Pha Taem National Park
ในอดีตมีชาวบ้านในพื้นที่โดยรอบเพียงไม่กี่คนเท่านั้นที่กล้าเข้ามาในพื้นที่ผาแต้ม เพราะเชื่อกันว่าผาแต้มเป็นสถานที่ต้องห้ามและภูเขาได้รับการคุ้มครองจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ผาแต้มมีชื่อเสียงในนาม "ภูเขาแห่งความตาย" และใครก็ตามที่ฝ่าฝืนเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยหรือแย่กว่านั้นคือเสียชีวิต ภูมิภาคผาแต้มได้รับการเผยแพร่อย่างกว้างขวาง หลังจากนั้น อาจารย์และนักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร ภาควิชาโบราณคดี ได้ทำการวิจัยและค้นพบภาพวาดโบราณยุคก่อนประวัติศาสตร์อายุ 3,000-4,000 ปี ที่ผาแต้ม บ้านกุ่ม ตำบลห้วยไผ่ อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี
ในภาษาถิ่นเดิมนั้น “แต้ม” หมายถึง การวาดภาพ ระบายสี การตอก หรือการกระทำอื่นใดที่ใช้สีเพื่อสร้างภาพ เครื่องหมาย หรือสัญลักษณ์ เป็นที่ตั้งของภาพวาดยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่มีอายุตั้งแต่ 3,000 ถึง 4,000 ปี
การสร้างภาพเขียนสีสร้างโดย 2 เทคนิคใหญ่ๆ คือ 1. การลงสี (Pictograph) หรือการสร้างภาพด้วยสี ในวิธีต่างๆ เช่นวาดด้วยสีแห้ง(Drawing Withdraw Pigment) เขียนหรือ ระบายเป็นรูป (Painting) พ่นสี (Stenciling) สะบัดสี (Paint Splattering) การทาบหรือทับ (Imprinting) 2. การทำรูปรอยลงในหิน มีวิธีต่างๆ เช่นฝน จารขูดขีด แกะหรือ ตอก ฯลฯ การใช้สีที่พบจะเป็นสีแดงจะสัมพันธ์กับพิธีกรรมที่เกี่ยวกับความตาย เพราะตามแหล่งโบราณคดีหลายแห่งในประเทศไทย มักจะพบสีแดงหรือสิ่งของ สีแดงในหลุมฝังศพงานศิลปะที่ผาแต้ม จึงอาจจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับพิธีกรรมที่เกี่ยวกับความตายของผู้ตายในสมัยนั้นภาพเขียนสีในอุทยานแห่งชาติ ผาแต้มที่พบและมีชื่อเสียงที่สุดในประเทศไทยมีทั้งหมด ๔ กลุ่มตามเส้นทางศึกษาธรรมชาติชื่อว่าศิลปะถ้ำ สีที่คนในยุคโบราณมักใช้ในการวาดคือ หินเทศ ที่จริงแล้วก็คือ หินทราย ชนิดหนึ่ง มีชื่อหลักว่าหินทรายแดง จะพบได้ทั่วไปในพื้นที่ประเทศไทย และจะพบมากในพื้นที่ภาคอีสานซึ่งเต็มไปด้วยภูเขาหินทราย หินทรายแดงจะประกอบด้วยอนุภาคดินทรายแป้งที่ความละเอียดมาก สีเทาปนแดง แร่ที่เป็นองค์ประกอบหลักคือแร่ควอตร์และแร่เหล็กที่เรียกว่า hematite คนในยุดก่อนรู้จักนำเอาหินทรายแดงมาใช้ ประโยชน์โดยเฉพาะตามแหล่งภาพเขียนสีโบราณจะพบว่ามีการนำเอาหินทรายแดงหรือหินเทศมาใช้เป็นวัตถุดิบในการวาดภาพตามผนังถ้ำ ตามหน้าผา หรือวาดลงบนเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ
ภาพเขียนสี ภาพเขียนสีกลุ่มผาแต้มนี้ แบ่งได้เป็น 4 กลุ่ม ตามชื่อหน้าผาเรียงต่อกันไปคือ ผาขาม ผาแต้ม ผาหมอนน้อย และผาหมอน หน้าผานี้หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ภาพเขียนที่ผาแต้มเป็นผาที่มีภาพเขียนเป็นแนวยาวติดต่อกันและมีชื่อเสียงโด่งดังที่สุด
ผาขาม | |
ภาพสีกลุ่มที่1 ภาพปลาขนาดใหญ่ 4 ตัว ยาวประมาณ 0.35 - 1.00 เมตร เขียนด้วยสีแดง แบบเห็นโครงสร้าง |
ผาแต้ม
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEiZ7hkehvezwRjna01IPvpj3bPlFDybl2QfFBnWANcP_Fx_nuhfk9W4fIfq0UercXCvVCbpTIJlHFX5GFWm25QDqWXceF0oPg0caGj0xhHfHcszJfoEs1d5f5EMzoieGUz36QNX18pbZo7d3mZnUbSQUYMCiNd04n8G25x7my9_BLUmfv_i-qOSeQHQ2-vY/s320/IMG_1143.jpeg)
ผาหมอนน้อย | |
ภาพคนสูงประมาณ 1.6 เมตร กำลังเหนี่ยวคันธนูเล็งไปยังสัตว์สี่ขาอาจเป็นวัวท้อง ลำตัวยาวประมาณ 6.4 เมตร ภาพคนสูงประมาณ 1.2 เมตร กำลังไล่สัตว์สี่ขามีเขาอาจเป็นกวางที่บุกรุกเข้าไปในนาข้าว ซึ่งรอบๆภาพกลุ่มนี้มีภาพมือทั้งซ้ายและขวาประมาณ 20 มือ ทำขึ้นโดยการทาสีบนฝ่ามือแล้วขูดสีบางส่วนที่นิ้วและฝ่ามือออกแล้วจึงทาบมือลงบนผนัง | |
ถัดมาเป็นภาพสัตว์สี่ขา 3 ตัว ท้องป่องคล้ายท้องเช่นกัน กับภาพลายเส้นคล้ายตาข่ายดักสัตว์ นอกจากนี้ก็มีภาพลายเส้นคู่ขนานต่อกัน และภาพมือที่มีลักษณะเช่นเดียวกับกลุ่มแรกอีกประมาณ 15 มือ เรียงกันเป็นแถวยาวกับลายเส้นหยักขึ้นลงวกไปมาด้วย ภาพคนและสัตว์ระบายสีแดงแบบเงาทึบ (silhouette) |
ผาหมอน (อาจปิดให้ชม) | |
ภาพทั้งหมดเขียนด้วยสีแดงแบบระบายเงาทึบ (silhouette) ประกอบด้วยภาพคนและสัตว์ กลุ่มแรกมีภาพคนเพียงคนเดียวกับภาพสัตว์สี่ขา 11 ตัว อาจเป็นช้าง วัว สุนัข และหมูหรือแกะหรือแพะเดินตามกันไปในทิศทางเดียวกัน (ยกเว้นสุนัข? ที่หันหน้าเข้าหาฝูงสัตว์) | |
กลุ่มที่สองเป็นภาพคนประมาณ 10 คน เขียนแบบระบายเงาทึบกับแบบกิ่งไม้ มีลักษณะค่อนข้างเหมือนจริง แสดงกล้ามเนื้อน่องโป่งพองด้วย ภาพที่น่าสนใจของที่ผาหมอนนี้คือภาพคนนุ่งกระโปรงยาวครึ่งน่อง ยืนท้าวสะเอว มีขนาดใหญ่กว่าภาพคนอื่นๆ ไม่รู้แน่ว่าเป็นหญิงหรือชาย นอกจากนี้มีภาพมือข้างขวาของผู้ใหญ่แบบพ่น (stencil) 2 มือ และแบบทาบ (imprint) อีก 2 มือ และมือเด็กแบบทาบอีก 2 มือด้วย |
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEg3LupawFvg047IS-Pid3mP79t-bleeG31-9eKfD0ig9Zkm4eWDcMUXSxSpT9TtO7mXu8oiocuvrzsYhcJzgKVOILclpU0QLwHJ9DPgtLRjnltY7gQcJENWUNGHzuaJU9Pu3vzgDSASX95rc5IEWtgVUG_nVBi5K-Y3K5OuEPSnKzip3xEkEptQ69PiDnt7/w640-h456/IMG_1154.png)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น