial, carnivorous plant that belongs to the genus Utricularia. It is endemic to Indochina and can be found in Cambodia, Laos, Thailand, and Vietnam.






สรัสจันทร 

(Burmannia coelestis D.Don )

เป็นดอกไม้ที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระราชทานชื่อไว้ อยู่ในวงศ์ BURMANNACEAE เป็นไม้ล้มลุกขนาดเล็ก สูง 10-30 ซม. ลำต้นเล็ก เรียว ดอกสีชมพูจนถึงสีม่วงอ่อนอมฟ้า ส่วนปลายมีสีเหลืองหรือสีครีมออกเป็นช่อกระจุกที่ปลายยอด ผลเป็นผลแห้งไม่แตกเมื่อแก่ พบตามบริเวณทุ่งหญ้าเปิด ริมหนองน้ำและบริเวณพื้นที่ชุ่มน้ำ


Burmannia coelestis is a partially mycoheterotrophic species of plant in the genus Burmannia. It is widespread, occurring in South to Southeast AsiaNew GuineaAustralia, and in Micronesia. It is usually found in wet places, such as in marshesswamps, and around the edges of pools.







ทิพเกสร
 Utricularia ramosissima  

เป็นพืชกินแมลงขนาดเล็กชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในวงศ์ Lentibulariaceae 
“ทิพเกสร”เป็นนามพระราชทานจากสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ โดยมีชื่อดั้งเดิมว่า "หญ้าสีฝอยเล็ก"


มีความสูง 10-30 เซนติเมตร ลำต้นเล็กมากอยู่ใต้ดิน ใบเป็นใบเลี้ยงเดี่ยว และมีใบที่เปลี่ยนเป็นถุงสำหรับดักจับแมลงขนาดเล็กเป็นอาหาร ดอกสีม่วงอ่อนแกมชมพู ออกเป็นช่อตั้งสูงประมาณ 5-20 เซนติเมตร มีดอกย่อย 3-10 ดอก ออกเรียงสลับ ขนาดประมาณ 6-10 มิลลิเมตร กลีบดอกล่างแผ่แยกออกเป็น 2 ปาก ผลเป็นผลแห้งชนิดแตกเมื่อแก่


Utricularia geoffrayi is a small, probably perennial, terrestrial carnivorous plant in the family Lentibulariaceae. It is native to Australia, Cambodia, Laos, Thailand and Vietnam.[1] It was originally published and described by François Pellegrin in 1920. It grows as a terrestrial plant among short grasses in or around rice fields at altitudes from sea level to 1,300 m (4,265 ft). It has been collected in flower between September and December.


Utricularia ramosissima from Ubon Ratchathani Province in northeastern Thailand was described as a separate species.It is regarded as a synonym of U. geoffrayi.


หญ้าหมู่ดาว
 (Hedyotis sp.)
 พืชล้มลุก สูง 10-35 ซม.ใบรูปรีเล็ก ดอกเป็นช่อโปร่งกลิ่นหอม ดอกย่อยเยอะมาก กลีบเลี้ยงสีเขียวอ่อน กลีบดอกสีม่วงอ่อน โคนกลีบเชื่อมติดกับเป็นรูปกรวย ปลายแยก 4 แฉก ออกดอกปลายฝนต้นหนาว ผลแห้งเมล็ดเล็กมาก เติบโตเร็ว ชอบแดด พบตามทุ่งหญ้าภูเขาทางอิสาน


Hedyotis
 (starviolet) is a genus of flowering plants in the family Rubiaceae. Many species of this genus such as Hedyotis biflora, H. corymbosa and H. diffusa are well known medicinal plants. Hedyotis is native to tropical and subtropical Asia and to islands of the northwest Pacific. It comprises about 115 species. The type speciesfor the genus is Hedyotis fruticosa.






หญ้าเข็ม 
 ยังไม่มีชื่อ จะเรียกเข็มเหลืองก็ไม่ได้เพราะชนิดนี้มี แบบสีม่วงด้วย

ชื่อวิทยาศาสตร์: Utricularia coerulea L.วงศ์: Lentibulariaceae
พืชล้มลุก /วัชพืช ความสูง: 5-40 เซนติเมตร ลำต้นและใบลดรูปเป็นเส้นขนาดเล็กๆ และมีถุงดักแมลงขนาดจิ๋ว ดอกมีก้านช่อดอกยาวเรียว ตั้งตรงขึ้น  ดอกย่อยเรียงสลับอยู่ที่ปลายก้านช่อ กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันคล้ายถ้วยเล็กๆ สีครีมปนแดงเรื่อ กลีบดอก 5 กลีบเชื่อมติดกัน รูปร่างคล้ายรองเท้า ปลายแหลม มีจะงอยด้านล่างยื่นยาวออกมา ปลายแหลมและโค้งเล็กน้อย ดอกขนาด 0.3-1 เซนติเมตร ออกดอกเดือนตุลาคม-ธันวาคม




Utricularia caerulea
, the blue bladderwort,is a very small to medium-sized carnivorous plant that belongs to the genus UtriculariaU. caerulea spans a wide native range, including areas in tropical AfricaAsia, and Australia. It grows as a terrestrial plant in wet, shallow soils over rock, in wet grasslands, in swamps, or near streams in open communities, mostly at lower altitudes but ascending to as much as 2,100 m (6,890 ft). It was originally described and published by Carl Linnaeus in 1753.





สร้อยสุวรรณา 
ชื่อวิทยาศาสตร์: Utricularia bifida
 เป็นพืชกินแมลงในวงศ์ Lentibulariaceae เป็นไม้ล้มลุกปีเดียวขนาดเล็ก มีไหลเป็นเส้นขนาดเล็ก มีใบหลายใบออกจากไหล รูปแถบ ยาวได้ประมาณ 2 ซม. มีกับดักแมลงขนาดเล็ก เป็นกะเปาะกลม ติดบนไหลและใบ ยาวประมาณ 0.1 ซม. ช่อดอกออกเดี่ยว ๆ แบบช่อกระจะ ตั้งตรง เกลี้ยง สูงประมาณ 60 ซม. เกล็ดและใบประดับมีลักษณะคล้ายกัน ในแต่ละช่อมี 1-10 ดอก ก้านดอกยาว 0.2-0.5 ซม. มีปีกแคบ ๆ กลีบเลี้ยง 2 กลีบ รูปไข่ ยาว 0.2-0.7 ซม. กลีบดอกสีเหลือง รูปปากเปิด ยาว 0.6-1 ซม. กลีบล่างมีเดือยรูปลิ่ม เกสรเพศผู้ 2 อัน ติดที่โคนกลีบดอกกลีบบน ก้านเกสรยาวประมาณ 0.1 ซม. รังไข่รูปรี ก้านเกสรเพศเมียสั้น ผลแบบแคปซูล รูปรี ยาวประมาณ 0.3 ซม. เมล็ดขนาดเล็กจำนวนมาก



Utricularia bifida is a small annual carnivorous plant that belongs to the genusUtricularia. It is native to Asia and Oceania and can be found in AustraliaBangladeshBurmaCambodiaChinaGuamIndiaIndonesiaJapanKoreaLaosMalaysiaNepalNew GuineaPalau, the PhilippinesSri LankaThailand, and VietnamU. bifida grows as a terrestrial plant in damp soils and in rice fields. It was originally described and published by Carl Linnaeus in 1753.







มณีเทวา: Mani thewa.
 ชื่อวิทยาศาสตร์ : Eriocaulon smitinandii Moldenke 
วงศ์ : Eriocaulaceae ชื่อสามัญ : - ชื่ออื่น : กระดุมนายเต็ม 



ไม้ล้มลุก ลักษณะคล้ายหญ้า ...
มณีเทวา เป็นดอกไม้ที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระราชทานชื่อไว้ อเป็นไม้ล้มลุกลักษณะเป็นกอขนาดเล็กคล้ายหญ้า สูง 2-6 ซม. ดอกสีขาวออกเป็นช่อ ตั้งจากโคนกอสูง 5-15 ซม. ลักษณะเป็นก้อนกลมที่ปลายยอด ผลเป็นผลแห้ง ชนิดเมื่อแก่แล้วไม่แตก ขึ้นตามพื้นที่โล่งชุ่มชื้นหรือชายป่าโปร่ง ในภาคตะวันออกและตะวันออเฉียงเหนือของประเทศไทย
.
 

พืชถิ่นเดียวของไทย พบเฉพาะทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงใต้ ขึ้นตามลานหินทรายที่ชื้นแฉะ ความสูง 100–200 เมตร





จอกบ่วาย
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Drosera burmannii Vahl.
ชื่ออื่น ๆ หญ้าน้ำค้าง, หญ้าน้ำหมาก, หมอกบ่วาย, หยดน้ำค้าง ชื่อวงศ์ : DROSERACEAE  




จอกบ่วาย หรือ หมอกบ่วาย เป็นพืชกินสัตว์ขนาดเล็กอยู่ในสกุลหยาดน้ำค้างเป็นพืชฤดูเดียว มีลักษณะลำต้นแนบไปกับพื้น ใบเป็นแผ่นมนรี ค่อนข้างหนา ลักษณะคล้ายช้อน เรียงกันเป็นรูปวงกลม เส้นผ่าศูนย์กลาง 1.5 ถึง 3 ซม. มีขน จอกบ่วายเป็นหยาดน้ำค้างที่มีกับดักแบบเร็ว เมื่อดักจับแมลงได้ใบจะโอบล้อมแมลงในสองสามวินาที ขณะที่ชนิดอื่นใช้เวลาเป็นนาทีหรือชั่วโมง




Drosera burmanni, the tropical sundew,is a small, compact species in the carnivorous plant genus Drosera. Its natural geographical range includes the tropical and subtropical regions of Asia (India, Taiwan, Southeast Asia, and China's Guangxi, Guangdong, Yunnan, and Fujian provinces) and Australia.It normally spans only 2 cm (0.8 in) in diameter. It is one of the fastest trapping sundews as well, and its leaves can curl around an insect in only a few seconds, compared to the minutes or hours it takes other sundews to surround their prey. In nature, D. burmanni is an annual, but in cultivation, when grown indoors during the cold months, it can live for many years. Since D. burmanni is an annual, it produces large amounts of seed.Drosera burmanni has been considered a powerful rubefacient in Ayurved




หยาดน้ำค้าง
Drosera capensis L.

ภาพโดยพี่น้อย น้ำค้าง

commonly known as the Cape sundew,is a small rosette-forming carnivorous species of perennial[3] sundew native to the Cape in South Africa. Because of its size, easy-to-grow nature, and the copious amounts of seed it produces, it has become one of the most common sundews in cultivation, and thus, one of the most frequently introduced and naturalised invasive Drosera species.


หยาดน้ำค้าง (อังกฤษSundew) เป็นพืชกินสัตว์สกุลใหญ่สกุลหนึ่ง ในวงศ์หญ้าน้ำค้าง มีประมาณ 194 ชนิด สามารถล่อ จับ และย่อยแมลงด้วยต่อมเมือกของมันที่ปกคลุมอยู่ที่ผิวใบ โดยเหยื่อที่จับได้จะใช้เป็นสารเสริมทดแทนสารอาหารที่ขาดไป พืชในสกุลหยาดน้ำค้างมีหลายรูปแบบและหลายขนาดต่างกันไปในแต่ละชนิด สามารถพบได้แทบทุกทวีปทั่วโลก ยกเว้นทวีปแอนตาร์กติกา



เอนอ้าน้อย 
Osbeckia chinensis L. 



ไม้ล้มลุก อาจสูงได้ถึง 1.5 ม. ลำต้นส่วนมากเกลี้ยง ใบรูปขอบขนาน รูปใบหอก หรือรูปแถบ ยาว 3–7 ซม. ก้านใบสั้น ปลายแหลม โคนกลม เส้นโคนใบข้างละ 1–3 เส้น แผ่นใบมีขนสั้นนุ่มหนาแน่นทั้งสองด้าน ดอกออกเป็นกระจุก มี 1–3 ดอก หรืออาจมีได้ถึง 10 ดอก กลีบดอกและกลีบเลี้ยงจำนวนอย่างละ 4 กลีบ ฐานดอกยาว 3–7 มม. เกลี้ยงหรือมีขนประปราย หรือมีขนแข็งระหว่างกลีบเลี้ยง กลีบเลี้ยงรูปสามเหลี่ยม ปลายแหลมยาว ยาว 6–7 มม. กลีบดอกยาว 1.2–1.7 ซม. เกสรเพศผู้ 8 อัน อับเรณูยาว 4–7 มม. ปลายมีจะงอยสั้น ๆ รังไข่ยาวเท่า ๆ หรือสั้นกว่าฐานดอก ปลายมีขนแข็ง ผลรูประฆังหรือรูปคนโท ยาว 3–8 มม.


 




Herbs
 or shrubs, 20-100 cm tall, erect. Stems 4-sided, appressed strigose. Petiole very short or up to 1 cm, strigose; leaf blade linear, linear-lanceolate, oblong-ovate, elliptic-ovate, or sometimes ovate-lanceolate, 2-5(-9) × 0.3-1(-3.2) cm, stiffly papery, both surfaces strigose, secondary veins 1 or 2 on each side of midvein, tertiary veins inconspicuous, base obtuse, subrounded, rounded, or subcordate, margin entire, apex acute. Inflorescences terminal, capitate, 2-8-flowered, with 2-6 bracteal leaves at base; bracts sessile, ovate, pubescent or adaxially glabrous. Hypanthium usually pink, 6-6.5 mm, glabrous or 1-5 setose tuberculate. Calyx lobes 4(or 5), triangular-lanceolate, margin ciliate, setose between lobes. Petals 4 or 5, pink to pale purple, obovate, 1-1.5 × ca. 1.3 cm, margin ciliate, apex apiculate or rounded. Stamens 8 or 10, inclined to one side; filaments as long as anthers; anthers narrowly lanceolate, beaked; connective bases slightly inflated. Ovary subglobose, 4- or 5-celled, apex densely setose or strigose. Capsule purplish red, ovoid-globose, ca. 6 × 4 mm, glabrous or setiform tuberculate.




พุดทุ่ง

ชื่อวิทยาศาสตร์: Holarrhena densiflora Rid


พุดทุ่ง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Holarrhena densiflora Ridl.; อังกฤษHolarrhena curtisii King & Gamble) หรืออาจเรียกว่า พุดน้ำถั่วหนูหัสคุณใหญ่หัสคุณเทศ เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูงประมาณ 2-5 ฟุต ลำต้นกลม ตั้งตรง เปลือกต้นของกิ่งก้าน และลำต้นมีสีน้ำตาลดำ ใบเดี่ยวรูปหอก ปลายแหลม เนื้อหนา ดอกเป็นช่อกลีบสีขาวหนา ผลเป็นฝักกลมยาว


ตามเส้นทางที่จะไปหม้อหิน มีจุดที่น่าสนใจสำหรับศึกษาชีวิตธรรมชาติอยู่จุดหนึ่งจะสังเกตุเห็นเป็นป่าไม้เขียวชะอุ่มกว่าที่อื่นๆรอบข้าง  วันนี้เราไม่ไปต่อที่ผาหม้อกับสมาชิกเมื่อรถข้ามลำธารมาถึงจุดนี้เราจึงขอแวะลงเพื่อสำรวจพื้นที่บริเวณนี้



ด้านหลังทิวไม้พบว่ามีบึงน้ำขนาดใหญ่มีไม้น้ำพวกบอน จอกแหน ขึ้นปกคลุมหนาแน่น ที่นี่คงเป็นแก้มลิงที่เก็บกักน้ำฝนไว้ หรืออาจจะมีตาน้ำผุดอยู่ด้วยจึงทำให้น้ำในลำธารยังคงไหลรินอยู่แม้ฝนทิ้งช่วงนานหลายวันแล้ว กลายเป็นแหล่งกำเนิด และหากินของแมลงหลากหลายชนิดมีเวลานิดหน่อยแต่ก็ได้เจอแมลงหลายชนิด



แมลงปอเข็มสีพื้นเขียวมะกอกที่เราเพิ่งเคยเจอเป็นครั้งแรก

ผีเสื้อแพนซีเทา


ผีเสื้อแพนซีแววมยุรา

แมลงปอเข็มบ่อฟ้าใหญ่นานๆจะเห็นที่อยู่ห่างจากบ่อน้ำ

แมลงปอเข็มเรียวสามสี

แมลงปอเข็มปีกแผ่อิสาน





ช่วงบ่ายหลังจากกลับมาทานอาหารกลางวันที่ร้านเดิมก็ลองไปเดินสำรวจตามเส้นทางชมธรรมชาติฝั่งน้ำตก ก็ไม่มีให้ดูมาก นอกจากผาหินตระกาลตรา




แววมยุรา
เกล็ดหอย (อุบลราชธานี), แววมยุเรศ (กรุงเทพมหานคร) สามสี หญ้าลิ้นเงือก หญ้าลำโพง

ดอกอะไรไม่ทราบแต่ดูจะคล้าย Barleria terminalis Nees

Endemic Medicinal Plants of India


Barleria terminalis Nees and Calacanthus grandiflorus (Dalzell) Radlk. are endemic medicinal plants of the Western Ghats of India. The aim of the present research work was to investigate phytochemical profile, potent bioactives using RP-HPLC, LC-MS and GC-MS and to evaluate their bioactivities. Acetone was found to be the best extraction medium for separating phytochemicals. 




Euploea mulciber mulciber (Cramer, 1777) : Striped Blue Crow / ผีเสื้อจรกาเมียลาย



แมลงปอเข็มเรียวสามสี

Amblypodia narada taooana Moore, 1879 : Blue Leaf Blue / ผีเสื้อม่วงใบไม้ใหญ่



แมลงปอเข็มยาวปลายเด่น

แมลงปอเข็มมรกตธรรมดา

แมลงปอเข็มขีดวงฟ้า


Tramea virginia (Rambur, 1842)


ไฮไลท์ของบ่ายนี้คงเป็นเจ้าตัวนี้  “แมลงปอบ้านใหญ่แต้มปีกกว้าง” ที่หายากระดับ2 แต่วันนี้มาเจอที่บ่อข้างห้องพักเรานี่เอง แถมครั้งนี้น่าจะเป็นรายงานแรกของจังหวัดอุบลอีกด้วย จบข่าว









ไม่มีความคิดเห็น:

กางเตนท์ท้าลมหนาวใต้ต้นพญาเสือโคร่ง

  มกราคม 2568 ทริปนี้ตั้งใจมาลองไปนอนกางเตนท์บนดอยที่เชียงใหม่  จองพื้นที่กางเตนท์ในเวปของอุทยานไว้กันเหนียว เค้าคิดค่าบริการ 30 บาทต่อคน/คื...