บอร์เนียว🇵🇷ทริป 28-5 เมษายน 2024
Situated in the Kinabalu Park, a designated world heritage site by UNESCO in 2000 for its outstanding universal values, Mount Kinabalu is one of the highest mountain in SE Asia between the eastern Himalayas and New Guinea. Apart from that, it is also the highest summit in both Malaysia, and the entire island of Borneo.
Visitors from all over the world are attracted to Mount Kinabalu for many reasons, which include the cool climate, clean air, unique landscapes and wildlife, scenic beauty, heritage, and the opportunity to experience the magnificent view of the summit.
คนที่ชอบธรรมชาติชอบดูนก ต้องไม่พลาดโอกาสที่จะต้องไปเยือน คินาบาลูสักครั้ง
เมื่อนก noppawan มาชวนไปเที่ยวบอร์เนียวแบบประหยัด ตอนปลายปีที่แล้วก็เลยรับปากตกลงทันที โดยรับปากจะเป็นคนขับรถและติดต่อที่พักรวมถึงรถเช่าและบ่อนกที่เราสนใจ ตัวเราไม่เคยไปบอร์เนียวแต่นกเคยไปแล้ว หลายครั้งเลยพออุ่นใจได้ เป้าหมายสำคัญที่จะไปคราวนี้คือไปหาแต้วแล้ว Blue banded Pitta ที่ Tawauซึ่งถ้าไปหาเองคงไม่เจอ นกได้ชื่อเฟสบุคเจ้าของบ่อมาชื่อAmbo เราจึงดำเนินการติดต่อจนสำเร็จ จองบ่อได้เรียยร้อยเป็นวันที่ 3 เมษา ตกลงราคาที่คนละ 400 MLR ( ตอนเราไป 1 ริงกิตมาเลย์ประมาณ 7.7 บาท ) จองปากเปล่าไม่ต้องวางมัดจำเป็นอันเสร็จสรรพเรียบร้อย ก็หวั่นๆว่าจะโดนเทรึปล่าวนะ เป้าหมายนกตัวต่อไปที่อยากเห็นคือ”ไก่จุก “ที่คนที่เคยไปบอกว่าต้องไปกับไกด์ถึงจะได้เจอ เราก็พยายามสืบค้นหลายที่ในที่สุดก็ได้ชื่อและเบอร์ติดต่อ เจ้าของบ่อจาก น้องแหม่ม ซึ่งก็คือ ไกด์ คิมควนลี ซึ่งก็เป็นไกด์ที่หลายๆคนเคยใช้บริการมาก่อนหน้านี้แหละ การสื่อสารในการติดต่อกับผู้ประกอบการที่นั่นนอกจากใช้เมสเซนเจอร์ และก็จะมี WhatApps ที่ดูเหมือนทุกคนต้องมี เหมือนกับคนไทยต้องมี ไลน์ไว้ใช้ติดต่อกัน สรุปค่าเข้านั่งบ่อไก่จุก แต่จริงๆบ่อนี้ ตัวไฮไลท์ของเค้าคือ ไก่ฟ้า Bulwer’s pheasant และ Borneo Pitta ดังนั้นเรื่องไก่จุกหายห่วงเราจะได้เจอแน่ๆ ราคาเข้าบ่อ 600 MLR มีกาแฟและอาหารว่าง ม่าม่าบริการตนเองได้ตลอดเวลา การจอง จองแบบ Gentle man agreement เหมือนเดิม
เตรียมการเดินทาง
กรุงเทพ- กัวลาลัมเปอร์-โคตาคินาบาลู
ไป-กลับ เราเลือกใช้สายการบินมาเลเซียแอร์ไลน์ เพราะคิดว่าสายการบินที่เป็นเจ้าของประเทศจะสะดวกดี การเช็คอินก็ทำได้สะดวกไม่ต้องรอเวลาเคาน์เตอร์เปิดเรา จองล่วงหน้า ประมาณ 3 เดือนตกราคา คนละ 8550 บาท ก็ถือว่าไม่แพงกว่าสายการบินโลว์คอส เพราะราคานี้จะรวมค่ากระเป๋าสัมภาระ 20 kg +ขึ้นเครื่อง 7 kg และอาหาร 2 มื้อ สำหรับ 2ไฟลท์
เดินทางในเกาะบอร์เนียว
เราเลือกใช้บริการรถเช่าขับเอง เป็นรถโตโยต้า vios รุ่นใหม่เอี่ยม หลังจากเลือกอยู่หลายบริษัทในที่สุดก็ตกลงเป็น ของบริษัท บอร์เนียวเอกเพรส ค่าเช่าปกติวันละ 240 RM แต่ถ้าเช่าเกิน 7 วันจะมีส่วนลด เมื่อรวมค่าโน่นนี่นั่นสรุปเป็น 8วันเป็น ราคา 1594.24 RM ก็ประมาน 12275 บาท ตกวันละ1400 บาท ก็แพงอยู่ถ้าเทียบกับบ้านเรา แต่ไปถัวกับค่าน้ำมันที่ราคาถูกกว่าเยอะก็โอเคนะ
CAR RENTAL QUOTATION
TOYOTA VIOS
(RM170+ RM18 CDW ) x 8 DAY
= RM1,504 + 6% SST
= RM1,594.24
⁃ Rates are for a minimum of 24 hours rental, additional hours will be charge per hour.
⁃ Rate includes unlimited mileage & maintenance.
⁃ Collision Damage Waiver (CDW) is required for every vehicle depends on their engine capacity (RM18 for below 1800cc; RM25 for above 1800cc)
⁃ A minimum 50% booking fee of the total price is required as per vehicle and the remaining balance shall be settled on the pick up day or earlier.
⁃ Once the booking fee is received, the vehicle will be locked for the particular date.
⁃ Booking fee will not be refunded in the event of a cancellation prior 3 days.
- A RM200 of deposit shall be collected on the pick up day.
We hope that quotation is reasonable and hope to hear from you soon.
Day1.
28 มีค เดินทางจาก สุวรรณภูมิ 5.40 ถึง KL 8:55
ก่อนถึง KL มี เสริฟอาหารเช้า ไฟลท์นี้ก็ถือเป็นเวลาอาหารเช้าที่ถูกเวลาเหมาะสมที่สุด
รอที่เกจไม่ทันเบื่อก็ได้เวลาไปต่อ เป้าหมายKota Kinabalu ใช้เครื่องรุ่นเดียวกันกับที่มาจากกรุงเทพ เป็นเครื่อง โบอิ้ง 737-800 Mid size) ใหม่เอี่ยม
ออกจาก KL11:15 บินได้สักครู่ ก็ถึงเวลาอาหารเที่ยง บนเครื่องเสริฟอาหารด้วยภาชนะรักษ์โลกน่าประทับใจ
เป้าหมายแรกของทริป จะไปเยี่ยมชม อุทยานแห่งชาติ Crocker Range จากสนามบินขึ้นเหนือไป 105 กม จะใช้เวลา ประมาณ 2 ชั่วโมง เพราะมีช่วงที่ต้องข้ามภูเขาทางชันมาก จน Vios 1500 cc แทบไต่ไม่ไหว แถมตรงจุดสูงสุดก็มีเมฆไหลมาปกคลุมหนาแน่นจนแทบไม่เห็นทางข้างหน้าลุ้นกันสุดๆ
ในที่สุด
เวลา ประมาณ 16.30 เราก็มาถึงเป้าหมาย ที่ทำการอุทยาน Crocker Range อยู่ติดถนนเลยทีเดียว ถ้าดูตาม มปของอุทยานจะเห็นว่าในเทรล มีธรรมชาติให้เดินชมหลากหลายพอประมาณ เมื่อได้คุยกับเจ้าหน้าทีๆแจ้งว่าจะเดินเทรลได้ต้องมาตั้งแต่เช้า หรือถ้ารอบบ่ายก็จะเริ่มตั้งแต่ บ่าย2 ถึงจะลงมาทันเวลาเลิกงาน17.00 ก็เป็นอันว่าเราไม่ได้เข้าเทรล เลยเดินเล่นๆอยู่แถวๆที่ทำการสักพักก็เดินทางไปที่พัก
เราจะเข้าพักที่ D’Aliff Pamalan Homestay Keningau 1 คืน เจ้าของติดต่อเราทาง WhatsApp โดยแชร์โลเคชั่นของที่พักมาพร้อม instruction ในการเช้าเช็คอินด้วยตัวเอง โดยให้เซ็ทพาสเวิดที่กล่องดำ ให้เป็น 0000
พวกเรามาตามหมุดก็มาถึงที่พักเปิดประตูเอารถจอดหน้าบ้านและไปกดระหัสกล่องดำ ตามตัวเลขที่ได้มา ทำหลายรอบก็เปิดประตูไม่ออกทำไปคิดไปว่าดูสภาพบ้านก็ไม่น่าจะไฮเทคอะไรขนาดนั้น เจี๊ยบจับๆบีบๆอยู่สักพักฝากล่องดำก็เปิดออกกลายเป็นกล่องเก็บกุญแจไว้ข้างในนี่เอง 555 เข้าบ้านได้เสียที ในบ้านเป็น2 ห้องนอน มีครัวและอุปกรณ์ มีเครื่องทำน้ำร้อนน้ำเย็นไว้ให้ดื่ม ดีงาม เกินราคา จัดเก็บสัมภาระเข้าที่เสร็จเราก็ขับรถไปหาอาหารเย็นที่ย่านชมชนใกล้ๆที่เล็งไว้ตั้งแต่ก่อนขับเข้าที่พัก ช่วงนี้เป็นช่วงรามาดอล ก็กังวลกันนิดหน่อยว่าจะหาของกินยากไหม แต่พอเข้ามาที่ย่านชัมชนเล็กนี้ก็หมดความกังวล ร้านขายเครื่องดื่ม( อัลกอฮอล์) ใหญ่มาก 2 ร้าน ฝั่งตรงกันข้ามมีร้านอาหารจีน รสชาติพอใช้ได้ราคาไม่แพง
Day2.
29 มีค
เช็คเอาท์ที่พัก(ด้วยตัวเอง ส่งข้อความไปขอบคุณเจ้าของที่พักนิดนึง ) ออกเดินทางไป Tambunan เข้าบ่อ นกจุก hide trus madi โดยใช้ลายแทง ที่ได้รับมาจาก Kim Kuan Lee เจ้าของบ่อ โดยแจ้งว่าบ่อเปิด6โมง เราก็ต้องการไปให้ถึงตั้งแต่บ่อเริ่มเปิด และเช็คการเดินทางจะใช้เวลาประมาณ1 ชั่วโมง เราเลยล้อหมุนตั้งแต่ตี5 ขับรถไปโดยใช้ gpsร่วมกับการดูเข็มไมล์
เมื่อเราเข้านั่งในบ่อนกที่เข้ามาประจำก็จะเป็นกระราง Chestnut- hooded Laughingthrush นกปรอดโอ่งท้องสีน้ำตาล Ochraceous Bulbul นกกินแมลงคอเทา Grey- throated Babbler นกเขนน้อยไซบีเรีย Siberian Blue Robin นกเดินดงหัวสีส้ม Orange-headed Thrush นกจับแมลงดำอกสีส้มMugimaki Flycatcherอพยพมาจากญี่ปุ่น และนกกางเขนดงบอร์เนียว White-crowned Shama
Mugimaki Flycatcher |
White-crowned Shama |
Crested PartridgeRollulus rouloul
This charming ball of a bird can be difficult to see as it forages quietly on the forest floor within its preferred wet forest habitat. Male has a glossy black body and bristly reddish pompom crest. Female is moss-green with warm cinnamon-brown wings. Both sexes have a bright red ring around the eye. Listen for its song, a series of piercing tremulous whistles.
ช่วงที่เราดูไก่จุก Lee ก็เปิดเสียงเรียกแต้วแล้วไปเรื่อยๆเรียกเท่าไหร่ก็ไม่มีเสียงตอบรับ จนแขกชาวสิงคโปร์สองคนเริ่มกระสับกระส่าย จนใกล้เที่ยง Lee ก็หยุดเรียก สักพักเราก็เห็นเจ้าตัวเหลืองๆลายๆเดินอยู่หน้าไบลด์จนชิดผนังๆกดกล้องลงไม่ได้ ต้องปลดกล้องจากขาตั้งออกมาถ่ายด้วยมือเปล่า นกก็ค่อยเดินออกไปกลางลานจนได้วิวที่สวยขึ้น ไกด์Lee ถึงกับเอ่ยปากว่าตอนผมเปิดเสียงเรียกไม่ยอมออก พอปิดเสียงปุ๊ปออกมาปั๊บ ทำขายหน้าเจ้าของบ่อหมดเลย
Bornean Banded-PittaHydrornis schwaneri
Bornean Banded-Pitta จะมีลักษณะคล้าย นกแต้วแล้วลาย (Malayan Banded Pitta) ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นนกที่มีสีสันสวยงามที่สุดชนิดหนึ่งในประเทศไทย ก่อนถูกแยกเป็นสามชนิดอย่างแพร่หลายอย่างในปัจจุบัน มันเป็นที่รู้จักในชื่อ Banded Pitta คงไม่เกินจริงนักหากจะบอกว่าชนิดในไทยซึ่งพบในเกาะสุมาตราและคาบสมุทรมลายูตั้งแต่ชุมพรลงไปมีสีสวยที่สุดในสามชนิด เพศผู้มีลวดลายและสีสันต่างจากอีกสองชนิด (ซึ่งเป็นนกเฉพาะถิ่นของเกาะชวาและเกาะบอร์เนียว) อย่างชัดเจน ลายขวางถี่ ๆ อันเป็นที่มาของชื่อนั้นเป็นสีส้มเข้ม และจำกัดอยู่บริเวณด้านข้างของอกเท่านั้น บริเวณอกไปจนถึงก้นเป็นสีน้ำเงินเข้ม ต่างจากชนิดในชวาและบอร์เนียวซึ่งมีลายขวางเกือบทั่วทั้งด้านล่างของลำตัว ทั้งสองเพศยังมีสีส้มสดบริเวณ
Malayan Banded Pitta |
ท้ายทอยซึ่งในอีกสองชนิดจะเป็นสีเหลืองล้วน และมีแถบสีขาวที่ปีกกว้างกว่ามากด้วย
แต่ในบรรดานกแต้วแล้วลายทั้งหมดสามชนิด ก็มีเพียง ชนิดที่พบในไทยเท่านั้นที่ถูกจัดอยู่ในสถานภาพใกล้ถูกคุกคาม (near threatened) ระดับโลก อีกสองชนิดถือว่ายังมีความเสี่ยงต่ำ (least concern) ภัยคุกคามหลักก็เช่นเดียวกับนกป่าต่ำชนิดอื่น ๆ ที่พบทางภาคใต้ของไทย ถิ่นอาศัยของพวกมันเหลือน้อยมากจากในอดีต และปัจจุบันก็ยังคงมีการตัดไม้ทำลายป่าอยู่อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะบนเกาะสุมาตร
ต่อจากแต้วแล้ว ตัวต่อไปที่ต้องลุ้นคือไก่ฟ้าตัวเฉพาะถิ่นบอร์เนียว Bulwer's pheasant ที่ปกติจะออกมาโชว์รอบเช้า 2 รอบและ รอบบ่าย5 รอบ เราก็นอนใจว่ายังงัยก็จะได้เห็นก็ไม่รู้สึกตื่นเต้นอะไรแต่พอเวลาล่วงเลยไปจนถึงบ่ายก็ไม่ได้เจอก็เริ่มต้องลุ้นกันระหว่างที่เราก็ดูนกและไก่ซ้ำๆไป มีสลับกับออกไปดูนกดูแมลงหลังไบลด์เป็นช่วงๆ
นกพญาปากกว้างหางยาว หรือที่เราเรียกกันว่า เจ้าหมวกกันน็อค ก็บินมาเกาะเล่นน้ำที่ขังบนหลังคาเตนท์อย่างใกล้จนถ่ายได้ด้วยมือถือ
นกกระรางแดงบินใต่ตามยอดไม้ให้ได้ตามถ่ายเล่นๆ นกโพระดกร้องเสียงดังอยู่ใกล้ๆแต่ไม่เห็นตัว กระรอกของ Whitehead ตัว Endemicของบอร์เนียวก็มา
The tufted pygmy squirrel (Exilisciurus whiteheadi) is a species of rodent in the family Sciuridae. It is endemic to highland forest in Borneo. The common name of this tiny squirrel refers to its distinctive ear-tufts. Its diet consists mainly of the lichens and mosses which cover the trees it inhabits.
Bornean Whistler |
Orange-backed Woodpecker |
Raffles’s Malkoha |
Tetrathemis irregularis Brauer, 1868 |
Indaeschna grubaueri (Förster, 1904 |
Cratilla metallica (Metallic Dragonfly) is a species of dragonfly in the family Libellulidae with the hindwing measuring up to 38 mm in both sex. It can easily be recognized by the dark wing-tips with slate blue on abdomen and metallic green on its thorax. The female has similar wings to male but lacking blue at the abdomen with three yellow lines laterally on synthorax. Its abdomen is relatively much longer than the female of Agrionoptera sexlineata. The Metallic Dragonfly is commonly found on the closed forest at an altitude up to 900 m above sea level. It normally breeds in shallow forest pools and sometimes at large phytotelmata (a small water-filled cavity in a terrestrial plant). It is widespread in tropical Asia (Orr, 2005).
เย็นเข้าที่พักที่Tambunan Nature Lodge 2 ห้องนอน 1 คืน ทางขึ้นค่อนข้างชันขับรถขึ้นลงต้องระวังกันนิดหน่อย เช็คอินและเก็บสัมภาระเรียบร้อยเราก็ออกไปหาร้านมื้อค่ำในเมืองไม่ไกลที่พัก เป็นร้านอาหารจีนเช่นเคย ราคาสูงกว่าร้านเมื่อคืนขึ้นมานิดนึง
Day 3
30มีค
เช้ามืดเก็บภาพหน้าบ้านพัก ขณะดวงอาทิตย์กำลังจะโผล่พ้นทิวเขา นกปรอดหน้านวลเกาะรั้วผึ่งแดดเผื่อให้ปีกแข็งแรงก่อนจะบินออกหากินยามเช้า
จุดนี้ดูเหมือนจะเป็นที่ขายตั๋วแต่วันนี้ปิดแสดงว่าเข้าฟรี บริเวณนี้เป็นบ้านพักและลานกางเตนท์มีนักท่องเที่ยวมาพักที่นี่คึกคักพอสมควร จากจุดนี้เพื่อไปที่หมายดูนกกระทาจะต้องขึ้นไปอีกประมาณ 800 เมตรตรงสถานีไฟฟ้า ซึ่งปลายทางจะชำรุดมากจนรถเราผ่านไปไม่ได้ต้องลงเดินเท้าขึ้นไปอีกประมาณ80 เมตร ก็จะเจอทางลงเทรลจุดสังเกต มีเสาไฟสปอตไลท์ตามคำบอกเล่าของ Lee
จุดที่รถธรรมดาผ่านไม่ได้ต้อง 4x4 |
เราเดินตามเทรลไปไม่ไกลก็เจอไบลด์ที่ขึงสแลนบังตาไว้นิดหน่อยแสดงว่านกไม่ขี้ตื่นมาก เราก็จัการนำขนมของนกที่ Lee มีน้ำใจมอบมาให้ฟรีเพื่อเพิ่มโอกาสในการเจอตัวเป้าหมายของเราให้มากขึ้น ขณะกำลังโปรยขนมฝูงกระทาดงอกสีน้ำตาล Red-breasted Partridge ก็ออกมารอบริเวณหน้าลาน จนเราต้องรีบกลับมาหลังไบล์ดและเริ่มเก็บภาพไปเรื่อยๆ
Red-breasted PartridgeArborophila hyperythra
Brightly-marked forest gamebird of Borneo’s central mountains. Combination of bright black-and-white side scaling and warm orange head and breast are unique. Like other Arborophila partridges, forages in dense undergrowth in forested areas, and is more readily heard than seen; the ringing repetitive song is a series of short whistles, often given as a duet.
เป็นนกกระทาชนิดหนึ่งในป่าที่มีลวดลายสดใส อาศัยอยู่บนภูเขาตอนกลางของเกาะบอร์เนียว การผสมผสานระหว่างลายด้านข้างสีขาวดำที่สว่างสดใสกับหัวและอกสีส้มอบอุ่นนั้นมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เช่นเดียวกับนกกระทา Arborophila อื่นๆ ซึ่งหาอาหารตามพุ่มไม้หนาทึบในพื้นที่ป่า และได้ยินเสียงได้ง่ายกว่าที่เห็น เพลงที่ดังซ้ำไปซ้ำมาคือชุดเสียงนกหวีดสั้น มักร้องเป็นเพลงคู่
Snowy -browed Flycatcher |
แต่แล้วจู่ๆหัวสีแดงๆก็โผล่สันเนินขึ้นมาที่ลานแบบไม่มีสุ้มเสียง ครอบครัวกระทาตัวเป้าหมายปรากฏตัวขึ้นพร้อมหัวใจเราที่เต้นระทึกคว้ากล้องขึ้นมาเก็บภาพด้วยมือเปล่าเพื่อเป็นเรคคอร์ดก่อนที่จะค่อยคลานเอากล้องไปวางบนขาตั้งกล้องปรับแสงใหม่และเริ่มบันทึกภาพอีกครั้ง เราถ่ายกันจนหมดรอบที่พวกเค้าเริ่มถอยกลับเข้าป่าไปทีละตัวจนหมดฝูง เป็นอันจบทริปที่นี่ด้วยความสำเร็จเกินความคาดหวัง
Crimson-headed PartridgeHaematortyx sanguiniceps
นกกระทาสีดำที่มีหัวสีแดงสด (จึงเป็นชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "Bloodhead") อาศัยอยู่ในป่าดิบเขาบอร์เนียว (ประมาณ 1,000–1,700 ม.) แต่อาจพบได้นอกระดับความสูงนี้ มีเสียงร้องที่ดังกึกก้อง คล้ายแหวนโหะกระทบกัน “ริง-หยิง ริง-หยิง ริง-หยิง”
กระทาตัวผู้ ตัวเมีย และตัวลูก |
10โมง เดินทาง 82 กม. ใช้เวลา 2 ชั่วโมง ไป Kundasang เพื่อเข้าชม อุทยาน kinabalu park ออกจาก Gunung Alab เราแวะศูนย์ Rafflesia เพื่อจะชมดอก Rafflesia แต่สอบถามเจ้าหน้าที่แจ้งว่าจะต้องใช้เวลามากกว่า 1 ชั่วโมงเพราะต้องนั่งรถไปชมที่สถานที่อื่น เราไม่มีเวลามากขนาดนั้นเลยขอบายไปก่อน

Rafflesia Information Centre
ก่อนเข้าคินาบาลูเราะแวะทาน KFC ที่เมือง Ranau รสชาติก็โอเค |
Kinabalu Park, the World Heritage Site covers an area of 754 sq km was gazetted as a park in 1964.The basis for the establishment of a protected area in Kinabalu were formed after a report from the Royal Society Kinabalu Scientific expedition in 1962-1964 led by Prof. Corner. It is the first Park in the Malaysian Borneo's state of Sabah.
Its main feature is Mount Kinabalu (4,095.2 m), the highest mountain between the Himalayas and New Guinea. Its slope is home to a rich assemblage of plants and animal species. It is a hot spot of particularly the plant biodiversity with affinities to flora from the Himalayas, China, Australia, Malay Peninsula, as well as pan-tropical region.
ทางเข้าหลักสำหรับผู้มาเยือนคือสำนักงานใหญ่อุทยาน ซึ่งอยู่ห่างจากทางหลวงโคตาคินาบาลูประมาณ 92 กม. บนทางหลวงชายฝั่งตะวันออก ซึ่งอยู่ที่ระดับความสูง 1,520 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล สภาพอากาศที่เย็นกว่าดึงดูดนักท่องเที่ยวได้มากกว่า 250,000 คนในปี 2552 โดยมีประมาณ 47,000 คนที่พยายามพิชิตยอดเขา ศูนย์บริหารตั้งอยู่ในอาคาร 'ศูนย์อนุรักษ์' นอกจากนี้ในอาคารเดียวกันยังมีสำนักงานและสิ่งอำนวยความสะดวกด้านการวิจัยและการศึกษาอีกด้วย
ค่าเข้าอุทยาน คนละ 50 ริงกิต พักข้างนอกซื้อตั๋ว วันต่อวัน

ศูนย์อนุรักษ์ |
หลังจากไปเยี่ยมชมศูนย์อนุรักษ์มาพอสังเขป เราก็ไปลงทะเบียนเพื่อรับบัตรสำหรับขับรถผ่านไม้กั้นชั้นในและเดินเทรลต่างๆได้อย่างสะดวก ค่ามัดจำบัตร คนละ 20ริงกิต คืนเงินเมื่อคืนบัตร เจ้าหน้าที่รูปหล่อต้อนรับและบริการเป็นอย่างดี
เวลาทำการ 8.00-16.00
จุดลงทะเบียนนักท่องเที่ยวอยู่ที่อาคารเล็กสีขาวด้านหลังอาคารบริการรถ shuttle bus |
ลงทะเบียนได้บัตรห้อยคอเสร็จเราก็เริ่มทัวร์ ลำดับแรกเลือกเข้า Botanic Garden ค่าเข้าคนละ 15 ริงกิต ก็ไม่แพงมีอะไรให้ดูเพลินๆ
Botanical Garden in a tourist attraction at Kinabalu Park, housing a collection of local flora that includes pitcher plants, orchids, ferns and lianas in a densely landscaped garden that intermingles with the surrounding montane rainforest. For a small ticket fee, visitors can explore the garden without limit, taking time to gaze at the occasional pretty colours and strange leafy formations.
Also, watch out for insects, lizards, snakes and small mammals endemic to Mount Kinabalu that sometimes appear randomly in the foliage. The garden is located a short distance away from the park entrance, opposite Kinabalu World Heritage Gallery.
Pitcher plants are several different carnivorous plants that have modified leaves known as pitfall traps—a prey-trapping mechanism featuring a deep cavity filled with digestive liquid. The traps of what are considered to be "true" pitcher plants are formed by specialized leaves. The plants attract and drown their prey with nectar |
Nepenthes veitchii (/nɪˈpɛnθiːz ˈveɪtʃiaɪ, - ˈviːtʃ-/; after James Veitch, nurseryman of the Veitch Nurseries),[4] or Veitch's pitcher-plant,[5] is a Nepenthes species from the island of Borneo. The plant is widespread in north-western Borneo and can also be found in parts of Kalimantan. It grows in lowland Dipterocarp forest, typically near rivers, and on ridgetops in mossy forests, from 0 to 1,600 meters elevation.[1]Nepenthes veitchii usually grows as an epiphyte, though the form from Bario seems to be strictly terrestrial and has not been observed to climb trees.
หม้อข้าวหม้อแกงลิงของ Veitch เป็นหม้อข้าวหม้อแกงลิงสายพันธุ์จากเกาะบอร์เนียว พืชชนิดนี้แพร่หลายในเกาะบอร์เนียวทางตะวันตกเฉียงเหนือและสามารถพบได้ในบางพื้นที่ของกาลิมันตัน เจริญเติบโตในป่าเต็งรังที่ราบต่ำ โดยทั่วไปจะอยู่ใกล้แม่น้ำ และบนสันเขาในป่าที่มีมอสปกคลุม ที่ระดับความสูง 0 ถึง 1,600 เมตร Nepenthes veitchii มักจะเติบโตเป็นพืชอิงอาศัย แม้ว่ารูปร่างจากบาริโอดูเหมือนจะอยู่บนบกอย่างเคร่งครัดและไม่มีใครสังเกตเห็นว่าปีนต้นไม้ได้ |
whitehead’s Broad bill |
คืนนี้เข้าพักที่ J Residentใกล้ๆ อช. 2 คืน ( คืนแรกพักห้องรวม)ที่พักจะอยู่ห่างจากอุทยานไม่มาก แต่ถ้าเราเปิด GPS จะแนะนำให้เราเลี้ยวซ่ายและวิ่งไปกลับรกประมาณอีก10 กม. เพราะหน้าอุทยานถนนจะตีเเป็น้ส้นทึบสองเส้น ห้ามเลี้ยวขวา จริงๆเราก็ไม่อยากทำผิดกฏจราจร แต่กว่าจะเลยเส้นทึกไกลมากจริงๆและถนนก็ว่างๆ ทุกคนจึงลงความเห็นเลี้ยวขวาไปเลย ไปแค่ 2 กม .ก็ถึงที่พัก ปัญหาใหม่คือจากประตูทางเข้าที่พักลงไปตรงลานจอดรถเป็นทางปูนเล็กๆชันมาก จนน่าเป็นห่วงว่ารถเราลงไปแล้วจะกลับขึ้นมาได้หรือไม่ ถกเถียงกันอยู่นาน น้องนกก็สั่งให้เราขับลงไปเลยคนอื่นขึ้นได้เราก็ต้องขึ้นได้ โอเคตามนั้น พังเป็นพัง ในที่สุดก็เข้าเช็คอินเรียบร้อย ที่พักที่นี่พนักงานจะไม่อยู่ประจำดังนั้นการเช็คอินเช็คเอาท์จะต้องอยู่ในเวลาทำการ 8 -17.00 น ถ้าต้องการเช็คเอาท์ก่อนเวลาต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า มีค่าประกันกุญแจ 50 ริงกิตที่ควรจะต้องรับคืนเมื่อเช็คเอาท์
อาหารเย็นมื้อนี้เป็นอาหารง่ายๆฝีมือน้องนก ไม่ต้องไปร้านอาหาร มีเบียร์ดำ ที่ตุนไว้ตั้งแต่เมื่อวานซืนได้ดื่มด่ำกับบรรยากาส คินาบาลู
Day3
31 มีค
เช้านี้เราออกแต่เช้ามืด เรามุ่งหน้าไปยังประตู Timpohon โดยตั้งใจจะไปถึงจุดหมายก่อน 06.00 น.ทุกอย่างเป็นไปตามแผนแต่พอมาถึงจุดไม้กั้นเจ้าหน้าที่ยังไม่มา เราจึงจอดรถรออยู่แถวนั้น แสงอาทิตย์เริ่มสาดส่อง เสียงนกกลางคืนยังคงร้องเรียกสั่งลากันอยู่บนยอดต้นไม้ต้นโน้นต้นนี้ นักท่องเที่ยวเริ่มทะยอยเดินลงไปที่ภัตตาคารเพื่อเติมพลังงานแต่เช้ามืดเช่นกัน
เราเดินขึ้นไปบนลานหน้าบ้านพักนักท่องเที่ยวที่พักในอุทยานเพื่อเก็บภาพยอดเขาคินาบาลูที่เริ่มฉาบด้วยแสงสีแดงของดวงอาทิตย์ ที่ชายป่าเราเห็น คลื่นของฝูงกระราง Chestnut -hooded Laughingthrush เจ้าถิ่นบินไต่ตามต้นไม้เตี้ยๆเสียงระงม แล้วจู่ๆฝูงสาลิกาเขียว Bornean Green Magpies ก็ออกมาจับกิ่งไม้เด่นๆทำให้เราได้ภาพที่สวยงาม
ร้องเรียกให้เราวิ่งตามถ่ายแบบบังบังจำแนกชนิดได้ไม่แน่ชัด
Whitehead's broadbill
เริ่มหิวข้าวเราก็ไปเจอกับน้องนก นพวรรณที่ร้านอาหารตามสั่งเล็กๆตรงลานจอดรถด้านล่างที่เป็นจุดเริ่มเดินเทรลของคนทั่วไป เราสั่งซาลาเปาลูกใหญ่มาทานลูกเดียวก็อิ่มท้อง ช่วงนี้เป็นเวลาที่นกพักผ่อนเสียงนกก็จะเงียบๆ ก็ชวนเลยกันไปเดินหาแมลงปอแถวๆลำธารด้านล่าง แต่ก็ไม่มีแมลงปอในลำธารเจอแค่แมลงปอบ้านแถวร่องน้ำข้างถนน 2-3 ชนิดนกได้ภาพผีเสื้อแสนสวยมาด้วย1 ตัว
เรา เดินขึ้นๆลงๆแถวบันไดทางลงห้องอาหารเก่า อยู่หลายรอบ ตรงนั่นจะมีพวกกินปลีอกแดง และนกวงตาขาว Black- cap White-eye ที่มีถิ่นฐานแถวบอร์เนียวตอนเหนือและเกาะสุมาตรา
Typical active white-eye, often found in mixed flocks. Note this species’s broad white eyering, as well as its smoky-black forehead and lores (despite name, doesn’t have much of a black cap). A common species in hill and montane forests, up into scrubby, stunted vegetation around and above the treeline. Song is a dry-sounding series of disjointed strophes, usually incorporating a hard “ti-tick”. Gives high-pitched nasal whistles, as well as chittering “chik”s and “chi-chick”s.
แมลงปอบ้านเสืออกม่วงโคนท้องฟ้าพบได้แถวจังหวัดชายแดนใต้ของไทย |
ยังไม่มีใครพบในประเทศไทย Coeliccia nemoricola |
ใกล้เที่ยงเราขับรถกลับขึ้นไปที่ กม. 1.5 อีกครั้ง ตรงรังนกพญาปากกว้างมี นักดูนกเจ้าถิ่นตั้งกล้องรอนก อยู่2 คน เลยได้ทักทายกัน ได้ทราบว่า ก่อนหน้านั้น 1 ชั่วโมงมี Whitehead’s Trogon เป้าหมายตัวที่2 ของเรา มาปรากฏตัวให้เห็นแถวนี้ด้วย แต่เป็นตัวเมีย เราหัวใจพองอีกครั้งที่พอจะมีโอกาสได้เจอ รออยู่ไม่นาน เพื่อนใหม่เราก็กวักมือเรียกและชี้เป้าให้ นกเกาะ อยู่ไกลๆแต่พอจะเก็บภาพได้ เป็นตัวเมียเช่นเคย แต่ก็ถือว่าได้บบรลุเป้าหมายที่2 ของเราได้แล้ว รอต่อมาไม่นาน เราก็ได้เห็นเจ้านี้อีกครั้งด้วยตัวเราเอง เสียดายที่ไม่เป็นตัวผู้แสนสวย
Whitehead’s Trogon female |
ได้คุยกับเพื่อนใหม่ชาวท้องถิ่นนิดหน่อยเราถามถึง นกปลีกล้วย Whitehed’s spider hunter เป้าหมายตัวที่3 ของเรา ได้คำตอบว่า ถ้าง่ายๆต้องไปดูที่ต้นไม้ต้นหนึ่งเดียวในอุทยานนี้ และต้องมาดูตอนออกดอก แล้วบานเต็มที่ ซึ่งตอนนี้ดอกยังตูมๆอยู่ นกยังไม่มา ต้องรอ อาสัปดาห์หน้าดอกถึงจะบานเต็มที่ ยังงัยก็ตามเราก็อยากจะลองลุ้นดูเผื่อมีโชค เลยถือโอกาสลงไปทานอาหารที่ร้านอาหารตามสั่งร้านเดิมซึ่งเป็นจุดเดียวกับที่มีต้นที่ออกดอกสำหรับ เจ้าspider hunter อยู่ด้วย
หลังจากทานข้าวผัดไข่ดาว เรียบร้อยอราเลยไปส่องๆตามดอกตูมๆดูเผื่อจะบังเอิญนกมาบินมาดูลาดเลาบ้าง แต่เราก็ไม่โชคดีขนาดนั้น มีแค่กินปลีอกแดงตัวเดียวถ้วนที่มาชื่นชมดอกตูม เรารีรออยู่ที่นั่นประมาณ 30นาที มีนกจับแมลงเล็กขาวดำ Little Pied Flycatcher ตัวเล็กๆน่ารักบินโฉบไปมา
เราเดินกลับไปที่ลานจอดรถ เป็นช่วงเลาที่นกรอบบ่ายเริ่มAlert มีนกหลายตัวส่งเสียงร้องเพลง นกพญาไฟหคอเทาปักษ์ใต้ Grey -chined Minivet ตัวผู้สีแดงสดตัวเมียสีเหลืองหลายคู่ ส่งเสียงร้องเรียกกัน Blue and white flycatcher เกาะเด่นสีฟ้าสดใส เรากลับขึ้นไปเดินสำรวจ แถว กม.1 ถึง กม.1.5 อีกครั้งด้วยหวังว่าจะเจอ Trogon สีแดง แต่โชคยังไม่เข้าข้างเรา ได้เวลาจะต้องคืนบัตรอนุญาต ตอน 4 โมงเย็นเราจึงกลับลงไปที่ออฟฟิสแต่สายไป1 นาทีเจ้าหน้าที่กลับไปแล้ว คงต้องกลับมาคืนพรุ่งนี้เช้า ก่อนออกเดินทางต่อไป Sandakan
Grey-chinned Minivet |
คืนเราพักที่เดิม 1 ห้องแต่เป็นห้องสำหรับ2 คน อีกห้องเราถูกยกเลิกการจองโดยไม่ทราบสาเหต จึงต้องไป ย้ายไปพัก ที่ Ayana Holiday Resort อีก 1 ห้อง ( ห่างกันประมาณ 1 กม) ที่นั่นมีห้องให้เลือกหลายแบบ และมีร้านอาหารอยู่ไกล้ๆสะดวกดี
ที่ร้านอาหารมีโปสเตอร์ภาพแมลงปอของบอร์เนียวขอถ่ายภาพเก็บไว้เป็นข้อมูลสักหน่อย |
อาหารเย็น เมนูปลา อาหารท้องถิ่น |
Day5
1 เมษา
เช้าก่อนเช็คเอาท์ที่พัก เรายังได้เก็บภาพนกที่มาเยือนถึงที่พัก ฝูง Bornean Treepie ตัว Endermic ของบอร์เนียวที่เราพลาดการเก็บภาพตอนขึ้นไป Tampohon ตอนเช้ามืดเมื่อวานก็มาไต่อยู่ที่ยอดไม้หน้าที่พัก ออกจากที่พักเราแวะไปคืนบัตร อนุญาตเดินเทรลในอุทยาน บนต้นไม้ใหญ่หน้าที่ทำการมีนกมูมมาเกาะโดดเด่น พวกลูกหาบที่มานั่งรอ นทท.ตื่นเต้นกันใหญ่ชี้ให้เราถ่ายภาพเก็บไว้
เราออกเดินทางไป Sandakan 248 กม.

แวะทานอาหาร เช้า ควบ กลางวัน |
เดินทางประมาณ 5 ชั่วโมง เข้าชม RDC
Rainforest Discovery Centre
Sabah’s Rainforest Discovery Centre (RDC) is regarded as one of the best environmental education centres in the state. Located within the most accessible natural rainforest in Sabah, the Kabili-Sepilok Forest Reserve, which is about 23 km away from Sandakan town, the RDC aims to provide visitors with the opportunity to experience nature up-close while educating them on the importance of rainforest conservation. "
The RDC includes an exhibition hall to provide a brief introduction to the various plant species available in the Kabili-Sepilok Forest Reserve, a Plant Discovery Garden, environmental education programmes, and a small lake.
The centre also provides a system of properly marked jungle trails, with plenty of signboards along the way, which enables visitors to navigate through the dense forest to observe nature via different paths.
ระบบทางโครงสร้างเหล็กยาว 347 ม. และสูง 25 ม. ที่นำนักท่องเที่ยวไปยังหอสังเกตการณ์ 3 หอ เป็นจุดที่ดีเยี่ยมสำหรับนักดูนกในการชมนกมากกว่า 300 สายพันธุ์ที่นี่ รวมถึงนกอพยพและนกประจำถิ่น เช่น นกเงือกแรด นกเงือกดำ นกแต้วแล้วสีแดงเข้ม นกเจย์หงอน นกตัวเล็กสีแดง นกแต้วแล้วหัวสีฟ้า และนกมัลโคฮา และอื่นๆ อีกมากมาย
นกตัวแรกที่ต้อนรับอยู่ใกล้ๆทางเดินคือนกพญาปากกว้างเล็กสีเหลืองคาดดำสวยงาม และมีนกบั้งรอกแอบเกาะมองเราอยู่ใกล้ๆกัน เราขยับตัวหามุมจนได้ภาพมาเต็มตัว
Black-and-yellow Broadbill |
กระรอกบินตัวเล็กบินร่อนจากต้นไม้สูงไปยังอีกต้นดูคล้ายนกบินโฉบเหยื่อ กระรอดำตัวใหญ่ ใต่ตามพุ่มไม้ที่มีก้านใบประสานต่อเนื่องกัน เจ้าหนูตัวน้อยที่ดูเหมือนจะมีความสำคัญจึงได้สรวมสร้อยคอติดตัว แต่ทำไมถึงอุตส่าห์ปีนต้นไม้สูงตระหง่านเข้าไปเล่นอยู่ในรังสำหรับนกอินทรีย์ที่แขวนอยู่เกือบยอดไม้ คาดว่าน่าจะเป็น Red giant flying squirrel ผู้มีชื่อเสียงของที่นี่
Flying lizard |
A Giant Squirrel (Ratufa affinis) hunting for food in Rainforest Discovery Centre |
Family : VIPERIDAE
Species : Tropidolaemus subannulatus
Maximum Size : Females 96 cm, males 46 cm
Formerly part of the Wagler's Pit Viper species complex, the Bornean Keeled Pit Viper was elevated to status in 2007 (Vogel et al, 2007).
This species occurs in similar habitats to Wagler's Pit Viper including lowland primary or mature secondary forest, as well as riverine and coastal forest.
As with other pit vipers, this is a venomous snake, with heat-sensing pits on the sides of the head.
It is exclusively arboreal, and may be found at heights ranging from low vegetation to mid-canopy levels of around 20 metres or so. Its diet comprises birds and arboreal rodents.
Juveniles and adult males have a vibrant green upperside and yellowish green belly, patterned with numerous thin, pale bicoloured bars : the leading edge of these bars are generally white, and the trailing edge blue or red or a combination of both colours. There is a bicoloured red and white stripe behind the eye.
Adult females tend to have a complex pattern comprising a ground colour of cream, with broken bluish, greenish or turquoise bands, and a thick stripe of the same colour on the sides of the head.
As of 2020, this species is listed as occurring in Borneo, Sulawesi and many islands of the southern Philippines.
ที่ RDC ยังมีสิ่งที่น่าสนใจอีกมากมาย หากคุณโชคดี คุณจะได้เห็นนกบอร์เนียวบริสเทิลเฮดเฉพาะถิ่น นกแต้วแล้วหัวน้ำเงิน นกเหยี่ยววอลเลซ นกอาร์กัสตัวใหญ่ นกกระเต็นแถบสีน้ำเงิน และอื่นๆ อีกมากมาย Rainforest Discovery Centre เปิดทุกวันโดยมีค่าธรรมเนียมขั้นต่ำสำหรับผู้เยี่ยมชม ที่ RDC คุณจะได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุดของป่าฝน! สำหรับทริปนี้เราวางแผนแค่ผ่านมาสำรวจพอสังเขปมีเวลาแค่ครึ่งวัน และเป็นช่วงบ่าย จึงพลาดโอกาสที่จะได้เจอตัวเด่นๆของที่นี่แต่ คงจะเป็นโอกาสต่อๆไป
คืนนี้พักที่ Orange Utan Guesthouse เป็นห้องพักอยู่บนชั้น18 ชั้นบนสุดของคอนโด Kingfisher Sandakan ซึ่งเราจะต้องเช็คอินด้วยตัวเองโดยจะมีพนักงานติดต่อเรามาและส่งโลเคชั่นให้ไปรับรับKey card สำหรับเข้าบริเวณคอนโด จอดรถในช่องหมายเลขที่กำหนดไว้ เข้าประตูอาคาร รวมถึงแตะขึ้น ลิฟต์ ซึ่งคีย์การ์ด จะเก็บไว้ในกล่องที่ใส่ระหัสและแขวนไว้หน้าบ้าน
เราจะได้รับระหัสสำหรับไปเปิดกล่อง ซึ่งก็สร้างความสนุกสนานตื่นเต้นยังกับหนังสายลับนักสืบ เข้าถึงห้องก็จะมีระหัสอีกตัวสำหรับกดหน้าประตู ก็เป็นอันจบขั้นตอนการเช็คอิน
เราจอดรถในช่องที่ล็อคไว้ |
ภายในห้องมีอะปกรณ์ที่ทันสมัย ก็จะมีคลิปส่งมาให้ดูขั้นตอนการใช้งาน อุปกรณ์ต่างๆ ห้องพักดูสะอาดทันสมัยตรงปก มีห้องนอน 3 ห้อง ห้องนั่งเล่น ห้องครัว และระเบียงวิวทะเลสวยงาม
Day 6.
2 เมษา เช้าเช็คเอาท์ห้องพัก โดยจะเอาคีย์การ์ดไปเก็บในกล่องที่บ้านเดิมที่มองเห็นได้จากระเบียง
บ้านที่เป็น key ในการเข้าพัก มองเห็นได้จากระเบียงที่คอนโด |
เราคาดหวังอะไรจากการเข้าพักที่นี่
ขุมทรัพย์สัตว์ป่า: ชมลิงจมูกยาว อุรังอุตัง ช้างแคระ และอีกมากมายในการล่องเรือในแม่น้ำ
ไกด์ผู้เชี่ยวชาญ: เรียนรู้ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตในท้องถิ่นจากไกด์ที่ดีที่สุดของเกาะบอร์เนียว
เดินป่ายามค่ำคืน: สัมผัสโลกกลางคืนของเกาะบอร์เนียวและพบกับสัตว์ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว
การพักผ่อนริมแม่น้ำ: ผ่อนคลายในที่พักริมแม่น้ำแสนสบายพร้อมอาหารมื้อใหญ่และบริการที่เป็นเลิศ
 ในฐานะที่เราไม่ได้พักที่นี่เราสามารถจอยทริป River cruise กับเค้าได้ ค่าใช้จ่ายคนละ 50 ริงกิต เรือออก 4โมงเย็น เมื่อเราบอกว่าวันนี้เราไม่มีเวลาเพราะต้องเดินทางต่อ ผู้จัดการที่นี่ใจดีมาก พยายามติดต่อเพื่อน เพื่อเหมาเรือพิเศษให้เราได้ เค้าบอกว่าค่าเช่าเท่ากับที่เค้าเช่าเรือมาใช้เช่นเดียวกัน คือ 300 ริงกิต เป็นอันตกลงได้ล่องแม่น้ำสมใจ รอประมาณ ครึ่งชั่วโมงเรือก็มาถึง มีไกด์และเด็กขับเรืออีก1 คน เราแจ้งถึงเป้าหมายของการไปชมว่าต้องการดูนกกราวด์คักคู ไกด์ตอบ คุกคู มีๆแต่ต้องเปิดเสียงเรียกและรอประมาณ1 ชั่วโมง นกจะออกมา เสียดายลำโพงพวกเราทิ้งไว้ในรถเลยไม่ได้เอามาใช้ประโยชน์ วันนี้ไกด์ไม่ได้ไปกับเราด้วยเพราะเราเช่าแค่เรือ แต่คนขับก็รู้จักหมายต่างๆเป็นอย่างดี
Kinabatangan River
The 560-kilometre Kinabatangan River is Sabah’s longest river, beginning in the Crocker Range in Southwest Sabah and ending at the Sulu Sea southeast of Sandakan. From the headwaters to its vast river mouth, the Kinabatangan passes through a diverse range of habitats, including dipterocarp forest, seasonally flooded riparian forest, oxbow lakes, nipah and mangroves. Whilst the upper reaches of the Kinabatangan River have been extensively logged, much of the lowland forest and mangroves have survived.
เราเริ่มล่องเรือประมาณ 11 โมง ท่ามกลาง แสงแดดแผดเผาด้วยความหวังเล็กน้อยว่าจะเจอ ground cuckoo ที่ไม่มีในลิสต์ของสิ่งน่าสนใจของที่นี่ แต่เราก็ได้ข้อมูลมาว่ามีนักท่องเที่ยวเจอที่นี่ และไกด์ก็บอกว่ามีโอกาสเจอได้ ระหว่างทางก็เจอ จรเข้สองตัว ตัวแรกไต่ลงน้ำหายไปขณะเราเบนหัวเรือเข้าไปหา เรือวิ่งมาอีกนิดเดียวที่ฝั่งซ้ายเจ้าตัวโตนอนนิ่งไม่สนใจสิ่งรอบข้างแม้เราจะเข้าไปจนไกล้
Fun Fact! All the eight species of Hornbills found in Borneo, make this area their home. The most commonly spotted hornbills would be the Rhinoceros Hornbill and the Oriental Pied Hornbill. |
นกตะกรุม (อังกฤษ: Lesser adjutant stork) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Leptoptilos javanicus เป็นนกน้ำขนาดใหญ่ในวงศ์นกกระสา (Ciconiidae) มีถิ่นที่อยู่อาศัยในทวีปเอเชียทางตอนใต้ ตั้งแต่อินเดีย, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไปจนถึงจีนตอนใต้ และเกาะชวา มีรูปร่างคล้ายคลึงกับนกตะกราม แต่มีขนาดเล็กกว่า และไม่มีถุงใต้คอ ขณะยืนมีความสูงบนหัวประมาณ 110-120 เซนติเมตร ความกว้างของปีกทั้งสองข้างประมาณ 210 เซนติเมตร ลำตัวด้านบนสีดำเหลือบเป็นมัน ใต้ท้องสีออกขาว มีจุดเด่น คือ ส่วนหัวและลำคอเป็นหนังสีเหลืองแกมแดง มีขนเป็นเส้น ๆ ขึ้นกระจายอยู่ห่าง ๆ ทำให้แลดูล้านเลี่ยน จะงอยปากมีขนาดใหญ่สีออกเหลืองเลอะ ซึ่งในฤดูผสมพันธุ์จะมีแต้มสีแดงตรงบริเวณโคนปาก แข้งและเท้าสีน้ำตาลแกมเขียวจนถึงสีคล้ำเกือบดำ นกอายุน้อยขนสีดำค่อนข้างด้าน บนส่วนหัวและลำคอมีขนปกคลุมมากกว่านกโตเต็มวัย นกตะกรุม เป็นนกที่หาได้ยากมากในประเทศไทย เดิมเคยมีรายงานพบที่ จังหวัดศรีสะเกษ, ราชบุรี, ชุมพร, ตรัง, ประจวบคีรีขันธ์ และนราธิวาส และมีรายงานการทำรังแพร่ขยายพันธุ์ที่บริเวณเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย ที่จังหวัดพัทลุง และป่าพรุ ในเขตจังหวัดนราธิวาส ในปี พ.ศ. 2522 แต่ปัจจุบันนี้ เหลือเพียงฝูงสุดท้ายแล้วที่เกาะพระทอง อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา อันเป็นเกาะที่เงียบสงบ ห่างไกลจากการถูกรบกวนโดยมนุษย์ และมีรายงานพบ 2 ตัวที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย เมื่อปลายปี พ.ศ. 2556 ขึ้นฝั่งได้ไม่นาน ฝนตกก็เทลงมา เราเลยทานอาหารเป็นบุฟเฟของรีสอต หัวละ 40 ริงกิตเป็นการตอบแทนที่ได้ช่วยหาเรือให้ ถึงแม้จะไม่บรรลุเป้าหมายก็ตาม |
เราเดินทางต่อไป Tawau 260 กม. บนถนน ขรุขระ มีหลุมบ่อ สลับกับถนนที่สร้างใหม่เสร็จเป็นบางช่วง ใช้เวล 4 ชั่วโมง ถึง Tawauเข้าพักที่ Rooms และน้องนกพัก Cyther Stay Hotel 2 คืน เย็นนี้เรากิน Hot pot มีทั้งปิ้งย่างและสุกี้ แต่จานไม่ใหญ่ คนละ 40 ริงกิต
Day 7
วันที่ 3 เมษา เข้าบ่อ BB pitta
หลังจาก Ambo ติดต่อมาเรื่องขอชื่อ นามสกุลเต็ม ของคนที่จะนั่งบ่อ พร้อม หมายเลขพาสปอร์ต และเบอร์โทร เพื่อไปลงทะเบียนกับกรมป่าไม้แล้วก็เงียบไปเมื่อคืนก็ติดต่อไม่ได้เพราะยังไม่รู้พิกัดหมายที่จะเจอกัน จนเราเริ่มเป็นกังวล แต่ในที่สุดตอนดึกก็ได้รับข้อความ และนัดหมายกันเรียบร้อย วันนี้จะไปเจอกันก่อนเข้าไบล์ด บนเขา ประมาณ6.30
เราไปถึงก่อนเวลานิดหน่อย Amboมาทีหลังทักทายกันเรียบร้อยให้เราขับตามไป อีก 500 เมตร ambo เริ่มจัดการขึงบังไพร OMG ง่ายๆยังงี้เลยเหรอ ขึงบังไพรเสร็จ โรยอาหาร และเปิดเสียง รอ ช่วงรอก็ถ่ายกระเต็น สร้อยคอสีน้ำตาลRufous- collared Kingfisher แถวข้างไบลด์ ไปก่อน สักพัก เจ้ากระเต็นก็เข้าบ่อ รู้งี้ไม่ต้องไปเดินตามข้างนอกให้เหนื่อย กิ่งก่า Borneo Anglehead Lizard ตัว endemic ของบอร์เนียว มาทักทายเรา อยู่หลังไบลด์
ช่วงเช้า เราก็เก็บภาพกระเต็นไปเรื่อยๆทั้งใกล้และไกล ทั้งวันเค้าก็ไม่ไปไหนปักหลักอยู่ที่นี่ นานๆก็จะมีนกจับแมลงป่าโกงกาง ตั้งผู้และตัวเมียสลับกันมาขนอาหารออกไป คงจะมีรังอยู่แถวนี้ แน่นอนกระรอกเจ้าประจำที่ทุกบ่อต้องมีก็มา อีกครั้งที่หลังไบล์ดมีแขกใหม่มาเยือน นกกินแมลงตะโพกแดง Chestnut rumped Babbler เกาะกิ่งที่มีใบปกคลุมหนาทึบ มองทะลุช่องไปไกลๆเรามองตามเสียงร้องและเสียงปีกกระพือปีกขนาดใหญ่เราจอนกเงือกหัวแรด Rhino hornbill อยู่ที่นั่น
Gonocephalus bornensis, the Borneo anglehead lizard or Borneo forest dragon, is an agamid lizard endemic to Borneo in Indonesia and Malaysia, and known from Sabah, Kinabalu, Brunei, Sarawak and Kalimantan |
The rufous-collared kingfisher (Actenoides concretus) is a species of bird in the family Alcedinidae. It is found in Brunei, Indonesia, Malaysia, Myanmar, and Thailand. Its natural habitats are subtropical or tropical moist lowland forest and subtropical or tropical moist montane forest. It is threatened by habitat loss. |
The mangrove blue flycatcher (Cyornis rufigastra) is a species of bird in the family Muscicapidae. It is native to Brunei, Indonesia, Malaysia, the Philippines, Sri Lanka, Singapore, and Thailand. Its natural habitat is subtropical or tropical mangrove forests.[1] Clements splits the Kalao blue flycatcher, Cyornis kalaoensis into a distinct species. The IOC still lists it as a subspecies of the mangrove blue flycatcher. |
The chestnut-rumped babbler (Stachyris maculata) is a species of bird in the family Timaliidae. It is found in Brunei, Indonesia, Malaysia, and Thailand. Its natural habitat is subtropical or tropical moist lowland forests. It is threatened by habitat loss. |
เรากินอาหารเที่ยงง่ายๆที่ติดตัวมาภายในไบล์ดเพราะไม่อยากพลาดโอกาสถ้านกตัวเป้าหมายจะบังเอิญมาตอนนั้น เรารอจจบ่ายแก่ๆ ฟ้าเริ่มปิด ฝนเริ่มปรอยลงมา Ambo เริ่มกาง Flysheet เพื่อให้เราได้นั่งอยู่ต่อได้ เมื่อฝนตกลงมาเล็กน้อยก็มีแสงแดดส่องลงถึงพื้นอีกครั้ง Rufous-winged Philentoma บินผ่านหน้าไบล์ดไปเกาะอยู่ที่กิ่งไม้ด้านข้างตัวเปียกปอน นกหัวขวาน ไม่ทราบชนิดซุ่มอยู่ในเงามืด เรารออยูจนแน่ใจว่าวันนี้เราคงไม่มีโชคจะได้เจอนกแต้วแล้วตัวเป้าหมายแน่นอน เพราะแม้amboพยายามเปิดเสียงอยู่ตลอดเวลาแต่ไม่เคยเลยสักครั้งที่จะมีเสียงร้องตอบ เราก็เลยตัดสินใจกลับด้วยความผิดหวังอีกครั้ง คืนนี้เราพักกันที่เดิม
Day 8
วันที่4 เมษา
วันนี้เรามีเวลครึ่งวันเพื่อเข้า Tawau hill park ขับรถไปประมาณ 40นาที ทางอีกฝั่งของ Tawau hill ที่เราไปมาเมื่อวาน
Tawau Hills Park (THP) is a quiet and relatively undiscovered wonder of nature in southeast Sabah. It is located in the district of Tawau and can be reached by car in an hour from the nearest airport. Gazetted in 1979 under the administration of Sabah Parks, the park contains primary rainforest that is protected from the palm oil plantations that immediately surround it. The approach by car involves a drive along roads surrounded by these plantations until you arrive at the park’s main entrance where the desert of plantations ends and the incredible view of tall dipterocarp trees begins.
Locals can enjoy the park’s facilities near the main entrance for recreational walks and BBQs and, at weekends, the area close to the park’s headquarters may be teeming with people enjoying themselves. Yet most people do not explore further into the park’s rainforest, staying near the main rivers, although if they did they would realise that THP is a naturalist’s dream. The park has three sub-stations, Balung, Merotai and Andrassy and has developed a good network of trails that enable extensive exploration of its forests, from the former ‘Tallest Tree Trail’, which is 900 m long, to the main trail leading both to the Gelas waterfall at 2.4 km and to the sulphur spring which is at 3.2 km. At its headquarters, the park offers rented accommodation of 10 basic rooms and a chalet, as well as a beautiful camping ground. For the bird watcher, there is also a bird-watching tower located not far from the Table waterfall which is just a few hundred metres away from the recreational ground.
Table waterfall |
 จุดที่สองเราเดินตามเทรลขึ้นไปทางน้ำตก ตามคำบอกเล่าของ Ambo ว่าถ้าเงียบๆเรามีโอกาสที่จะเจอ Blue headed Pitta ได้ในช่วง300-800 เมตร ไม่จำเป็นต้องเดินไกลไปกว่านั้น เราเดินไปประมาณ 100 เมตรก็เจอกลุ่มนักท่องเที่ยวที่มีไกด์ท้องถิ่นกำลังชี้เป้าให้ดูลิง Red leaf monkeyตัวที่เป็นไฮไลท์ของที่นี่ ก็เลยเก็บภาพมานิดหน่อย
The maroon langur, maroon leaf monkey, or red leaf monkey (Presbytis rubicunda) is a member of the family Cercopithecidae. It is found on the southeast Asian island of Borneo and the nearby smaller Karimata. P. rubicunda mostly live in forests at altitudes below 2,000 m. They feed on leaves, seeds, and fruits |
Maroon leaf monkeys (Presbytis rubicunda) are endemic to the island of Borneo in Southeast Asia. Their habitat is dense dipterocarpevergreen forest. |
ภาพ โดย Noppawan |
 วันนี้เราไปDinner ที่ร้านอาหารทะเล ตระเวณหาอยู่หลายที่ในที่สุดก็ได้ร้านที่ถูกใจเป็นร้านอิสลามแต่แยกรับแขกเป็น2 โซนคือที่เป็นอิสลามและที่ไม่ใช่ซึ่งมีเบียร์ขายดีใจๆ อาหารรสชาติคล้ายบ้านเราแต่น้ำจิ้มซีฟูดยังัยก็ไม่มีที่ไหนเหมือนบ้านเรา
ที่แรกที่ไป เป็นสะพานปลามืดสนิทดูวังเวง |
Day 9
วันที่5 เมษา
เช้าเดินทางกลับ ไปสนามบิน KK 337 กม. ใช้เวลา 6.30 ชม. แวะพักทานอาหารที่ศูนย์รวมอาหารริมทางคล้ายๆบ้านเรา แต่รสชาติดีกว่า

ขึ้นเครื่อง 17:45 ถึง กรุงเทพ 23:05 จบทริปแบบราบรื่น เสียดายแค่ที่ไม่ได้เจอ Blue band Pitta เป้าหมายอันดับแรกของทริป คงต้องมีวันได้แก้ตัวอีกสักครั้ง …

Ambo post ใน facebook ของเขาหลังจากเรากลับมา 1 สัปดาห์😊😊😊😅 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น