วันอาทิตย์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

บันทึกการเดินทางก่อนจะลืม ทริป central & southern Vietnam

Day1   Bangkok - Ho Chi Minh -Cat Tien national park 10th Feb 2023

การเดินทางจากไปเวียตนาม ทริปนี้ เราใช้สายการบิน แอร์เอเชีย ค่าโดยสารไปกลับ 5พันกว่าๆ ออกเดินทาง จากดอนเมือง 7.40 นั่นหมายถึงว่าออกจากบ้านประมาน ตั้งแต่ตี4 เช็คอินออนไลน์เรียบร้อยตั้งแต่เมื่อวาน วันนี้มาถึงสนามบินรอสมาชิกพร้อม ก็ไปเข้าแถวรับตั๋วเวลา 5.40  แถวย้าวยาว กว่าจะได้โหลดกระเป๋า 6 โมงครึ่งแวะแลกเงินดอลล์นิดหน่อย ผ่านตม.มาได้ ก็แวะร้าน S&P สั่งอาหารง่ายๆแต่ใช้เวลาเตรียมนานมากจนเราเริ่มกระวนกระวาย เพราะได้เวลาขึ้นเครื่องแล้ว แต่ในที่สุดก็ได้ขึ้นเครื่องขบวนสุดท้ายพอดี ไม่ต้องโดนประกาศเรียกชื่อให้ได้อาย เครื่องออกตรงเวลาดี งีบบนเครื่องได้นิดหนึ่งก็ถึงเป้าหมายเวลา 9.15 เวลาเวีตยนามกับไทยจะเท่ากัน


      เคยอ่านรีวิวความไม่ประทับใจของขั้นตอนการเข้าเมืองที่สนามบินเวียตนามก็เตรียมใจไว้ว่าจะต้องเจออะไรบ้าง แต่พอเอาเข้าจริงๆก็ไม่ได้เป็นไปตามที่อ่านรีวิวมา ขั้นตอนรวดเร็วไม่ติดขัดยุ่งยาก ผ่านตม.มา กระเป๋าก็มาวน  อยู่บนสายพานแล้ว เยี่ยมมาก



สนามบินโฮจิมินจะเป็นสนามบินเล็กๆคนไม่พลุกพล่านเพราะในตัวอาคารจะอนุญาติให้เข้าเฉพาะผู้โดยสารเท่านั้นส่วนคนที่มารับมาส่งจะมีพื้นที่รออยู่นอกอาคาร ก็ดูแปลกๆไปอีกแบบ



วันนี้กำหนดการเราออกจากสนามบินก็เดินทางต่อไป Cat Tien เลย ทริปนี้ไกด์สมเกียรติ์ของเราเลือกใช้ไกด์ Andy วิศวกรโยธาชาวเวียตนาม ที่ผันตัวเข้าป่ามาตามหาความฝันของตัวเองหลังจาก ใช้ชีวิตในสายงานตามโควต้าที่ครอบครัวต้องการมาได้สักระยะหนึ่ง ถือว่าพวกเราโชคดี ที่บังเอิญได้มาใช้ไกด์หนุ่มไฟแรงคนนี้ ที่มุ่งมั่นสร้างความประทับใจให้ลูกค้าจนถึงที่สุด ที่บางครั้งอาจพูดได้ว่า ตั้งใจซะเหลือเกินจนเหมือนกดดัน
         การเดินทางช่วงแรกเราใช้รถตู้ ฮันไดใหม่เอี่ยมกว้างขวางกว่ารถตู้บ้านเรา 7 คนพร้อมกระเป๋าเดินทาง ยังนั่งกันแบบสบายๆได้เลย
     

เนื่องด้วยสนามบินโฮจิมินอยู่ในเมืองคล้ายๆกับสนามบินดอนเมืองบ้านเรา การเดินทางไปจังหวัดอื่นก็เลยต้องฝ่าย่านจราจรติดขัดแบบช่วยไม่ได้   รถมอเตอรไซค์ที่นี่ยังเยอะสมคำเล่าลือ แม้มีเลนพิเศษให้ก็ยังไม่พอต้องขึ้นมาวิ่งบนฟุตปาท

เครดิตภาพ น้อง Nantawan จิตรกรภาพเขียน ประกอบหนังสือเด็กน่ารักๆ

สิ่งสวยงามที่มองเห็นได้ของเมืองที่ที่ดีกว่าบ้านเราก็คือต้นไม้ใหญ่2 ข้างถนนที่ดูสมบูรณ์มากๆ และไม่มีสายไฟรกรุงรังให้ต้องกังวลว่ากิ่งไม้จะหักมาพาดให้ไฟฟ้าต้องดับตอนฝนตกหรือลมพัดแรง 


รถวิ่งออกนอกเมืองมาสักพักก็ข้ามสะพานแม่น้ำ Dong Nai ที่กินพื้นที่กว้างขวางจนสามามรถทำการประมงน้ำจืดในกระชังกันคึกคักมีปลาวางขายให้เห็นอยู่ริมทาง     

พวกเราหยุดแวะทานอาหารกลางวัน กันที่เมืองอะไรจำชื่อไม่ได้ จำได้แค่ที่ไกด์เล่าให้ฟังว่าเวียตนามมีคนนับถือคริสต์ประมาณ 1% และ90% ของในนั้นย้ายถิ่นฐานมารวมกลุ่มกันอยู่ที่เมืองนี้ จึงสังเกตได้ว่า2 ข้างทางมีโบสถ์ครตส์น้อยใหญ่เรียงรายให้เห็นทั้ง2 ข้างทาง   อาหารมื้อแรกของ ทริปนี้เป็นหม้อไฟต้มเนื้อชิ้นโตๆเกินคำ หม้อขนาดจัมโบ้ทาน3 คน ทานคู่กับเส้นขนมจีน ซึ่งในความรู้สึกของเราว่ามันไม่เข้ากันเอาซะเลย แต่ก็ทำให้นึกขึ้นมาได้ว่าเส้นขนมจีนเมืองไทย คงได้ต้นแบบมาจากเวียตนามนี่แหละไม่ใช่จีน เพราะที่จีนไม่มีเส้น  แบบนี้ แต่ความที่คนเวียตนามก็หน้าตาเหมือนคนจีนก็เลยเข้าใจว่ามาจากเมืองจีน


ร้านกาแฟตกแต่งร้านด้วยกล้วยไม้เหนือบ่อปลาคราฟอีกหนึ่งความ ภูมิใจนำเสนอโดยไกด์andy

ทานหม้อไฟขนมจีนเสร็จก็ไปนั่งพักที่ร้านกาแฟ นิดหนึ่งก็ออกเดินทางต่อถึงที่พัก ที่ Green Bamboo Lodge Resort ประมาณ บ่าย3 โมง 15 นาที



จัดเก็บสัมภาระเข้าห้องพัก เป็นกระต๊อบหลังเล็ก พวกผู้หญิง4 คนนอนหลังละ2 คน เราพวกผู้ชายมี3 คนนอนหลังละ1 คนกระท่อมที่กันผนังด้วยเสื่อลำแพน แต่ก็มีแอร์และน้ำร้อนให้อาบแบบรั่วๆนิดนึง ระเบียงบ้านจะเปิดไปทางแม่น้ำ Dong Nai ที่มองเห็น พื้นที่อุทยานฯ แคทเทียน อยู่อีกฝั่ง 


เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา บ่าย3 โมงครึ่งก็เริ่มเดินทางไป เข้าอุทยานฯกันเลย จากที่พักสามารถเดินเท้าไปยังท่าเรือเพื่อข้ามไปยังอุทยานได้เลยสะดวกดี 





Cat Tiên National Park (CTNP) was protected initially in 1978 as two sectors, Nam Cat Tien and Tay Cat Tien. Another sector, Cat Loc, was gazetted as a rhinoceros reserve in 1992 upon the discovery of a population of the Vietnamese Javan rhinoceros, an occasion that brought the park into the world's eye. The three areas were combined to form one park in 1998. Nam Cat Tien is contiguous with Vĩnh Cửu nature reserve thus providing an enlarged area for species to breed. Cat Tien National Park is estimated as the reserve of natural resources in Vietnam with lots of rare, specious and endemic genes of fauna and flora, as plentiful site for scientists, domestic and foreign tourists.

อุทยานแห่งชาติกัตเตียน (CTNP) ได้รับการคุ้มครองครั้งแรกในปี พ.ศ. 2521 เป็นสองส่วน ได้แก่ นัมกัตเตียนและเทกัตเตียน อีกภาคหนึ่งคือ Cat Loc ได้รับการประกาศให้เป็นแรดสงวนในปี 1992 จากการค้นพบจำนวนประชากรของแรดชวาเวียดนาม ซึ่งเป็นโอกาสที่ทำให้อุทยานแห่งนี้เป็นที่รู้จักไปทั่วโลก พื้นที่ทั้งสามแห่งรวมกันเป็นอุทยานแห่งเดียวในปี 1998 Nam Cat Tien อยู่ติดกับเขตอนุรักษ์ธรรมชาติ Vĩnh Cửu จึงเป็นพื้นที่ขยายพันธุ์สำหรับการขยายพันธุ์ อุทยานแห่งชาติ Cat Tien เป็นพื้นที่สำรองของทรัพยากรธรรมชาติในเวียดนาม ซึ่งมีพันธุกรรมของสัตว์และพืชเฉพาะถิ่นที่หายาก หลากหลายสายพันธุ์ เป็นแหล่งอุดมสมบูรณ์สำหรับนักวิทยาศาสตร์ นักท่องเที่ยวในประเทศและต่างประเทศ

 แต่ปัจจุบันไม่มีแรดเหลือให้ชมแม้แต่ตัวเดียว  หมายแรกที่เรามาชมวันนี้ก็จะเป็น พวกไก่ ชึ่งจะต้องใช้บังไพรโดยคาดว่าจะเจอพวกตระกูลไก่ Pheasants Phasianidae
ซึ่งที่นี่จะมี  Germain’s peacock-Phesant ,Siamese fireback และ Orange-necked Partridge

ไกด์ Andy พาพวกเรานั้งรถจากที่ทำการฯไปประมาณ 2 กม. ก็ถึงที่หมาย ลงเดินเท้าเข้าไปข้างทางประมาณ 300 เมตรก็เจอ ไบลด์ขนาดใหญ่ มีเจ้าหน้าที่อุทยานฯ 3-4 คนกำลังเก็บงานที่ยังไม่แล้วเสร็จดี พวกเราเข้าประจำที่ในไบลน์ แอ๊ดดี้ก็เริ่มมาทะยอยเจาะช่องเปิดสำหรับ กล้องให้ทีละคน  เป็นการเปิดซิงของไบลด์นี้จริงๆ   เรื่องนกไม่ต้องพูดถึง ว่าวันนี้จะหลงมาสักกี่ตัว เพราะคงเตลิดไปตั้งแต่ตอนที่สร้างไบลด์นี้ขึ้นมาใหม่แล้ว จัดสถานที่เสร็จ แอนดี้ก็เร่ิมร่ายมนต์เรียกไก่ เหมือนพระลอกำลังตามไก่ ประมาณนั้น  นกตัวแรกที่มาของทุกไปลด์ แน่นอนว่าต้องเป็น  กางเขนดง White-rumped Shama , Indochinese Blue Flycatcher , Siberian Blue Robin ,Stripe-throated Bulbul , Green-legged Partridge







เรียกอยู่หลายรอบก็คงยังคงเจอแต่ชนิดที่หาเจอได้ง่ายๆที่บ้านเราจนแสงเริ่มจะหมด เลยตัดสินใจออกจากฐาน เพื่อกลับที่พัก  ระหว่างเดินกลับก็ส่องนกบนยอดไม้สูงๆได้ 4-5 ชนิดถ่ายภาพเก็บไว้เป็นเรคคอร์ดชอต
ค้นหาชื่อได้บ้างไม่ได้บ้างถ่ายมาตัวเล็กเกินตอนไกด์บอกก็จำไม่ได้แล้ว


Black-winged Cuckooshrike

White-throated Kingfisher

Indochinese Roller


Ashy Woodswallow

Oriental Pied-Hornbill

Black Bulbul

Spotted Dove , 2 Thick-billed Green-Pigeon

Square-tailed Drongo- Cuckoo

จบทริปวันแรก ข้ามเรือกลับที่พัก ไกด์เลี้ยงน้ำอ้อย มะพร้าวอ่อนร้านหน้าท่าน้ำก่อนกลับไปทานมื้อค่ำที่รีสอร์ตพร้อมเบียร์เวียตนาม1 ขวด อิ่มจุกไปตามตามกัน


Cat tein np Day2  11st Feb 2023 

 วันนี้ทานข้าวเช้า 6 โมง  ออกเดิน 6โมงครึ่ง เพื่อกันแห้ว วันนี้ไปเข้าบ่อ #นกแต้วแล้วเขียวเขมร Bar-bellied Pitta เข้านั่งแป๊บเดียวก็เจอน้องทั้งตัวผู้ตัวเมีย กดไปคนละ500 รูปพอใจแล้ว ก็ย้ายไปเฝ้าบ่อไก่ต่อจนเที่ยงก็ยังไม่มีวี่แววไก่เป้าหมาย จนไกด์แอนดี้เริ่มกังวล ช่วงบ่ายไปสำรวจแถวทุ่งหญ้าน้ำท่วมขัง แต่วันนี้แห้งแล้งและร้อนอบอ้าวยิ่งกว่าโอเอซิสกลางทะเลทราย ก็เพื่อตามหา Asian woolly-necked stork นกกระสาคอยาวสายเวียตนาม นกเป้าหมายอีก1 ตัว ตระเวณเข้าโน่นออกนี้ตามริมบึงริมบ่อหลายจุดก็ไม่มีวี่แววอีกแระ เจอแค่นกตามพุ่มไม้ใหญ่มา2 -3 ชนิด แมงปอบ้านๆอีก2-3 ตัว เดินจนท้อ ต้องเปลี่ยนแผนไปเดินแถว ป่าโบทานิค ค่อยร่มเย็นและมีนกป่าๆให้ดูบ้าง เจอแมลงปอน้ำตก2 ชนิด






นกแต้วแล้วเขียวเขมรHydrornis elliotii

นกแต้วแล้วสีเขียวหยกมีลายหนาแน่น อันเดอร์พาร์สีเขียวและหน้ากากสีดำ ตัวผู้มีแถบสีฟ้าอมเขียวที่ด้านหลังกระหม่อมและมีแถบสีม่วงเข้มที่ท้อง ตัวเมียขาดคุณสมบัติทั้งสองประการและมีหัวสีส้มซีดแทน เช่นเดียวกับนกแต้วตัวอื่นๆ หาอาหารได้ลึกในพงหญ้าอันหนาแน่นและมองเห็นได้ยาก โดยเฉพาะในลำห้วยหินปูนและริมแม่น้ำที่ป่าตามที่มันชอบ ส่วนใหญ่เป็นพันธุ์ที่ราบลุ่ม เพลงเป็นเสียงอัศเจรีย์สั้น ๆ ที่ทำให้เกิดเสียงฟองจากโน้ตสามตัว คล้ายกับ "โชวี-วู!" เสียงการโทรค่อนข้างเหมือนกับเสียงสัญญาณเตือนภัยของรถตำรวจ


แต้วแล้วเขียวเขมรตัวเมีย










The blue-bearded bee-eater is a species of bee-eater found in much of the Indian subcontinent and parts of Southeast Asia. This bee-eater is found in forest clearings. It is found mainly in the Malayan region but extends west into peninsular India.
 Wikipedia


The banded kingfisher is a tree kingfisher found in lowland tropical forests of southeast Asia. It is the only member of the genus Lacedo. Male and female adults are very different in plumage. The male has a bright blue crown with black and blue banding on the back.
 Wikipedia

 แมลงปอเข็มสีพื้นเขียวส้ม

แมลงปอบ้านใหม่กึ่งปีกดำ














วันนี้เราอยู่กันจนเย็นเพื่อตามหา Great Eared-Nightjar นกตบยุงยักษ์ เป็นตบยุงที่ใหญ่ สวย และหาดูยากที่สุก  ต่เราก็หากันจนเจออยู่บยยอดไม้สูงไกลลิลลับ ถ่ายมาได้แบบไม่เห็นความงาม  แต่ก็ถือว่าประสพผลสำเร็จ กลับที่พักได้


The great eared nightjar is a species of nightjar in the family Caprimulgidae. It is found in southwest India and in parts of Southeast Asia. This very large nightjar has long barred wings, a barred tail and long ear-tufts which are often recumbent. Wikipedia

Great Eared

Nightjar

นกตบยุงยักษ์Lyncornis macrotis

นกตบยุงที่ดูคล้ายแมวไม่ซ้ำใคร หูที่แตกต่างและท่าตั้งตรงมักจะทำให้แตกต่างจากนกตบยุงอื่นๆ ขนประกอบด้วยเฉดสีน้ำตาลที่ซับซ้อนซึ่งสามารถหายไปเป็นพื้นหลังเมื่อเกาะอยู่ หางยาวอย่างเห็นได้ชัดในการบิน อาศัยอยู่ตามป่าชายขอบป่า และทุ่งนาและที่ราบซึ่งมีต้นไม้ปกคลุมอยู่บ้าง ส่งเสียงดัง “bee-AHWEE!”




#บันทึกไว้กันลืมเลือน  12th Feb 2023
Cat Tein Np.  Day3


เมื่อคืนที่โต๊ะอาหารค่ำ ไกด์แอนดี้ เข้ามาปรารภกับพวกเราว่าเค้าไม่เข้าใจเลยว่าทำไม เจ้า#Germain’s Peacock-Phesant หรือ นกแว่นเวียตนาม ถึงไม่ลงบ่อ จริงๆมันก็แค่ ไก่ๆธรรมด้าธรรมดานี่เอง( ยังไม่วายจะคุยอีก) 




     เช้านี้เราเปลี่ยนกลยุทธ์ใหม่จะเข้าไบลด์แต่เช้ามืดไม่เหมือนวันก่อนๆที่เข้าสายและบ่ายแก่ๆ ทานข้าวผัดมื้อเช้าเสร็จก็มาลงเรือข้ามฝาก ทุกคนมีสีหน้ากังวลกลัวจะกินแห้วอีกวัน เข้าไบล์ด เขนน้อยไซบีเรียนมาโชว์ตัวแรก ตามด้วย Streak-eared Bulbul และ เวลา 6.58 ฝูงไก่ฟ้าพญาลอ นำโดยตัวเมีย และตัวผู้ก็ตามมา คุ้ยเขี่ยหาอาหารสักพักก็ทะยอยกันกลับเข้าพงไป ตอน 7.00 พอดี รอสักพัก 7.15 ไก่ไก่ ตัวงามก็ออกโรง คุ้ยเขี่ยหาอาหารแบบใจเย็นไม่รีบร้อน ไม่หิวกระหาย หยุดนิ่งให้เราได้เก็บได้ภาพเป็นช่วงๆ กินอยู่ 3 นาที ก็กลับออกไป เรากันต่อรอเผื่อตัวเมียจะออกบ้าง แต่ถึงเวลา7.20กระทาแข้งเขียวก็ออกมาแทน เลยต้องจบข่าว 



เพราะ อยากจะไปตามตัวอื่นๆอีก นกกระสา Asian Woolly- necked Stork นกอีกตัวที่แอนดี้อยากให้เราได้เห็นมากๆ แต่พวกเราอยากได้ Blue rumped Pitta มากกว่า หลังจากแอนดี้ส่งสายสืบไปควานหา กระสาตามหมายที่เคยเจอจนทั่วก็เจอ ก็เลยยอมพาเราไปที่หมายอุบที่ตอนแรกค่อนข้างมั่นใจว่าจะได้ BR เจาก็ใจพองโตอีกครั้ง รอไปรอมา น้องพิตต้าก็ออกมา แต่เป็น Bar bellied ตัวเดิม ถึงจะผิดหวังหน่อยแต่ก็ถ่ายมากันคนละหลายร้อยช๊อต   ส่วนBlue rump  เรียกเท่าไหร่ก็ไม่มีเสียงตอบรับ เลยถอดใจ ไปหาอย่างอื่นดู ระหว่างเดินแอนดี้นำเสนอ ตัวRare มากๆอีกตัว คือPale -headed Woodpacker ที่สร้างความตื่นเต้นให้พวกเราได้อีกครั้ง เพราะได้เห็นตัวบินข้ามหัวให้เราวิ่งไล่ซ้ายขวาอยู่ไปมา แต่เก็บภาพไม่ได้ จนในที่สุดต้องยอมแพ้ วันนี้เรากลับเข้าที่พักเร็วกว่าทุกวันเพราะกลางคืนจะกลับมาตามนกแสกแดง หลังอาหารค่ำ คืนนี้มีลูกค้าหนุ่มสาวคู่รักจากสิงคโปร์มาร่วมจอยด้วยทำให้การดูนกกลางคืนคึกคักขึ้นมาอีก แต่ก็ได้แค่คึกคักเพราะไม่ได้นก แต่ไกด์2 คนไปได้ปลื้มกับงูเขียวหางไหม้ ก็ยังดี ลดความตึงเครียด จนจะกลับระหว่างรอเรือข้ามฟาก แม่เลี้ยงจี๊ดก็เหลือบไปเห็นนกบินเข้าพุ่ม ไปส่องๆดู กลายเป็น Brown Boobook ตาใสแจ๋ว น่ารักเป็นรางวัลปลอบใจ… จบอีกวัน


 


The Siamese fireback (Lophura diardi), also known as Diard's fireback, is a fairly large, approximately 80 cm (31 in) long, pheasant. The male has a grey plumage with an extensive facial caruncle, crimson legs and feet, ornamental black crest feathers, reddish brown iris and long curved blackish tail. The female is a brown bird with blackish wings and tail feathers.

ไก่ฟ้าพระยาลอ

The Siamese fireback is distributed to the lowland and evergreen forests of CambodiaLaosThailand, and Vietnam in Southeast Asia. This species is also designated as Thailand's national bird. The female usually lays between four and eight rosy eggs.

 Germain's Peacock-Pheasant

Polyplectron germaini
ไก่ฟ้าสีน้ำตาลตัวเล็กกระทัดรัด ผิวหน้าสีแดงสด มีจุดไพลินเป็นสีรุ้งทั่วตัว และมีจุดสีเขียวที่ยาวกว่าที่หาง อาศัยอยู่ในป่าที่มีพื้นที่ปกคลุมหนาแน่นตั้งแต่ที่ราบลุ่มขึ้นไปถึงตีนเขาและพื้นที่ภูเขาตอนล่าง โดยทั่วไปแล้วจะขี้อาย เก็บตัว และมองเห็นได้ยาก


Germain's peacock-pheasant (Polyplectron germaini) is a pheasant that is endemic to Indochina. The name commemorates the French colonial army's veterinary surgeon Louis Rodolphe Germain. The bird is a medium-sized, approximately 60 cm long, brownish dark pheasant with finely spotted buff, short crest, bare red facial skin, brown iris and purplish-blue ocelli on upperbody plumage and half of its tail of twenty feathers. Both sexes are similar. The female has eighteen tail feathers and is smaller than male.



The 
green-legged partridge (Tropicoperdix chloropus ), also known as the scaly-breasted partridge or green-legged hill-partridge, is a bird species in the family Phasianidae. It is found in forest in Indochina, ranging slightly into southernmost China (Yunnan). The Vietnam partridge is now usually considered a subspecies.



The bar-bellied pitta (Hydrornis elliotii) is a species of bird in the family Pittidae. It is found in Cambodia, Laos, Thailand, and Vietnam. Its natural habitat is seasonal tropical forest.






The brown boobook, also known as the brown hawk-owl, is an owl which is a resident breeder in south Asia from India, Sri Lanka, Bhutan, Bangladesh and Nepal east to western Indonesia and south China. Wikipedia






13rd Feb 2023 Cat Tien no. Day4 
เช้านี้หมอกลงจัด อากาศเย็นกว่าทุกวัน เรามีเวลาอีกครึ่งวันก่อนเดินทางต่อไปเมืองอื่น แอนดี้มุ่งมั่นที่จะหานกกระสาให้เจอ ส่วนไกด์ชายก็มุ่งมั่นที่จะหา แต้วแล้ว Blue Rumped ให้ได้ บัวไม่ให้ช้ำน้ำไม่ให้ขุ่น เราเลยแบ่งกันเป็น2 กลุ่ม กลุ่มแรก ลุยป่าค้นหาแต้วแล้วบริเวณที่ได้ยินเสียงร้องตอบอยู่ อีกกลุ่มนั่งรถไปซาฟารี เพื่อส่องกระสา เราติดไปกับกลุ่มกระสา แบบไม่คาดว่าจะได้เจอ 7.06 รถวิ่งไปถึงจุดหมาย ริมหนองน้ำไม่ไกลจากถนน Wooly-necked stork กระสาตัวเป้าหมาย2 ตัวเดินหากินอยู่อ้อยอิ่ง เก็บภาพเรคคอร์ดชอตได้ทุกคนแล้ว แอนดี้ก็สั่งให้รถขยับเข้าใกล้อีกนิดเพื่อได้ภาพที่มุมกว้างขึ้น แต่ก็ยังคงไกลอยู่ ถ่ายภาพได้นิดหน่อยนกก็รู้ตัวขยับปีกบินลับไป


  



แอนดี้ยิ้มแก้มปริที่จะเอาเรื่องนี้ไปดกย์ทับบรัพไกด์ชายของเราได้  ส่วนทางกลุ่มแต้วแล้วก็ได้ยินเสียงนกเข้ามาใกล้มาจนถึงขั้นลุยป่าเข้าไปค้นหาตัวกัน แต่ก็ยังไม่เจอ แอนดีเลยพาไกด์ชายซ้อนท้ายจักรยานไปดูจุดเกิดเหตุที่เจอนกกระสา ส่วนเราไปนั่งไบล์ดเผื่อ นกแว่นตัวเมียจะออก 8 โมงกว่าๆ ไก่ฟ้าพญาลอ 1ตัวกับภรรยาอีก2 ก็ออก หลังจากนั้นก็เงียบสงบ ไม่มีวี่แววของนกแว่น  จนได้เวลา9 โมง ก็อำลา อุทยาน ฯคัตเตียน เพื่อเป้าหมายต่อไป..


อุทยานแห่งชาติกัตเตียน (CTNP) มีโลโก้เป็นรูปแรด ได้รับการคุ้มครองครั้งแรกในปี พ.ศ. 2521 เป็นสองส่วน ได้แก่ นัมกัตเตียนและเทกัตเตียน อีกภาคหนึ่งคือ Cat Loc ได้รับการประกาศให้เป็นแรดสงวนในปี 1992 จากการค้นพบจำนวนประชากรของแรดชวาเวียดนาม ซึ่งเป็นโอกาสที่ทำให้อุทยานแห่งนี้เป็นที่รู้จักไปทั่วโลก พื้นที่ทั้งสามแห่งรวมกันเป็นอุทยานแห่งเดียวในปี 1998 Nam Cat Tien อยู่ติดกับเขตอนุรักษ์ธรรมชาติ Vĩnh Cửu จึงเป็นพื้นที่ขยายพันธุ์สำหรับการขยายพันธุ์ อุทยานแห่งชาติ Cat Tien เป็นพื้นที่สำรองของทรัพยากรธรรมชาติในเวียดนาม ซึ่งมีพันธุกรรมของสัตว์และพืชเฉพาะถิ่นที่หายาก หลากหลายสายพันธุ์ เป็นแหล่งอุดมสมบูรณ์สำหรับนักวิทยาศาสตร์ นักท่องเที่ยวในประเทศและต่างประเทศ



13th Feb2023
CatTein=> Dalat
ออกจากคัตเทียนมาไม่ถึงชั่วโมงดี ผ่านเมือง Da Huoai  ข้างทางเห็นมีสวนทุเรียนเรียงราย พากันนึกอยากกินทุเรียนขึ้นมาทันที และแล้วก็โชคดีเห็นมีแผงขายทุเรียนอยู่ฝั้งตรงข้ามรีบบอกแอนดี้ขอแวะซื้อหน่อย ลงรถไปไม่ทันไร พี่เอ๋ก็ไปคว่าขนุนมาแพคนึง แแอนดี้ตกใจ ยังไม่ทันถามราคาเลยไปคว้าของมาแล้ว ยังงี้เสียฟอร์มเดี๋ยวแม่ค้าโก่งราคาแน่ บางคนก็ไปลูบๆคลำๆทุเรียนอีก แอนดี้ทำทีท่าไม่สนใจนั่งเก้าอี้ยองๆ( เวียตนามนิยม)เล่นโทสับไปเรื่อยๆ วางฟอร์มพอสังเขปก็เริ่มต่อรองราคากันยาวนาน น้ำ้เสียงสีหน้าเหมือนคนทะเลาะกัน พวกเราไม่สนใจเริ่มแกะขนุนจากกล่องกิน ขนุนหวานกรอบอร่อยมาก กล่องเดียวไม่พอต้องขอเพิ่ม แอนดี้บอกพันธุ์ขนุนจะเอามาจากไทย ผลไม้อะไรๆแม่ค้าเวียตนามจะโฆษณาขายกันเองว่านี่มากจากไทยน้า…จบขนุนก็ทุเรียนต่อให้แม่ค้าแกะกินกันบนพื้นเลยทีเดียวเป็นหมอนทองกลายๆที่  อร่อยมากเช่นเคย กินจนหมดแอนดี้ถึงตกลงราคากันได้ ให้แถมขนุนมาอีกชิ้นใหญ่ เรียบร้อยเดินทางต่อ 12.30แวะทานมื้อเที่ยงที่  Di Linh เป็นโต๊ะอาหารที่ดูดีมีตระกูลที่สุดตั้งแต่เข้าเวียตนามมา  




เส้นทางที่ผ่านย่านกลางเมืองแต่ละมืองเราจะพบเห็น แลนด์มาร์คที่ไม่ได้ ออกแบบเป็นแบบคลาสสิกๆเหมือน ระเทศอื่นๆ ที่นี่จะออกแนววิบวับแวววาวสีสันฉูดฉาดบอกไม่ถูก  จนถึงดาลัต จึงเห็นอาคารบ้านเรือนสถาปัตยกรรมแนวยุโรปเหมือนออกมาอีกประเทศ 





ถึงดาลัดบ่าย3 โมง เวลายังเหลือ แอนดี้พาไปเดินเล่นแถว #น้ำ้ตกดาตาลลา
สถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของเวียตนามใต้ แต่เราไม่ได้เห็นน้ำตก เพราะแอนดี่พาไปไล่จับนกกินปลีบนต้นแปรงล้างขวดหลังห้องน้ำร้านอาหารบริการนักท่องเที่ยว เป็นนกใหม่ของพวกเราก็ตื่นเต้นดี จบแล้วก็พาไปดูนกเล็กๆแถวป่าสนที่ต้องเดินผ่านสวนกาแฟชาวบ้านที่มีนกใหม่ให้ลุ้นกัน ที่เหลือก็ไม่มีอะไร  กลับที่พัก ทางเข้าเป็นถนนแคบๆ แบบรถใหญ่สวนกันไม่ได้ แต่ที่พักสวย เป็นเหมือนบ้านตากอากาศที่คนรวยๆมาซื้อไว้แล้วปล่อยให้เช่าตอนที่อยู่ว่างๆ ห้องใหม่สวยทันสมัยแต่ไม่มีแอร์ เพราะที่นี่คงอากาศหนาวทั้งปี กลางคืนนอนเปิดม่านดูแสงไฟยิบยับ ฟังเสียงสนลู่ลมซู่ช่า ไม่นานก็หลับ.
















 Dalat day2  Part1   14th Feb 2023
14 กัมภา วันวาเลนไทน์💕❄️ 6.45 นาฬิกา อุณหภูมิ 10 กว่าองศานิดๆ เสียงนก Uthaiphan เจื้อยแจ้วอยู่ที่ระเบียงด้านล่าง ปลุกให้พวกเราไปรวมตัวกันเพื่อชมธรรมชาติยามเช้า วันนี้ออเดิฟด้วยการมอร์นิ่งวอล์คแถวๆโรงแรม Vietnamese Greebfince เป็นตัวไฮไลท์ของเช้านี้ แต่ก็มีตัวน่่ารักๆที่ส่วนตัวเราเพิ่งเคยเจอครั้งแรกหลายตัว เป็นการเริ่มวันแห่งความรัก ที่สดชื่นอีกปี..





The Vietnamese greenfinch is a small passerine bird in the family Fringillidae. It is found only in Đà Lạt Plateau of southern Vietnam. Its natural habitat is open montane pine forest and scrubland. It is threatened by habitat loss.
Wikipedia
0












#บันทึกไว้กันลืมเลือน DaLat  Day2  part2
14th Feb 2023

หลบหนีไปยังอาณาจักรแห่งนกบนที่ราบสูงดาลัด
ที่ราบสูงลางเบียงซึ่งถือเป็นหลังคาของเมืองดาลัดในที่ราบสูงตอนกลาง เป็นจุดหมายปลายทางที่เหมาะสำหรับการชมนกหายากหลากสีสัน  วันนี้เรานั่งไบลด์ทั้งวัน




Grey-bellied tesia

The grey-bellied tesia is a species of warbler in the family Cettiidae. It is found in Bangladesh, Bhutan, Cambodia, China, India, Laos, Myanmar, Nepal, Thailand, and Vietnam. Its natural habitat is subtropical or tropical moist montane forest. Wikipedia




The 
white-cheeked laughingthrush (Pterorhinus vassali) is a species of bird in the family Leiothrichidae. It is found in CambodiaLaos and Vietnam. Its natural habitats are subtropical or tropical moist lowland forests and subtropical or tropical moist montane forests.





ที่นี่มี2 ไบลด์ที่Habitat ต่างกัน ตอนกลางวันทานอาหารเมนูปลาเทราต์ฝีมือเจ้าหน้าที่ที่ทำทั้งเลี้ยงปลาเองและประกอบอาหารเอง  ที่นี่เป็นต้นน้ำที่น้ำใสไหลเย็นอุณหภูมิต่ำปลาจึงเนื้อแน่นและรสชาติดีจากการได้รับสารอาหารจากธรรมชาติเต็มที่ และที่สำคัญนกก็ดีด้วย นกไฮไลท์ของวันก็คือเจ้าตัวเขียว Grey-bellied Tesia ซึ่งออกมาตอนเย็นแว๊บเดียว และเมื่อจบวัน เราก็ยังขาดตัวเป้าหมายของพี่เอ๋ไปอีกหนึ่งตัว …ต้องกลับมาใหม่


 





















 DaLat Day3  part1
15th Feb 2023
เช้านี้ แอนดี้พาไปสปอตนกแถวๆสวนดอกไม้ใกล้ๆเมือง   เป้าหมายคือนกตัวที่ใครมาดาลัตต้องให้ได้เห็น เค้าก็คือ #Gray-crowned Crocia  ออกแต่เช้ามืดยังไม่ต้องทานเช้าไปเดินเรียกน้ำย่อยก่อน ก็ได้สปอตนกสมใจ ตัวเล็กๆสูงๆในพุ่มหนาๆ ตามรูปที่เห็น ( ดูๆแล้วน่าจะเปลี่ยนเลนส์ใหม่ แต่กลัวจะยกซดไม่ไหว คนแถวนี้ไม่นิยมใช้ขาตั้งกล้องกันซะด้วย)  ได้เวลา าหารเช้ากลับไปทานก้วยเตี๊ยวขาหมู ในมือง หน้าร้านมีสวนดอกไม้ ได้นกพื้นๆมา2 ชนิด













Gray-crowned CrociasLaniellus langbianis
Resembles a three-way cross of a shrike, a sibia, and a laughingthrush. Black robber’s-mask, warm orange-brown back, streaked white underparts, and long gray tail with white tips below. Often seen in pairs of small flocks, sometimes mixed in with other species. Forages in the canopy, clambering around in search of prey. Inhabits mid-elevation forest, often in wetter areas. Song is a series of rapid-fire high-pitched chitters.

มีลักษณะคล้ายผสมผสานระหว่างสานกไชร์ ซีเบีย และนกกระราง แผ่นหลังสีน้ำตาลส้มอบอุ่น ส่วนใต้ท้องสีขาวเป็นลาย และหางยาวสีเทาและมีปลายสีขาวด้านล่าง มักพบเห็นเป็นฝูงเล็กๆ เป็นคู่ บางครั้งก็ผสมกับพันธุ์อื่น หาอาหารในพุ่มไม้ ปีนป่ายไปรอบๆ เพื่อค้นหาเหยื่อ อาศัยอยู่ในป่าระดับกลาง มักอยู่ในพื้นที่ชื้นแฉะ เพลงเป็นชุดของเสียงร้องแหลมสูงที่ลุกเป็นไฟอย่างรวดเร็ว






The Indochinese barbet, also called Annam barbet, is a bird belonging to the family Megalaimidae. It inhabits tropical and subtropical forests. It is found in Laos, Vietnam and Cambodia. It used to be considered a subspecies of the black-browed barbet.
 Wikipedia











  Da Lat Day3 part2
15th Feb 2023   
หลังทานข้าวเรามีแผนมาที่ Bidoup Núi Bà Np Center ซึ่งเป็นป่าสน เป้าหมายเพื่อตามหา Red cross bill, Black- naped Oriole , Annum minivet ฯลฯ  ได้เป้าหมาย2 ตัวความไกลไม่ต้องพูดถึง สุดๆ และไม่เจอ Black- naped Oriole ซึ่งบ้านเราเยอะแยะ 
ไปนั่งรอ น้อง ครอสเรดบิล ลงเล่นน้ำเหมือนที่เค้าเคยเจอๆกัน วันนี้ไม่ลงคงจะหนาวมาก มีแต่น้อง เรดบอลเพื่อนเรานั่งอาบแดดอยู่ ที่ม้านั่งข้างทาง   ฝนใกล้จะตกเลยย้ายฐานหลังทาน อาหารกลางวันก็กลับไป นั่งไบล์ดเก่าเพื่อตามฝันพี่เอ๋ อีกรอบซึ่งฝน ตกๆหยุดๆ ยังดีที่ไบล์ดที่นีมีหลังคากันฝนได้พอประมาณ และนกก็ไม่กลัวฝน เพราะฝนที่นี่ฝนตกเกือบ90% ทั้งปี ( ไกด์แอนดี้คุย) ในที่สุดก่อนแสงสุดท้ายจะหมด เป้าหมายสุดท้ายก็ออกแสดงตัว ..จบข่าว ตอนค่ำไปชมถนนคนเดินนิดนึง
















#บันทึกไว้กันลืมเลือน DaLat Day 4
16 th Feb 2023
ช่วงเช้าวันนี้ เรายังคงอยู่ที่ดาลัต โปรแกรมวันนี้ก็จะไปเยี่ยม ไบลด์น้องนกแต้วแล้วใหญ่หัวสีน้ำตาล Rusty-naped Pitta แต่จริงๆแล้วตัวไฮไลท์ของพวกเรา ก็จะเป็น Short-tailed Scimitar Babbler ซึ่งจะเป็นตัวเฉพาะถิ่นเวียตนาม ก็ไม่ผิดหวังเข้านั่งไบล์ดไม่นาน ก็ออกมาให้ได้เห็น ต่อมาแต้วแล้วก็ตามมาติดๆ รวมถึงตัวอื่นๆ จากนั้นเราก็ไปเดินแถวๆป่าสนอีกครั้ง เพื่อตามหา Vietnamese cutia แสนสวย แต่ก็ไม่สำเร็จ หมดเวลา วันนี้ต้องย้ายเมืองไป DiLinh…


The Short-tailed Scimitar Babbler นกปากสั้นหางสั้น (Napothera danjoui) 
เป็นนกชนิดหนึ่งในวงศ์ Pellorneidae พบในประเทศลาวและเวียดนาม ถิ่นที่อยู่ตามธรรมชาติของมันคือป่าดิบชื้นกึ่งเขตร้อนหรือป่าดิบชื้นและป่าดิบชื้นกึ่งเขตร้อนหรือเขตร้อนชื้น มันถูกคุกคามจากจากสภาพแวดล้อมที่แปรเปลี่ยนไป























#บันทึกไว้กันลืมเลือน Di Linh Plateau 
17th Feb 2023
วันนี้เรามาพักบนที่ราบสูง ไดหลิน เป้าหมายนั่งไบล์ด เพื่อชมนก Blue Pitta, BAR-backed partrdge, Orange-headed Thrush, Blue- whistling Thrush…เราเข้าไบล์ดไม่กี่นาทีนกก็เริ่มลงไม่ถึงชั่วโมงก็ได้ครบ และมี่ตัวอื่นๆมาลงเล็กน้อย 8.30 เราก็ออกจากไบล์ดเพื่อไปสปอตนกริมทางเพื่อรอเวลาให้พอดีกับการเดินทางต่อ วันนี้เราจะกลับไปขึ้นเครื่องที่โฮจิมิน เพื่อไปลงที่เมื่อ  Pleikuและจะไปเมือง เมือง Mang Den
  เอากระเป๋าเดินทางขึ้นรถออกเดินทาง และแวะทานข้าวเที่ยงที่ร้านอาหารชื่อดัง(คนเยอะ) อาหารคล้ายๆอาหารไทยบ้านๆแต่ข้าวนึ่งจะแข็งๆติดหม้อดิน  แต่ก็อร่อยดีทานได้เยอะมาก จะไปขึ้นเครื่องประมาณ 5โมงครึ่ง มีเวลาเยอะแวะโน่นแวะนี่ขับรถใจเย็นๆไปเรื่อย คงลืมไปว่าเป็นเวลาเลิกงาน ที่โฮจิมินรถจะตืดมากๆ จนต้องลุ้นกันแลลลากกระเป๋าวิ่งเข้าเช็คอินช่องทางพิเศษ ทันแบบฉิวเฉียดเกือบไม่ได้ไปต่อ  ไปลง pleliku แวทานข้าวหน้าไก่ร้านดัง จานนึงให้ไก่เยอะมาก กินจนจุก ทานเสร็จเดินทางต่อไป Mang Den Town เมืองท่องเที่ยวตากอากาศประมาณ ปากช่อง-เขาใหญ่บ้านเรา วันนี้เป็นโรงแรมเล็กๆแต่แต่งห้องน่ารัก นอนคนเดียว สบายที่สุดตั้งแต่มาเลย…

สีคราม


ที่ราบสูง Di Linh เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีเยี่ยมสำหรับภูมิศาสตร์และภูมิทัศน์ที่น่าหลงใหลของดาลัด แต่สำหรับผู้ชื่นชอบชีวิตในเมือง เมื่อมองแวบแรก ภูมิทัศน์ของ Di Linh จะดูจำเจเล็กน้อย — ทุกที่ที่คุณไป คุณมักจะถูกโอบล้อมด้วยธรรมชาติ — เมฆบนยอดเขา เนินเขาที่ปกคลุมไปด้วยต้นสน ภูเขาสูงที่มีโครงร่างที่คมชัดโดดเด่น บนท้องฟ้า






















#บันทึกไว้กันลืมเลือน  Mang Den Town :day1
18th Feb 2023 
วันนี้ช่วงเช้าเราไปเดินเทรลในป่า Mang Canhเพื่อหา Yellow-billed nathatch ,Grey-chinned Minivet ,Long-tailed Minivet , Rufous-faced Warbler….แต่ไม่เจอนกเพราะมีภัยคุกคามจากมนุษย์ค่อนข้างเยอะเห็นได้จากซากนกที่ติดร่างแห
  ตอนเที่ยงซื้อไก่ย่างกับข้าวหลามไปนั่งทานที่ร้านกาแฟ โชคดี Long-tailed Shrike มาให้ถ่ายใกล้ๆ  ตอนบ่ายกลับเข้าป่าอีกรอบ ได้มาอีก2-3 ชนิด

















#บันทึกไว้กันลืมเลือน Mang Den town Day 2
19th Feb 2023

วันนี้เราจะเชคเอาท์เมือง Mandg den เพื่อขึ้นเหนือไปอีกเมือง แพคของเรียบร้อย ช่วงเช้ายังมีเวลาครึ่งค่อนวัน แอนดี้จพาไปเดินอีกเทรล ในป่า Mang Canh ก็สปอตนกไกลๆเช่นเคย ได้รู้จักนกเพิ่มขึ้น ขากลับแวะสวนสาธารณะในเมือง ได้ภาพนกใกล้ๆ4 ชนิด กับแบคกราวด์ดอกไม้สวยๆ ปิดฉาก Mang Den town แบบแฮปปี้เอ็นดิ้ง.


























#บันทึกไว้กันลืมเลือน Ngoc Linh Day 1
20th Feb 2023
วันนี้เราจะอยู่ที่ Hide ทั้งวัน เพื่อ Golden Laughingthrush นกเฉพาะถิ่น และนกสำคญอื่นๆเช่น Coral- billed Scimita- babbler,Indochinese fulvetta,Golden-breasted fulvetta,Rusty-caped fulvetta…มื้อเที่ยงกินข้าวเกรียบว่าว กับขนุนและส้มที่เหลือเป็นความอิ่มเอมใจกับการชมนก..





































#บันทึกไว้กันลืมเลือน Ngoc Linh Day 2
21st Feb 2023
วันนี้เรายังอยู่กันที่ Ngoc Linh และไปเข้าอีกไบล์ด ที่อยู่ใกล้ถนนกว่าเมื่อวาน  เพื่อแอบดู Red-tailed Laughingthrush สีสดสวยสุดในตระกูลนี้  และก็อีกตัว Black- crowned Barwingน่ารักๆ ท่ามกลางหมอกหนาทึบ 
      เมื่อวานตอนขากลับจากไบล์ดโหด ตรงปากทางเข้า ไกด์ชายได้ยินเสียง Red-taied อยู่ใกล้ๆแต่แอนดี้ ไม่สนใจเพราะตั้งใจจะทำเซอร์ไพรซ์ให้พวกเราอีกวัน โดยมั่นใจว่าวันนี้พวกเราจะได้ชมตัวใกล้ๆกันจุใจห่วงแต่ว่าจะออกมาเช้าไปที่หมอกหนาจะได้ภาพสีไม่สวย  แต่เอาเข้าจริงๆ ถึงเวลาฟ้าเปิดเป็นช่วงๆเรียกเท่าไหร่ก็ไม่มีเสียงตอบรับ รอจนหิวข้าวกลางวันแอนดี้ก็ไปหาขนมพอง มาให้ประทังเพื่อจะได้เจอ แต่สุดท้าย ก็ไม่มาสร้างความผิดหวังให้แอนดี้มามาก ขานั่งรถกลับแทบไม่พูดคุยเลย จนถึง สนามบินเพื่อ นั่งเครื่อง Bamboo Air กลับ โฮจิมิน  สำหรับพวกเรา ได้ น้อง Black-crowned ก็ถือว่าบรรลุเป้าหมายแล้ว Red-tailed มีโอกาสเจอที่อื่นได้ในโอกาสต่อไป…



เขตอนุรักษ์ธรรมชาติหง็อกลินห์ตั้งอยู่ลึกเข้าไปในภาคกลางของเวียดนามบนที่ราบสูงกอนตุม พื้นที่ป่าเขียวชอุ่มที่แยกจากการจราจรส่วนใหญ่ของมนุษย์ ระบบนิเวศที่เป็นเอกลักษณ์นี้ถูกแยกออกจากแหล่งที่อยู่อาศัยโดยรอบด้วยภูเขาสูงหลายลูก ประมาณ 50 ตารางกิโลเมตร เขตอนุรักษ์ธรรมชาติหง็อกลินห์ที่มีอยู่นี้ยังมีความหลากหลายทางชีวภาพมากมาย


















#บันทึกไว้กันลืมเลือน วันสุดท้าย
22nd Feb 2023
วันนี้ไกด์แอนดี้ ไม่ได้อยู่กับพวกเรา แต่เราก็ไม่วายไปชมนกหลากหลาย ก่อนจะไปหาร้านอาหารเช้า เราเดินไปตามเส้นทางริมสวนสาธารณะ ต้นไม้ใหญ่ร่มรื่นสองข้างถนน แต่ต้องระวังมอเตอร์ไซค์ที่คอยจะขึ้นมาดันหลังเราอยู่บนฟุตปาท ผ่าน รร. เห็นเด็กกำลังทะยอยเข้าแถวหน้าเสาธงเหมือนบ้านเราแต่ไม่แน่ใจร้องเพลงชาติด้วยหรือปล่าว เลือกร้านอาหารที่คนเยอะๆ เป็นร้านเฝอ ที่เพิ่งจะได้กินเป็นวันแรกในทริปนี้ ทานเสร็จก็เดินไปตลาด เพื่อซื้อของฝาก ตามมี ตามชอบ. ขากลับ ทำตัวกลมกลืนกับชาวช่อง นั่งทานน้ำส้มคั้น ข้างถนนแม้ค้าใจดี ส้ม รสชาติดีราคายุติธรรม เป็นอันจบกิจกรรมร่วมกันในทริปนี้ ขอสวัสดีจนกว่าจะเจอกันอีกสักวัน….(ขอบคุณไกด์ชาย Somkiat Pakapinyoที่จัด แม่เลี้ยงจิ๊ด  Uthaiphan Harnjai ที่ชวน พี่เอ๋ Pongsuda Vongsingha พี่หมอArgrit Boonsanguan ที่ช่วยบอกชื่อนก เจี๊ยบ แววพันธ์ วาดเขียน สาว Red-billed ที่ยอมให้แซวแล้วไม่โกด น้อง เอ๋ Nuntawan Wata ที่คุยสนุกตลอดเวลาไม่เหงา..)




















































 

กางเตนท์ท้าลมหนาวใต้ต้นพญาเสือโคร่ง

  มกราคม 2568 ทริปนี้ตั้งใจมาลองไปนอนกางเตนท์บนดอยที่เชียงใหม่  จองพื้นที่กางเตนท์ในเวปของอุทยานไว้กันเหนียว เค้าคิดค่าบริการ 30 บาทต่อคน/คื...