เมื่อตอนที่ ครบรอบ ๑๑๑ปีเบตง เราได้เดินทางไปเยือนเบตงเป็นครั้งแรกในชีวิต ตอนนั้นเดินทางไปกับเพื่อนสมัยมัธยมเพื่อไปเยี่ยมเพื่อนที่ไปรับตำแหน่งนายด่านเบตง การเดินทางเราใช้รถสองคันขับจากหาดใหญ่ และเพื่อความปลอดภัยเราต้องขับไปโดยใช้เส้นทางของประเทศเพื่อนบ้านคือ ประเทศมาเลเซีย โดยขับออกทางด่านสะเดา วิ่งไปบนถนนเปลี่ยวๆที่มีการก่อสร้างเป็นบางช่วง ผ่านชุมชนค่อนข้างน้อย และไปเข้าไทยที่ด่านเบตง ขากลับก็ ใช้เส้นทางเดิม ไม่มีอุปสรรคปัญหาใดๆ แค่รู้สึกอายๆนิดหน่อยที่เป็นคนไทย แต่ต้องไ หาความปลอดภัยในการเดินทางจากเพื่อนบ้าน ทั้งที่เราก็มีเส้นทางที่สวยงามของเราเอง
ไม่กี่ปีผ่านไป เบตงเริ่มเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวมากขึ้น มีสนามบินสร้างเสร็จแล้วแต่ก็ยังมีปัญหา กับเส้นทางบินเล็กน้อย ดังนั้นการใช้ถนน เส้นทางยะลา-เบตง จึงเป็ทางเลือกที่ดีที่สุด เพราะถนนก็มีความปลอดภัยดีแล้ว
เราเดินทาง จาก กทม โดยไทยสมาย ไปยังหาดใหญ่ใช้เวลา 1 ชั่วโมง พักหาดใหญ่หนึ่งคืน
เช้า วันที่3 มิถุนายน 2566 เราขับรถเช่า ออกจากหาดใหญ่แต่เช้ามืด โดยเราจะใช้เวลาเดินทาง 4 ชั่วโมงกว่าๆก็จะถึงเบตง ถ้าไม่มีการแวะพักที่ไหน แต่ในความเป็นจริงเราก็ต้องมีหมายอยู่ในใจที่ต้องแวะแน่นอนอยู่แล้ว เส้นทางสงขลา-ปัตตานี ช่วงที่เลยทางแยกจะนะออกมา จะเป็นถนนเลียบทะเลสีคราม สวยงามมาก เสียดายที่ต้องขับรถเลยไม่มีโอกาศเก็บภาพไว้ ถึงยะลา เราก็เลี่ยงๆตัวเมืองเพื่อหาอาหารท้องถิ่นทานสำหรับมื้อเช้า ก็ได้ร้านเล็กๆแต่แม่ค้าใจดี เป็นร้านข้าวยำแบบชาวบ้านๆแต่รสชาติดีราคาถูก อิ่มแปร้กันทั่วหน้า
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEgfHNxdLv3aI5bvrZHbMLDK9_uL5owU7YUkKue6a6QcwicRAZIK64PFquZmtBRiG-PinGM2fcSxWDpn-UGz4yCV4wsSjmUX8r-CUt-XPPoW5AE5-2pA0deCbrfQQoGw-SblLunwlZ-KEApWFzPXFnKITLF0Ht54T3fKgnc-IERoPFH1sPjZFP9tTOjYJg/s320/2DE7C362-C632-4A1F-B223-919C9788D1A1.jpeg) |
ปลาเค็มกับมะพร้าวขูด |
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEgpIZPJip32lcUR4NiB0kfrdcyJLfQsTLQprrQg_YCQ8Hq-jnrW3CDYHkFOyvm3x5xzi_iVnv_XcYbluwVxEpaEvK2tBjo5l7StEAKGASwWDFVOw12pkdbuGMHH2IYk2krVlZCFtJNa2numypAYMf8QaZ_uJyavnr-yK_ySHsqBqtsAej6L8sjItYOb9Q/w640-h360/19246FD2-C097-4082-A610-17229A222C66.jpeg) |
ข้าวยำน้ำบูดู |
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEgWJ1W5CjyJxJ1AosC43riazYEywRd4ylIuAPuHsz9IQ0QXrvpof9DGZ97tUd6m940khZVupwuLAqa3Pj1iEdYFGoR7DwFLH3k52MyICMJDYg2h2r3-_eDBhA9w1hYY4jU4Jbv40B0_cG1ipvGfPL7OEyxF2CR7-SctEGvyAI_vCxF3W9N4NFTOVor6gQ/w320-h180/B27F72FD-C3C9-4D8C-B579-91C8D4DEAC06.jpeg) |
ขนมทำจากข้าวเจ้าบดอัดเป็นแท่งแนวกับมะพร้าวเคี่ยวน้ำตาล |
ออกเดินทางต่อไปยังเป้าหมายแรก หมู่บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา10 ใช้เวลา 2 ชั่วโมงนิดหน่อย ก็ถึงอัยเยอร์เวง ก่อนจะเข้าป่าก็ควรจะเติมอาหารกลางวันให้เต็มท้องก่อน ทั้งที่มื้อเช้ายังไม่หมดเลยแต่จะเป็นต้อง เซฟไว้ก่อนเพราะเข้าถนนเส้นเล็กคงจะหาร้านลำบาก
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjdDYsubdStbTufh6glQmWpL6bi_MR_BT85ogpYU8omFrpvmCFk5khU3A_rTKZpdFGXY_TkrZyq7loYNKN2_3hbFIjzIlJUxsvzfo-uIzmudh0iiDC2fTnCcZT32S2nnNHNPYoRHqhAYPSsGHt4SIDNR1YyNS7jyJ03Xn3PVzCX3bfR9sUxwidIdQQy5w/w640-h360/0BFC87A9-6A53-4902-85B6-3ED8B2788925.jpeg) |
แน่นอนไก่เบตงต้องมา |
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjEEuThjIwASwNF8tDlXNbJjD9WdfAYoltcbb6XAHOBk7BaR3T78ZIWdvvW3UW2mxxNg1U-WvbuASGGM7_E_K7Vv2Y2PyxaffkHL4uTjo0YzspvuhBqrVmckBiW_qb_ELl1WLLwfrFMUh-LtV2DN49f8PVEv14-BSIHo3RqE60rU59fbuJqjv5XfaEHyw/w640-h360/173C6FF9-1F38-493D-AFDE-DB317D2C2E84.jpeg) |
น้ำพริกกุ้งเสียบ |
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEi9HY_puoREFX0k0tYYPNtJ0K0AmIj-Rwsv-z3lZ2uu_mu-xLaGAq3CHghUn3yEewG8waz1L3RFyaIJ1H_CzquI1sbIRQO2vsrNjTaV-JSuoAPDjaEyoIyUpE-hsgWhVUk8rtHy8SXl7UhZ7xNIoPU5mpOiveiuB0NUiUmCjS5a0QgxE2FNGtVYXDa2Sg/w640-h360/D20C1D8C-7FA3-449E-9283-114500300789.jpeg) |
แก้เผ็ดด้วยไข่เจียว |
ทุกอย่างจานใหญ่ ท้องก็ยังย่อยมื้อเช้าไม่หมด น้ำพริกกุ้งเสียบจะทิ้งก็เสียดาย แถมยังมีมีต้มยำเห็ดรวมอีกถ้วย เลยตกลงกันว่ากินไก่แค่นิดหน่อยพอ ที่เหลือแพคไว้กินมื้อต่อไป
ทานอาหารเรียบร้อย ก็เดินทางไปเข้าเทรล
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/a/AVvXsEh5A3DYMSEFl_muQBaQgUg9-e81iQv3eA1XqTPR0-_HnL3lhPyCt2wrrrEdleEhVQsGj7FMHEaqf28t_8PSej0sdoYmad-14GIBGgr8YpqmF5Yx4DyjvWFgdpD3O8Cxz78q3Dyt7-KUDZlUhb2AwMPiJwH6Q9tV7JMI4mZoWws_XHCNG6xMP-0VVKRgAA=w480-h640) |
บริเวณรอบๆโคนต้นไม้ยักษ์นี้เล่ากันว่า เรามีโอกาสเมดแมลงได้หลากหลายแต่วันนี้ไม่มีเวลาแล้ว |
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEgBiULDNfUITnWN1oTHUwqxFPavXxEs1hzQ0Dx7Z3Fg_GX77euv8AvOTmU8uSnhx_GIf1UjWp6kKnmUAjYbhNek2FL5UaxlrRkKLL2U1_QG7itkUkqKT_JIKda-g04INwnKtek0-3T-FqtDnBlaqb4dMEKEM_ENdYkJ9UQF4quocJF8C5T9BIxZhIh4pw/w640-h480/98C01FAB-3889-46FA-B162-14776C299A2F.jpeg) |
เค้าถ่ายอะไรอยู่นะ |
Sundacypha petiolata (Selys 1859)
แมลงปอเข็มห้วยเหลืองส้ม
Sundacypha petiolata (Sunda Jewel) is a damselfly species under family Chlorocyphidae. Its hindwing measures up to 21 mm. The male has red abdomen and broad dark patch on hindwing. While the female has brown colour with slight infuscation at the tips of both wings. This damselfly maintains their territories on the leaf packs and displayed the hindwing to the opponent during aggressive encounters. S. petiolate is widespread in Sundaland except for Java. It can be found on sluggish, alluvial brooks, clear and swift streams in dense lowland forest (Orr, 2005).
Sundacypha petiolata (Sunda Jewel) เป็นสายพันธุ์ damselfly อยู่ในวงศ์ Chlorocyphidae ปีกหลังวัดได้ถึง 21 มม. ตัวผู้มีท้องสีแดงและมีรอยดำเป็นวงกว้างที่ปีกหลัง ส่วนตัวเมียมีสีน้ำตาลและมีรอยดำเล็กน้อยที่ปลายปีกทั้งสองข้าง ชนิดนี้จะรักษาอาณาเขตของตนไว้บนใบไม้ และจะขัดขวางการเข้าในพื้นที่ของชนิดอื่น S. petiolate แพร่หลายใน Sundaland ยกเว้น Java พบได้ตามลำธารไหลเอื่อยๆ ลำธารใสและไหลเชี่ยวกรากในป่าที่ราบลุ่มทึบ (Orr, 2005)
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEgX1H-4Kq1Kumhft_kXkSD4solNmHxXdkBEUHC2MOC0wy_zrDBznyj1nMblBU8CcUsE6BoXW5VTCnDTt83T4EqM0gzHYMm6Qb_J40dfdeHE7k8-rHFyz3wiOukP-2oDGSX7BvnMaqNWCZ6UVGa9mGznl2TvyRLG_pCDbL82Sfn29gLmWdsGcZuV3tyB_w/w640-h426/F6AB5B2B-4519-4F8F-B3D5-74E3C3444990.jpeg) |
เป็นชนิดหายาก ในประเทศไทยมีรายงาน ที่ยะลา และนราธิวาส
Devadatta argyoides (Selys 1859)แมลงปอเข็มก้าน ปีกยาวใต้
Devadatta argyoides (Malayan Grisette) is a common damselfly species in family Devadattidae. It is quite robustly built but rather nondescript in brown colour. Its head is weakly metallic and the hindwing may measure up to 27.5 mm for male (Orr, 2005). Female has similar colour markings as male. A subspecies, Devadatta argyoides tiomanensis, occurs on Tioman Island, and this subspecies is slightly different from Devadatta argyoides argyoides by having dark wing tips (Lieftinck, 1954; Dow, 2011; Choong et al. 2017). Malayan Grisette inhabits in a variety of small forest streams, including disturbed forest up to 1,600 m above sea level (Orr, 2005; Dow, 2011). It is widespread in Peninsular Malaysia, Singapore, Sumatra and southern Thailand (Orr, 2005; Tang et al., 2010; Dow, 2011). The larvae can be found in streambeds, hiding among the debris of leaves in riffles and under dead wood (Orr, 2005). . |
Devadatta argyoides (Malayan Grisette) เป็นสายพันธุ์ damselfly ทั่วไปในวงศ์ Devadattidae รูปทรงค่อนข้างแข็งแกร่ง แต่ค่อนข้างอึมครึมด้วยสีน้ำตาล หัวเป็นสีโลหะอ่อนๆ และปีกหลังอาจวัดได้ถึง 27.5 มม. สำหรับตัวผู้ (Orr, 2005) ตัวเมียมีสีแต้มคล้ายตัวผู้ ชนิดย่อย Devadatta argyoides tiomanensis เกิดขึ้นบนเกาะเตียวมัน และชนิดย่อยนี้แตกต่างจาก Devadatta argyoides argyoides เล็กน้อยตรงที่มีปลายปีกสีเข้ม (Lieftinck, 1954; Dow, 2011; Choong et al. 2017) Malayan Grisette อาศัยอยู่ตามป่าลำธารเล็กๆ หลายแห่ง รวมถึงป่าที่ถูกรบกวนซึ่งอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 1,600 เมตร (Orr, 2005; Dow, 2011) พบแพร่หลายในคาบสมุทรมาเลเซีย สิงคโปร์ สุมาตรา และภาคใต้ของไทย (Orr, 2005; Tang et al., 2010; Dow, 2011) ตัวอ่อนสามารถพบได้ในลำธาร ซ่อนตัวอยู่ตามเศษใบไม้ในร่องน้ำและใต้ซากไม้ (Orr, 2005)
Lyriothemis biappendiculata Selys, 1878 แมลงปอบ้านมนท้องแดงปลายดำ
Lyriothemis biappendiculata (Red-and-white Bombardier) is a species of dragonfly in the family Libellulidae. Its hindwing may measure up to 29 mm. It has a bright red, very broad and flattened abdomen, genitalia on segment 2 with twin prongs projecting straight downward. Mature specimens have developed strong white pruinescence on the synthorax while the immatures have reddish brown on its thorax (Orr, 2005).
Red-and-white Bombardier can be found in swampy forested areas with an altitude up to 600 m from sea level, including semi-disturbed forest and also occurs in the vicinity of seepages. It is widespread in southern Thailand and Sundaland except Java (Orr, 2005). L. biappendiculata is threatened by deforestation, plantation establishment and large-scale hydroelectric projects (Dow, 2011).
Lyriothemis biappendiculata (Bombardier สีแดงและขาว) เป็นแมลงปอชนิดหนึ่งในวงศ์ Libellulidae ปีกหลังของมันอาจวัดได้ถึง 29 มม. มันมีสีแดงสด ท้องกว้างและแบนมาก อวัยวะเพศในปล้องที่ 2 มีง่ามคู่ยื่นลงมาด้านล่าง ตัวอย่างที่โตเต็มวัยจะมีรอยช้ำสีขาวที่แข็งแรงบน synthorax (ที่พบในเมืองในไทยในจุดนี้จะไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงแบบนี้มากนัก)ในขณะที่ตัวที่ยังไม่โตเต็มที่จะมีสีน้ำตาลแดงที่อก (Orr, 2005)
Bombardier สีแดงและสีขาวสามารถพบได้ในพื้นที่ป่าแอ่งน้ำที่ระดับความสูงไม่เกิน 600 ม. จากระดับน้ำทะเล รวมถึงป่ากึ่งรกร้างและยังพบในบริเวณใกล้เคียงกับจุดน้ำซับ
พบแพร่หลายในภาคใต้ของประเทศไทยและดินแดนซุนดา ยกเว้นเกาะชวา (Orr, 2005) L. biappendiculata ถูกคุกคามจากการตัดไม้ทำลายป่า การปลูกป่า และโครงการไฟฟ้าพลังน้ำขนาดใหญ่ (Dow, 2011)
เทรลที่นี่ถือว่ามีHabitat ที่น่าค้นหามาก แต่เนื่องด้วย มีละอองฝนโปรยมาเล็กน้อยและแสงก็เริ่มหมดทำให้เราตัดสินใจกลับกันก่อน ไว้วันหลังจะมาเยือนใหม่
ตอนเย็นก่อนเข้าพักที่โรงแรมเล็กๆที่ออกมานอกตัวเมืองนิดนึง เพราะที่พักในเมืองถูกจองเต็มหมด เพราะเป็นช่วงหยุดยาวทั้งของไทยและของมาเลเซีย ดังนั้นก็คงได้แค่เข้าไปโดนชมเมืองนิดหน่อยให้ได้ชื่อว่ามาถึงแล้ว
เบตง หรือที่คนในท้องถิ่นเรียกว่า บือตง เป็นอำเภอที่มีขนาดใหญ่ที่อยู่ในจังหวัดยะลา นับเป็นอำเภอที่ตั้งอยู่ใต้สุดของประเทศไทย โดยมีลักษณะเป็นหัวหอกยื่นเข้าไปในประเทศมาเลเซีย ตั้งอยู่ในแนวทิวเขาสันกาลาคีรี มีเนื้อที่ประมาณ 1,328 ตารางกิโลเมตร ห่างจากตัวเมืองยะลาประมาณ 140 กิโลเมตร และห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 1,220 กิโลเมตร ด้วยภูมิประเทศของอำเภอเบตงส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูงจึงทำให้เบตงมีอากาศดี และมีหมอกตลอดปี ดังคำขวัญประจำอำเภอที่ว่า “เมืองในหมอก ดอกไม้งาม ใต้สุดสยาม เมืองงามชายแดน”
อาหารหละ
ร้านต้าเหยินขายไก่เบตง เคาหยก ผัดผักน้ำ หมี่เบตง ร้านตี๋แตงโม บะกุดเต๋ หน้าตลาดสดเทศบาล ร้านไทซี่ฮี้ ขายติ่มซำ ร้านข้าวมันไก่เบตง แถวสะพาน ใกล้ๆ องค์การโทรศัพท์ เฉาก๋วยเบตง ปากทางเข้าบ่อน้ำพุร้อน กม.4บ้านไม้ ข้าวแกงบ้านคุณชายค่ะ อ้อ ชื่อร้านบ่อปลา แกงส้มหร่อยค่ะทั้งหมดนี้ไม่มีโอกาสได้ไปกินเลยครับ เพราะมหาชนจากทั้ง2 ประเทศ ที่มาชุมนุมกันอยู่ที่นี่ งั้นมื้อเย็นก็เลือกร้านเล็กที่บังเอิญมีที่ว่างให้เสียบจอดรถได้คันนึงพอดีตั้งแต่มาถึงตอน 4 โมง สั่งผัดถั่ว 1 จาน กับ เคาหยก อีก1 จาน และ ไก่เบตง ที่เหลือจากมื้อกลางวันอีก 1 จาน ช้างหนึ่งขวด ก็ เป็นมื้อที่สุดยอดอีกม้ือ
เช้าวันที่ 5 มิย 66 ขับรถขึ้นไปชม สวนดอกไม้เมืองหนาว ที่ชาวมาเลย์ก็อุตส่าห์มาชมกัน
ลำโพงกาสลัก (อังกฤษ: Thorn Apple; ชื่อวิทยาศาสตร์: Datura fastuosa L.) หรือ มะเขือบ้าอินเดีย หรือ ลำโพงดอกชมพู เป็นพืชล้มลุก ประเภทเดียวกับมะเขือ ชื่อพื้นเมืองเช่น มะเขือบ้าดอกดำ เมื่อโตเต็มที่มีความสูงประมาณ 1-1.5 เมตร ลำต้น กิ่ง และก้านใบมีสีม่วงเข้มดำมัน ใบเดี่ยว รูปไข่ สีเขียวเข้ม เรียงสลับกัน กว้าง 8-15 เซนติเมตร ยาว 10-20 เซนติเมตร ขอบใบหยักเป็นซี่ฟันหยาบ ๆ ฐานหรือโคนใบมักไม่เสมอกัน ดอกมีสีม่วง ขนาดของดอกยาวประมาณ 12-16 เซนติเมตร ก้านดอกสั้น เมื่อดอกโตเต็มที่ปากดอกจะบานออกดูคล้ายรูปแตร ขนาดของดอกยาวประมาณ 12-16 เซนติเมตร ก้านดอกสั้น ดอกมักจะซ้อนกัน 3 ชั้น เป็นส่วนใหญ่ ถ้าเป็นพันธุ์ผสม ดอกจะซ้อนกัน 2 และ 4 ชั้น ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด ลำโพงจัดอยู่ในประเภทเป็นพืชที่มีพิษ มีถิ่นกำเนิดในอินเดียและชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน มีฤทธิ์หลอนประสาท
สถานีต่อไป ระหว่างที่แม่บ้านไปชมถ้ำ ผกค.ในตำนาน เราก็มีไกด์อู่ ผู้เชี่ยวชาญด้านผีเสื้อมาพาชมบ่อมหรรษจรรย์แห่งเบตง ซึ่งในตอนแรกก็ไม่รู้สึกตื่นเต้นเท่าไหร่ เพราะเจ้าแมลงปอที่บอกเล่าว่าจะเจอที่นี่ได้คือตัวไหน บ้างซึ่งเราก็เคยเจอมาเมื่อปีที่แล้ว จาก ฮาลา บาลา
Prodasineura collaris (Selys 1860)
แมลงปอเข็มท้องเข็มปลอกคอฟ้า
Prodasineura collaris is a species of damselfly in the family Platycnemididae. Its hindwing may measure up to 19 mm. This damselfly has very broad and leaf-like blue marks on the synthorax, transverse blue bands on its head, with pale anal appendage and blue above superior anal appendage. The female is quite similar in appearance to the male but the blue bands on its thorax are narrow (Orr, 2005). It is commonly found in sluggish lowland forest streams area and is widespread in Sundaland (except Java), Thailand and southern Burma (Orr, 2005).
Prodasineura collaris เป็นสายพันธุ์ของ damselfly ในวงศ์ Platycnemididae ปีกหลังของมันอาจวัดได้ถึง 19 มม. แมลงปอเข็มชนิดนี้มีมาร์คเป็น สีน้ำเงินที่กว้างมากและคล้ายใบไม้บน synthorax แถบสีน้ำเงินตามขวางบนหัวของมัน โดยมีระยางค์สีซีดและสีน้ำเงินเหนือรยางค์บนทวาร ตัวเมียมีรูปร่างหน้าตาค่อนข้างคล้ายกับตัวผู้ แต่แถบสีน้ำเงินที่หน้าอกแคบ (Orr, 2005) พบทั่วไปตามป่าลำธารที่ราบลุ่มเอื่อยๆ และแพร่หลายในดินแดนซุนดา (ยกเว้นเกาะชวา) ไทย และพม่าตอนใต้ (Orr, 2005)
Orthetrum pruinosum Burmeister, 1839
แมลงปอบ้านอกม่วงโคนท้องฟ้า
Orthetrum pruinosum is a species of dragonfly in the family Libellulidae. It is commonly known as Crimson-tailed Marsh Hawk. It can be found in clear and well-lit forest streams over a range of current speeds and substrates with an altitude up to 1000 m above sea level. The male individual has relatively short abdomen; deep red with blue pruinescence at the base and well-defined brown patch at the base of hindwing. The female is mainly brown. Its hindwing may measure up to 35 mm (Orr, 2005). Crimson-tailed Marsh Hawk is widespread in Sundaland and to the north in tropical Asia (Orr, 2005). It is categorized as least concern in the IUCN Red List (Sharma, 2010).
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEgmIbU5Ywkb5xFUzsvy1kIrBJQuLFbe6BDXXeoaKC8vPVRm2CBdF1N-ZHwjjzSLnEUqJM23SC45z6yy7vyBXqx5oAbB9_ZTNEZYLh-GIy2IQhJGziZx5ba6TGM1F6XT-W_9oVtSQdR3Gld6oucDJKkGJMbaNqWCmekQkim_m5aBJbUDxZXpaC5A1BkufA/s320/849174B0-4063-431E-8A22-DDBD834DD02D.jpeg)
Orthetrum pruinosum เป็นแมลงปอชนิดหนึ่งในวงศ์ Libellulidae เป็นที่รู้จักกันทั่วไปว่าเป็นเหยี่ยวมาร์ชหางแดง พบได้ในลำธารในป่าที่ใสสะอาดและมีการไหลของน้ำที่เหมาะสมและมีแสงสว่างเพียงพอ พบที่ระดับความสูงไม่เกิน 1,000 ม. จากระดับน้ำทะเล ตัวผู้มีช่วงท้องค่อนข้างสั้น สีแดงเข้มมีลายเป็นสีน้ำเงินที่ฐานและลายสีน้ำตาลชัดเจนที่ฐานของปีกหลัง ตัวเมียมีสีน้ำตาลเป็นหลัก ปีกหลังของมันอาจวัดได้ถึง 35 มม. (Orr, 2005) เหยี่ยวมาร์ชหางแดงมีแพร่หลายในซุนดาแลนด์และทางตอนเหนือของเอเชียเขตร้อน (Orr, 2005) จัดอยู่ในประเภทที่น่ากังวลน้อยที่สุดใน IUCN Red List (Sharma, 2010)
ตัวที่ถือได้ว่าเป็นไฮไลท์สำหรับวันนี้ เพราะยังมีการพบเจอไม่มากนักในประเทศไทย อาจจะมีแค่ 1หรือ2 ครั้ง ก็คือเจ้าปีกราบตัวนี้
Podolestes orientalis Selys, 1862
แมลงปอเข็มปีกราบอาคเนย์
Podolestes orientalis or Blue-spotted Flatwing is a damselfly species commonly found in lowland swampy forest, on rivulets, puddles and small streams. It likes to outspread their wings when perching. It is known from Peninsular Malaysia, Borneo and Sumatra (Orr, 2005; Dow, 2009). In Sarawak, it occurs in both freshwater and peat swamp forest but sometimes it is also on streams in lowland mixed dipterocarp forest (Dow, 2009). Male individual of Blue-spotted Flatwing has inferior anal appendage with tuft of setae and superior anal appendage which is bent downward. The white pterostigma is present in immatures while the female has a similar blue marking to male (Orr, 2005).
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEh2xVkt1PDvrLVnZr2A-i8DdsH-VrHfwhYxxmIiVqXqrtzAU5fgoncdTcC6ZqCUHPz3GAYMTJZeNfql8M5LcbSdEQqRBEeNaqFFIUvihIw15lLMILzkg5kE-C9KtG0nqY0zS6iIqzBjNSPJrpc2BGSo90oycL9ma_BkYhrf_ua3riz_hVHVG3YmUnLk9Q/w400-h280/69931BA2-5E45-4A09-85C5-B203172A3BD9.jpeg) |
ภาพ โดย noppawan |
Podolestes orientalis หรือ Blue-spotted Flatwing เป็นสัตว์จำพวกแมลงปอเข็ม(damselfly )ที่พบได้ทั่วไปตามป่าพรุที่ลุ่มต่ำ ตามลำธาร แอ่งน้ำ และลำธารเล็กๆ ชอบกางปีกออกเวลาเกาะ เป็นที่รู้จักจากคาบสมุทรมาเลเซีย บอร์เนียว และสุมาตรา (Orr, 2005; Dow, 2009) ในรัฐซาราวักพบทั้งในป่าน้ำจืดและป่าพรุ แต่บางครั้งก็พบในลำธารในป่าเต็งรังที่ลุ่มต่ำ (Dow, 2009) ตัวผู้ของ Blue-spotted Flatwing มีรยางค์ด้านล่างที่มีกระจุกของ setae และส่วนบั้นท้ายที่เหนือกว่าซึ่งโค้งงอลง ปานเตอโรสติกมาสีขาวมีอยู่ในสัตว์ที่ยังโตไม่เต็มวัย ในขณะที่ตัวเมียมีจุดสีน้ำเงินคล้ายกับตัวผู้ (Orr, 2005)
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/a/AVvXsEhWda-bX24k73Y7q3V9KYNX1CyanW0t4Bb9yXVv8VQK4AII85_4rPXVZHvmVS_sS2qm45EDRENsBjkP_D6SeLwEWiBSyM3JohphPqrvbn5qD424_m1cdvETjU6PlT7eJhrRSSPEQyfwA8GCp4i9bxyJHZ-SggZ5pOho2n-emANq9aUR3a3qlaByN34oLQ) |
แมลงปอบ้านไพรลายเขียว |
จบจากชมแมลงปอก็ไปต่อกันด้วย ผีเสื้อเฉพาะท้องถิ่นเบตง
Sinthusa malika amata Distant, 1886 : Spotted Spark / ผีเสื้อวาวครามใต้จุด
Sinthusa malika is a species of butterfly of the family Lycaenidae. It is found in South-East Asia.
![Sinthusa malika2.JPG](https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/7/78/Sinthusa_malika2.JPG/200px-Sinthusa_malika2.JPG)
SubspeciesEdit- Sinthusa malika malika (Java)
- Sinthusa malika amata Distant, 1886 (southern Thailand, Peninsular Malaya, Langkawi, Sumatra)
- Sinthusa malika niasicola Fruhstorfer, 1912(Nias)
ReferencesEdit
Suasa lisides suessa de Niceville,1893 : Red Imperial / ผีเสื้อหางริ้วแดง
Thamala marciana marciana (Hewitson, 1863) : Cardinal / ผีเสื้อสุริยัน
Thamala |
---|
![RhopaloceraMalayanaXXIII.jpg](https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/d/dd/RhopaloceraMalayanaXXIII.jpg/220px-RhopaloceraMalayanaXXIII.jpg) |
Thamala marciana in Rhopalocera Malayana (figure 16) |
Scientific classification |
---|
Kingdom: | |
Phylum: | |
Class: | |
Order: | |
Family: | |
Genus: | Thamala
|
Drupadia ravindra moorei (Distant, 1882) : Common Posy / ผีเสื้อแต้มแสดธรรมดา
จบจากหมายผีเสื้อ ก็ไปต่อที่หมายสุดท้ายของวันนี้ เป็นร่องน้ำเล็กๆริมถนนเลียบลำธารมีแมลงปอเข็มท้องยาวพี่น้องสองชนิด และมีแมลงปอเสือถิ่นใต้อีก1 ชนิด
Leptogomphus risi Laidlaw 1932
แมลงปอเสือปลายแผ่ดำ
Leptogomphus risi is a slender and medium-sized gomphid with greenish yellow markings on the body. Its hindwing may measure up to 30 mm. This dragonfly has round, pale superior anal appendage while its inferior anal appendage is very broad, as long as superior anal appendage with lateral synthoracic markings distinctive (Orr, 2005). L. risi is rare and known from lowland forest streams, including disturbed forest (Dow, 2011). It occurs in Peninsular Malaysia and southern Thailand (Orr, 2005).
Leptogomphus risi เป็น gomphid หรือแมลงปอเสือขนาดกลางที่เรียวยาว มีจุดสีเหลืองแกมเขียวตามลำตัว ปีกหลังของมันอาจวัดได้ถึง 30 มม. แมลงปอชนิดนี้มีรยางค์เหนือก้นกลม สีซีด ในขณะที่รเยางค์ล่างกว้างมาก ตราบเท่าที่บั้นท้ายเหนือมีเครื่องหมายซินโธราซิกด้านข้าง (Orr, 2005) L. risi หายาก พบได้จากลำธารในป่าที่ราบลุ่ม รวมถึงป่าที่ถูกรบกวน (Dow, 2011) พบในคาบสมุทรมาเลเซียและภาคใต้ของประเทศไทย (อร, 2548)
แมลงปอเข็มท้องยาวฟ้าสองขีด
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEh8V6Kaf2Guv5hmpXZ0PlLBgCx9ISc5ssXtlVsKpSLwdjsl17qcinetUyKN511fj8gXFmhjroWX4z7mssxSuw4E1yNP5_vE6jTUlx24osKBqhxwqlQtdSMCVKzWnGitRVnNiXrHBiecRKbyhOi0Ld5GKefSuZ-O2PRHMNsZn7-kfcTy11I8r-fvoJP5gQ/w640-h426/E3322293-3206-4A08-9D7A-E52461FDCECD.jpeg) แมลงปอเข็มท้องยาวฟ้าปลายขาว
|
วันนี้พวกเราเพลิดเพลินกับธรรมชาติจนลืมไปว่ายังไม่ได้ทานอาหารเป็นมื้อจริงจังเลยตั้งแต่เช้าจนถึงบ่าย2 ก็เลยต้องจบ การค้นหา และ ไปตามหาอาหารใส่ท้องบ้าง และเนื่องด้วยวันนี้เป็นวันส้มตำสากล เลยตกลงไปจะไปกินส้มตำที่ร้านหัวสะพานตามคำแนะนำของไกด์เจ้าถิ่นและก็ไม่ผิดหวัง
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjVNSY0XIeTlnp2_OctpMPABgB5kPcFdVSK9gl5jtJfrttmG8rzvJxTI_hFh5FSkI8WCx6w6KTsVGWEOyg2CfcVYh_a-yyqcXQrBjz4GFX8eoMK6wgWBhtqx-P-hd1FsJWBub1NZWVxq156b0B6gtVJUccLshgGmfvlCst3aiJzyXFE0rIw7ReW1jlHbw/w640-h360/875626B8-7653-43E6-8D37-7FB8BF6537A4.jpeg)
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjS0cB_H4DDNY5HnL7JRDrzssy64ep8Zye9YLl5brpgR104vbTaeO_e-O5zXUxSFQNHgDYFzCtidMjpuwJ8KvqqF8TKZx9h21wUZPZI9nu8wT8AKVM1cNRCew-qDr_QnPYrQLZklAMetCssgxhKnGlxzqQl2YrdVBmYpGPUudQpBq3hBUNtPquuXpVRIQ/s320/6A379CFF-891D-43CB-8ED2-80BAADF51232.jpeg)
|
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/a/AVvXsEgT-SZFmB_C9dhvP2ClyHUImpdDwuiIu-sSVo9zc89WP8o3dVRWjTuyInm2pOjjI1greH96VY1Se5kCppUOpS1mHmg7HAbzFT3Cci1pz9ZwjO0TilIPMIobazKpiByOqqy398dqhzCFQHvUn8oA5ZEqlWvxPrtkrWL5uobc27SsO46s7UJ9a7Amcq41Sg=w640-h360) |
ไก่แดดเดียวอร่อยมากๆๆ |
05/06/23 เราเชคเอาท์และออกเดินทางตั้งแต่ตีห้าเพื่อเดินทาง 1 ชั่วโมงไปชมจุดเชคอินสุดฮิตของเบตง ทะเลหมอกอัยเยอร์เวง
จากภาพถ่ายของนก noppawan จะเห็นบรรยากาศที่หอชมวิวถูกปกคลุมด้วยหมอกสลับฟ้าเปิดเป็นช่วงๆอากาศเย็นกำลังดี สวยงาม
ชมหมอกที่ก็ไม่ถึงกับเป็นคลื่นทะเลและติ่มซำที่ร้านสวัสดิการเสร็จสรรพก็ออกเดินทางต่อไปยัง อุทยานแห่งชาติสันกาลาคีรี ซึ่งใช้เส้นทางที่แยกไปคนละทางกับขามาเส้นทาง ดูสวยงามน่าเกรงขามเพราะนอกจากจะมีด่านและบังเกอร์ทหารแล้วบางช่วงกีมี ตชด. ถืออาร์พีจีเดินตระเวณ ถวริมถนนอีกด้วย
ทางเข้า อช. ช่วง 300 เมตรสุดท้ายจะเป็นถนนลูกรังที่ถูกน้ำเซาะเป็นร่อง จนเกือบทำให้พวกเราถอดใจกลับ แต่ในที่สุดก็ไปถึงจนได้ ที่อช.ดูเงียบๆแต่คิดว่าป่าคงมีความอุดมสมบูรณ์ดีอยู่ เพราะเดินในเทรลแค่20กว่านาที ก็โดนทากกัดไป3 ตัว ต้องหนีกลับมาเดินเล่นในลำธาร เผื่อจะเจอยักษ์วางไข่บ้าง แต่วันนี้ไม่มีโชค ไม่ได้อะไรติดกล้องกลับบ้านเลย
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEiuN4xQg4XO15p9FtVV-fceO9qpy8XtmsF-k-65bUAFReHprJANm4sQiQ9wjbjFX-szkTThJ3ykNH6uGthed8D8pJZPdjgWiq2oK3EO2Qwgz-cQ_r-GlXL2yNX6rNxq2Ert-jXue_xMt0HDVIXvu96I8af9HpIuxSG3W75MCjIQPx34jXFrubxtibXUog/s320/0DDF9EDB-C178-4E83-83D2-5DDAA882DB7B.jpeg)
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEh-ArQ0wMs74QELIGfqjNxlK-v2NI2Nnj29-r7_bPpP0wfu7lkYVpj6-awyZX0gvOLUIVQGz-vcindGjAbIKkYtH3Bv0wfMo7EFt9aHpUUrQrMpKgFs8mtnjyeFexWvB_DJXIMyeRfmwsN03t8zZTJbBEljmCSh5CC3YUzsYlhauZCVFLACNRJm6Bxj0Q/s320/9ECB69B9-D557-4D0A-9BED-E83175E08E3A.jpeg)
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEiQOEiIpPxJAOfm_c3iIxP_DEYS_jL8qf2rXHWi7dIVJ9wbricZtnDSLghPEpfofUvewYb0qomt9zEgQVB5pWWXxRcPK36PhFz_ZphyWzQu1ZmklX8egIG6Ttb268y0zV2WxiaePhXrCn_Wwy7cwR7FLI7RpGqxIaiF-JaXJKDxQdo4vT0COBNPOgSIaA/w640-h426/00827595-2C96-4136-B21F-8E6E16D4C772.jpeg) |
กิ่งก่าบินเกี๊ยวกันแต่ดูเหมือนจะไม่สำเร็จ |
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/a/AVvXsEhxxnNAJvFjbnfHtYvTDLfkwN79h0gYkB6FhvYV9SFa0zraRHnILeRRG-wsWSQae6A1HT9nRMVrxSwrgjLvNILkdHi_6kVtvEchD-Wz5GtfNbQDvs80xNxZCNEC9WrBed8xT7OLAe4XNmkqVdaoU5GcmCYWqk6Qwxj0B8Esvs_vFcEu5IqKgF-oRnaTrA=w300-h400) |
เปิดและมาปิดทริปที่ส้มตำร้านเดิม รอเวลาเข้าเชคอินที่สนามบินหาดใหญ่
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น